วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ตัวอย่างเว็บ TEMPLATE

 


ตัวอย่าง 12 web template ในด้านงานบริการเว็บไซต์ สำหรับ 11 หน่วยธุรกิจ และ 1 portfolio และกรณีมีธุรกิจใดๆ เพิ่มเติม ทีมงานสามารถปรับแต่งชิ้นงานให้ได้ค่ะ

1.ธุรกิจรับเหมา

https://rapida05.wixstudio.io/realestatesample

https://rapida05.wixstudio.io/constructionsample

2.ธุรกิจด้านประกัน

https://rapida05.wixstudio.io/insurancesample

3.สินค้าโรงงาน

https://rapida05.wixstudio.io/factoryproductsample

4.คลินิคความงาม

https://rapida05.wixstudio.io/beautyclinicsample

5.โยคะ/สปอร์ตคลับ/ฟิตเนส

https://rapida05.wixstudio.io/yogastudiosample

6.ร้านอาหาร/ของกิน/กาแฟ

https://rapida05.wixstudio.io/restaurantsample

7.จำหน่ายเสื้อผ้า/สินค้าแฟชั่น

https://rapida05.wixstudio.io/clothesshopsample

8.ธุรกิจท่องเที่ยว

https://rapida05.wixstudio.io/travelagency

9.โค้ช/ที่ปรึกษา/consulting

https://rapida05.wixstudio.io/consultingsample

10.โครงการบ้าน/คอนโด

https://rapida05.wixstudio.io/realestateprojsample

11.Portfolio/ online เรซูเม่

https://rapida05.wixstudio.io/portfoliosample

.

.

สนใจงานบริการ

งานจดทะเบียน & ฝึกอบรม 

โทร. 033 060 395 (จันทร์-ศุกร์, 08:30-17:00 น.)

งานบริการเว็บไซต์ 

โทร. 033 060 395, 099 124 1469 (จันทร์-ศุกร์, 08:30-17:00 น.)

www.kasmethai.com


วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ปลอดอากร on the EAST

รัฐบาลได้กำหนดให้ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)เป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการพัฒนาพื้นที่ที่ต่อยอดความสำเร็จมาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ Eastern Seaboard และมีมาตรการพิธีการศุลกากรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และพิธีการศุลกากรสำหรับเขตปลอดอากรภายในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อกิจการที่เกี่ยวกับกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ดังนี้ 1.ต้องเป็นเขตปลอดอากร >> ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรภายในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ >> สำหรับกิจการอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ >> เฉพาะในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเท่านั้น 2.ผู้ประกอบกิจการในเขตปลอดอากรดังกล่าว เมื่อได้ยื่นใบขนส่งสินค้าต่อพนักงานศุลกากร และพนักงานศุลกากรได้รับและออกเลขที่ใบขนส่งสินค้าให้แล้ว #ไม่ต้องชำระค่าอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร และกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร #จนกว่าจะครบ 14 วันนับแต่วันที่พนักงานศุลกากรออกเลขที่ใบขนสินค้าดังกล่าว 3.กรณีที่ส่งของกลับเข้าไปในเขตปลอดอากรตามกฏหมายว่าด้วยศุลกากร [ข้อ 1] ภายใน 14 วันนับแต่วันที่ยื่นใบขนสินค้าต่อพนักงานศุลกากร และพนักงานศุลกากรได้รับและออกเลขที่ใบขนส่งสินค้าให้แล้ว #ผู้ประกอบกิจการอาจยื่นขอยกเลิกรายการดังกล่าวในใบขนสินค้าขาเข้านั้นได้ และเมื่อพนักงานศุลกากรมีคำสั่งยกเลิกแล้ว #ให้ถือว่ามิได้มีการนำของรายการดังกล่าวออกจากเขตปลอดอากรตามข้อ 1 และไม่มีภาระค่าอากร ที่มา: กรมสรรพากร
KASME X www.kasmethai.com


วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

วิธีดาวน์โหลดโปรแกรมสำหรับการยื่นงบการเงินผ่านระบบ e-Filing DBD-XBRL V.2 ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ประกาศล่าสุดจากกรมพัฒน์
ปีหน้าฟ้าใหม่ สำนักงานบัญชีไหนยังไม่ได้อัพเดตเวอร์ชั่นเอ็กเซลยื่นงบการเงินผ่านระบบ e-Filing หรือ DBD-XBRL ของกรมพัฒน์ ปีหน้าจะใช้ระบบ DBD-XBRL V.2 เท่านั้นนะ
พร้อมแล้ว ไปติดตามวิธีดาวน์โหลดเก็บลงเครื่องได้เลย

สถาบันฝึกอบรมทางภาษี บัญชี การเงินและการลงทุน
ระยอง|ชลบุรี|กรุงเทพ
สมัครสมาชิกสถาบันฟรีได้ที่นี่ เพื่อติดตามสิทธิพิเศษต่างๆตลอดปี 2563 CLICK

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ขายอาหารได้เท่าไหร่ จะต้องเสียภาษี?

วันนี้ สถาบันคัสเม่ จะพาทุกท่านมาคำนวณหา "ยอดขาย" ที่เข้าข่ายเตรียมจ่ายภาษี

ทั้งนี้ สิ่งแรกที่ควรทำความเข้าใจก่อน ก็คือ

เมื่อไหร่ก็ตาม ที่เรามี เงินได้สุทธิ จากการขายอาหารต่ำกว่า 150,000 บาท ต่อปี ไม่ต้องเสียภาษี
หรืออีกนัยยะหนึ่ง ถ้ามีเงินได้สุทธิ เกินกว่า 150,000 บาทต่อปี ก็ต้องเสียภาษีนั่นเอง!

แล้วเงินได้สุทธิ คำนวณได้อย่างไร

เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน
[เก็บสมการนี้ไว้ในใจ แล้วเดี๋ยวเราจะมาหาค่า "เงินได้พึงประเมิน" หรือ ยอดขายที่ต้องเสียภาษี ย้อนกลับกัน]

สำหรับเงินได้พึงประเมินจากการขายอาหาร ถือว่าเข้าข่ายเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8
ซึ่งกรมสรรพากร อนุญาตให้เลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี คือ

หักแบบเหมา หรือ หักตามจริง

ซึ่งโดยทั่วไป วิธีคิดอย่างง่ายและยื่นภาษีได้สะดวก ใช้เอกสารไม่มาก คือการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา
โดยกรมสรรพากรกำหนดให้หักค่าใช้จ่ายได้ 60% จากรายได้การทำอาหารขาย

ค่าใช้จ่าย = 60% x เงินได้พึงประเมิน

สำหรับค่าลดหย่อน จะขึ้นอยู่ในแต่ละบุคคล  ซึ่งค่าลดหย่อนพื้นฐานก็คือ
ค่าลดหย่อนส่วนตัว = 60,000 บาท
และกรณีมีค่าลดหย่อนอื่นๆ ก็สามารถคำนวณปรับเพิ่มได้

คราวนี้ ลองนำสมการที่ตั้งไว้ในใจ นำตัวเลขที่ไฮไล้ท์มาใส่ และเซ็ตค่า "เงินได้พึงประเมิน" หรือ "ยอดขายที่ต้องเสียภาษี" ให้เป็น X

เงินได้สุทธิ = 150,000
เงินได้พึงประเมิน = X
ค่าใช้จ่าย = 60%
ค่าลดหย่อน = 60,000

[เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน]
150,000 = X - 0.6 - 60,000
X = 525,000 บาท

สรุป ยอดขายจากการขายอาหารเกินกว่า 525,000 บาทต่อปี ต้องเสียภาษีนะจ๊ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก ลงทุนศาสตร์


วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

การยกเลิกทะเบียนพาณิชย์เมื่อเปลี่ยนรูปจากบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคล

การยกเลิกทะเบียนพาณิชย์เมื่อเปลี่ยนรูปจากบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคล

กรณีประกอบกิจการในรูปบุคคลธรรมดา+มีการจดทะเบียนพาณิชย์เอาไว้ เมื่อเปลี่ยนเป็นการประกอบกิจการในรูปนิติบุคคล #ตามกฏหมายต้องแจ้งยกเลิกภายใน 30 วัน


เอกสารการขอยกเลิกทะเบียนพาณิชย์
> แบบ ทพ. สามารถ Download แบบพิมพ์ไปใช้ในการจดทะเบียนได้ที่ www.dbd.go.th /ดาวน์แบบฟอร์ม/ทะเบียนพาณิชย
> สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ประกอบพาณิชยกิจ หรือทายาทที่ยื่นคำขอแทน (กรณีมอบอำนาจให้จดทะเบียน)
> ใบทะเบียนพาณิชย์
> สำเนาใบมรณบัตรของผู้ประกอบพาณิชยกิจ (กรณีถึงแก่กรรม)/สำเนาคำสั่งศาล (กรณีวิกลจริต,สาบสูญ)
> สำเนาหลักฐานแสดงความเป็นทายาทของผู้ลงชื่อแทนผู้ประกอบพาณิชยกิจซึ่งถึงแก่กรรม / คำสั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดก
> หนังสือมอบอำนาจถ้ามี

สถานที่จดยกเลิกทะเบียนพาณิชย์
> ในเขตกรุงเทพมหานคร
(1) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร สหรับผู้ประกอบพาณิชยกิจที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
(2) ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตทุกแห่ง สำหรับผู้ประกอบพาณิชยกิจ ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่ของเขตนั้น

> ในภูมิภาค:  เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยา สำหรับผู้ประกอบพาณิชยกิจที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยาแล้วแต่กรณี

ค่าธรรมเนียมในการจดยกเลิกทะเบียนพาณิชย์: 20 บาท

ที่มา: กรมสรรพากร


KASME
The Institute of Effective Training for SMEs,CPA,CPD

วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Update Tax News: เอกชนจี้รัฐแก้ปมภาษีนิติบุคคลซ้ำซ้อน ดับฝันลงทุนนอก!!

เอกชนจี้รัฐแก้ปมภาษีนิติบุคคลซ้ำซ้อน ดับฝันลงทุนนอก!!

“ภาษีซ้ำซ้อน”ดับฝันลงทุนนอก สภาอุตฯจี้รัฐออกมาตรการลดหย่อนเพิ่ม

ข่าวจาก: Prachachat.net

เอกชน เผยปมบาทแข็งลงทุนนอกไม่เกิด จี้รัฐแก้ปมภาษีนิติบุคคลซ้ำซ้อน ไม่เอื้อดึงกำไรกลับ พร้อมแนะบีโอไอออกมาตรการลดหย่อนภาษีเสริมอีกชั้น ย้ำโฟกัสตลาดเพื่อนบ้านดีสุดเสี่ยงน้อย ส่วนการลงทุนในประเทศชะลอลากยาวถึงไตรมาส 1 ปี”63 ผลสำเร็จ EEC ยังไม่เร้าใจเท่าคู่แข่ง

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคเอกชนเดือนกันยายน 2562 ลดลงมาอยู่ที่ 92.1 ต่ำสุดในรอบ 12 เดือน เป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่ชะลอตัว สงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ และเงินบาทแข็งค่า ผู้ประกอบการจึงต้องกระจายความเสี่ยงไปยังตลาดอื่นมากขึ้น แต่ยังมีพบข้อจำกัดหลายด้าน

นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ปัจจุบันยังไม่มีมาตรการจูงใจเสริมการออกไปลงทุนต่างประเทศ ที่มากเพียงพอ โดยเฉพาะมาตรการด้านภาษี เช่น รัฐควรให้เอกชนสามารถลดหย่อนภาษีได้สำหรับเงินลงทุนที่นำออกไปลงทุนต่างประเทศ แม้เขาจะได้สิทธิประโยชน์จากฝั่งประเทศที่เข้าไปลงทุนแล้วก็ควรได้รับจากฝั่งไทยด้วยเช่นกัน



นอกจากนี้ที่ผ่านมาเอกชนที่ไปขยายการลงทุนในต่างประเทศแล้วต้องการส่งกำไรที่ได้จากการลงทุนกลับเข้ามาประเทศไทยจะต้องเสียภาษีซ้ำซ้อน (double tax) ทั้งภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศที่ออกไปลงทุน และภาษีเงินได้นิติบุคคลของไทยด้วย อีกทั้งแต่ละประเภทธุรกิจยังเสียภาษีในอัตราที่แตกต่างกัน

ดังนั้น เอกชนหวังจะให้ภาครัฐโดยเฉพาะ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) สนับสนุน ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยออกไปลงทุนต่างประเทศ โดยให้ปรับเงื่อนไขการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อมาจูงใจ และกรมสรรพากรยกเว้นการเก็บภาษีจากกำไรที่ส่งกลับเข้ามาในประเทศไทย และสร้างความชัดเจนในกระบวนการเก็บภาษีในแต่ละประเภทธุรกิจด้วย

“การออกไปเปิดตลาดใหม่ เพื่อจะได้มีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้น เอกชนที่กล้าที่จะออกไปค้าขายไปลงทุน ถือเป็นการกระจายความเสี่ยงไปด้วย และประเทศที่เหมาะสมขั้นแรกเขาควรเริ่มที่แถบเพื่อนบ้านเราก่อน ไม่ต้องออกไปไกล เพราะเพื่อนบ้านคือตลาดที่ไม่ยาก มีความใกล้เคียงกันกับไทย จะทำให้เขากล้ามากขึ้น”

นายมนตรีกล่าวถึงแนวโน้มการลงทุนของเอกชนว่า ขณะนี้ยังคงมองเช่นเดิมว่าจะเห็นเม็ดเงินการลงทุนจริงในช่วงไตรมาส 1 ปี 2563 เพราะนักลงทุนยังประเมินการลงทุนและนโยบายจากภาครัฐ ขณะที่การแข่งขันที่ไทยใช้ EEC มาเป็นตัวชูโรงและจูงใจ เตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงมาตรการส่งเสริมการลงทุนใหม่ Thailand Plus Package ออกมายังคงไม่หวือหวามากพอที่จะทำให้นักลงทุนตัดสินใจยื่นขอลงทุนได้ทันที

เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม ซึ่งมีความได้เปรียบ ทั้งระบบการเมืองแบบสังคมนิยม จึงสามารถสร้างแรงจูงใจจากการออกประกาศกำหนดมาตรการสิทธิประโยชน์การลงทุน เช่น การเช่าที่ดินชัดเจนตั้งแต่ต้น ในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษซึ่งอนุญาตให้ต่างชาติเช่าที่ดินได้ 99 ปี มาเป็นตัวเล่นดึงการลงทุน

“เพราะเขารู้ว่าการที่จะทำอะไร นักลงทุนต้องดูพื้นที่ สิทธิประโยชน์เรื่องที่ดินก่อนที่จะตัดสินใจทำอย่างอื่น ที่เหลือคือสิทธิประโยชน์ที่จะได้ตามมาหลังจากลงทุนไปแล้ว นั่นคือการยกเว้นภาษี และลดหย่อนภาษีแบบที่ไทยกำลังทำ”

รายงานข่าวระบุว่า การสนับสนุนผู้ประกอบการออกไปลงทุนต่างประเทศของ บีโอไอ จะอยู่ภายใต้กองส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ โดยในแต่ละปีจะมีการจัดอบรมและกิจกรรมให้กับนักลงทุนไทยหน้าใหม่ ภายใต้โปรแกรม TOISC ซึ่งประเทศเป้าหมายและกลุ่มที่มีศักยภาพยังคงเป็น CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม) โดยจากสถิติการลงทุนปี 2561 พบว่า ไทยไปลงทุนเวียดนามสูงถึง 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เมียนมา 2,200 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2560 กัมพูชา 15.75 ล้านเหรียญสหรัฐ และลาว 4,400 ล้านเหรียญสหรัฐ

ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ เพื่อขยายขนาดตลาดการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ เพื่อแสวงหาวัตถุดิบและแรงงานที่ถูก เพื่อการกระจายความเสี่ยง รักษาเสถียรภาพ และค้ำจุนตลาดการเงิน และเพื่อแลกเปลี่ยนความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี



The Institute of Effective Training for SMEs|CPA|CPD

วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ลดหย่อนจัดไป เมื่อบริจาคให้งานวิจัย R&D!!

ลดหย่อนจัดไป เมื่อบริจาคให้งานวิจัย R&D!!

กรมสรรพากร ได้ออกพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 668) พ.ศ.2561 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 336) สำหรับการบริจาคเงินเพื่อกิจกรรมการวิจัย พัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศ ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ จำนวน 4 กองทุนได้แก่
กองทุนเพื่อการพัฒนาระบบมาตรวิทยา
กองทุนสนับสนุนการวิจัย
กองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กองทุนเพื่อการพัฒนาระบบสาธารณสุข

1.บริจาคเป็นเงินเท่านั้น
2.มีหลักฐานในการบริจาค (เว้นแต่บริจาคผ่านระบบ e-Donation) ได้แก่
- ใบเสร็จรับเงิน หรือ
- หลักฐานอื่นเป็นหนังสือ เช่น หนังสือขอบคุณ ใบประกาศเกียรติคุณ
- ระบุจำนวนเงินที่บริจาค


>>สำหรับการบริจาควันที่ 23 พฤศจิกายน 61 - 31 ธันวาคม 62
👉บุคคลธรรมดา: ลดหย่อนได้ 2 เท่า ไม่เกิน 10% ของเงินได้สุทธิ
👉นิติบุคคล: ลงรายจ่ายได้ 2 เท่า ไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิ
>>สำหรับการบริจาควันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป
👉บุคคลธรรมดา: ลดหย่อนได้ 1 เท่า ไม่เกิน 10% ของเงินได้สุทธิ
👉นิติบุคคล: ลงรายจ่ายได้ 1 เท่า ไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิ
Resource: กรมสรรพากร 🙏
-----
อย่าลืมติดตามข่าวสารอัพเดตสาระน่ารู้ทางด้านภาษี ได้ทุกวันที่นี่ 🤓 www.kasmethai.com