วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2562

แนวทางสนับสนุนพร้อมมุมมองจาก 5 หน่วยงาน ต่อร่างพรบ.ยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่มฯ ผ่านบันทึกข้อตกลง(MOU)

เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2562 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร สภาวิชาชีพบัญชี ธนาคารแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ว่าด้วย "การสนับสนุนและกำกับดูแลผู้ประกอบการให้จัดทำบัญชีและงบการเงินให้ถูกต้องและสอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ" เพื่อสนับสนุนให้ภาคธุรกิจและนิติบุคคลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดทำบัญชี งบการการเงิน และเข้าสู่ระบบภาษี เพื่อสะท้อนการเจริญเติบโตของธุรกิจอย่างถูกต้องสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่ต้องการสนับสนุนและเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจได้ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน


โดยข้อตกลงดังกล่าวนั้น ได้มีการยกมาตรการการยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่มของกรมสรรพากร ผ่าน "ร่างพรบ.ยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. ...." ซึ่ง ณ ขณะนี้ได้ผ่านการพิจารณาวาระที่ 3 ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช.แล้ว

ทั้งนี้มาตรการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อจูงในให้นิติบุคคลที่เข้าเกณฑ์ได้รับสิทธิยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่ม เข้าสู่ระบบ และจัดทำงบการเงินให้ถูกต้องสอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ

โดยนิติบุคคล ที่เข้าเกณฑ์เงื่อนไขที่สามารถลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิดังกล่าวได้นั้น มีดังนี้
- มีรายได้จากรอบบัญชี 12 เดือนล่าสุด (นับวันสุดท้ายของรอบบัญชีที่สิ้นสุดก่อน 30/09/61) ไม่เกิน 500 ล้านบาท โดยนิติบุคคลจะต้องยื่นภาษีเงินได้หรือแบบ ภงด.50 สำหรับรอบบัญชีดังกล่าวนี้เรียบร้อยแล้ว 
- ไม่อยู่ในระหว่างการถูกดำเนินคดี ถูกฟ้องร้อง โดยกรมสรรพากรในเรื่องของการใช้ใบกำกับภาษีไม่ชอบด้วยกฏหมาย หรือมีการการกระทำผิดอันว่าด้วยเรื่องของใบกำกับภาษี
- ลงทะเบียนใช้สิทธิภายใน 30 มิถุนายน 2562 
- ไม่ใช้สิทธิในการผ่อนภาษี ต้องชำระเต็มจำนวน
- ยื่นงบการเงินผ่านระบบ e-Filing หลังจากนั้นอีก 1 ปี

สำหรับแนวทางการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการจัดทำบัญชีและงบการเงินให้ถูกต้อง พร้อมกับมุมมองจากแต่ละภาคส่วนต่อข้อตกลงดังกล่าว สามารถสรุปพอสังเขปได้ดังนี้

ในส่วนของภาคธนาคารแห่งประเทศไทย
> ข้อมูลงบการเงินที่ชัดเจน สามารถสะท้อนให้เห็นถึงสภาพที่แท้จริงของกิจการ ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือจากสถาบันการเงิน 
> เมื่อมีความน่าเชื่อถือต่อสถาบันการเงิน -> การให้สินเชื่อก็จะทำได้โดยสะดวกขึ้น และ อัตราดอกเบี้ยก็จะผันแปรตามความน่าเชื่อถือของกิจการเช่นเดียวกัน

#แนวทางจากภาคธนาคารเพื่อการสนับสนุนนโยบาย
> ธนาคารแห่งประเทศไทย จะมีการกำหนดนโยบายเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับแต่ละสถาบันการเงิน เพื่อการนำไปใช้ วิเคราะห์ สานต่อ ต่อลูกค้าธนาคารของแต่ละธนาคาร เช่น แนวทางการบริหาร/จัดการเงินสด หากงบการเงินแสดงให้เห็นข้อมูลที่คาดว่าต่ำกว่าความเป็นจริง อาจส่งผลถึงการกำหนดดอกเบี้ยต่อธุรกิจองค์กรนั้นๆ หรือการประเมินความเสี่ยงของแต่ละกิจการ จากการประเมินความถูกต้องของงบการเงิน

ในส่วนของภาคกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
> สนับสนุนการทำบัญชีให้ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยในด้านธุรกิจในด้านการคำนวณค่าใช้จ่าย ต้นทุนสินค้าได้อย่างถูกต้อง
> งบการเงินที่ถูกต้อง จะเป็นตัวสะท้อนต่อสภาพความเป็นจริงในด้านการลงทุนในแต่ละพื้นที่ ตามแต่ละประเภทของธุรกิจ โดยภาพใหญ่ของลักษณะธุรกิจในแต่ละพื้นที่ จะช่วยในด้านการกำหนดงบประมาณ
และวางยุทธศาสตร์ตามลักษณะพื้นที่นั้นๆ ได้อย่างถูกต้อง

#แนวทางจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเพื่อการสนับสนุนนโยบาย
> มีการกำหนดช่องทางพิเศษ "Fast Track" สำหรับการยื่นงบการเงินที่ต้องแก้ไข
> มีการจัดทำคู่มือกับสรรพากรเพื่อนำไปใช้สำหรับการปรับปรุงงบการเงิน
> จับมือกับ Start Up "Total Solution for SMEs" สำหรับการสนับสนุนการทำธุรกรรม Online เพื่อทดสอบการเชื่อมโยงระบบกับสถาบันการเงิน โดยสถาบันการเงิน จะเห็นสภาพเนื้อแท้ของธุรกิจ -> ส่งผลให้ภาคธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อได้อย่างสมเหตุสมผลต่อไป
> มีการวางโปรแกรมบัญชีผ่านบนเว็บไซต์ของกรมพัฒน์ฯ ดาวน์โหลดฟรีสำหรับการใช้งาน โดยโปรแกรมนี้สามารถ convert ไฟล์ และส่ง DBD e-Filing ได้ทันที

ในส่วนของภาคสภาวิชาชีพบัญชี
> สนับสนุนผลักดันการจัดทำบัญชีให้ถูกต้อง
> ระบบบัญชีที่ไม่ดี จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางธุรกิจ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือด้านการขยายธุรกิจผ่านการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน
> สภาวิชาชีพบัญชีฯ พยายามออกแนวทางปฏิบัติให้มีการจัดทำงบการเงินให้ถูกต้องต่อไปในอนาคต

#แนวทางจากสภาวิชาชีพบัญชีฯ เพื่อการสนับสนุนนโยบาย
> จัดเตรียมซอฟท์แวร์ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเพื่อการจัดทำ & ลงบัญชี
> ดาวน์โหลดได้ทางทางเว็บไซต์ของสภาฯ "SME สบายใจ" โดยจะถูกเปิดใช้อย่างเป็นทางการในเดือนเมษายนนี้ และแนะนำให้ SMEs ดาวน์โหลดโปรแกรมบัญชีดังกล่าวไปใช้งาน คู่ขนานกับบัญชีจากสำนักงานบัญชี

ในส่วนของภาคเอกชน คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)
> สนับสนุนการจัดทำงบการเงินให้ถูกต้อง เพื่อคลายความกังวลด้านการถูกเรียกตรวจจากสรรพากร และสร้างความน่าเชื่อถือของธุรกิจ
> การทำงบการเงินให้ถูกต้อง ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่โปร่งใส ดึงดูดนักลงทุนให้ร่วมลงทุนในธุรกิจ (Joint Venture)
> มีผลบวกต่อการพิจารณาการให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
> มีโอกาสเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ง่ายขึ้น เนื่องจากงบการเงินสะท้อนภาพความเป็นจริงของกิจการ
> พรบ.ยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่ม ให้โอกาสให้กิจการที่ทำไม่ถูกต้อง ได้เข้ามาปรับตัวใหม่ และยังได้รับสิทธิในการยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่ม

#แนวทางจากภาคเอกชนเพื่อการสนับสนุนนโยบาย
> ร่วมปฏิบัติตามในการจัดทำงบการเงินให้ถูกต้อง ส่งเสริมการมีธรรมาภิบาล และการอยู่ในระบบจะช่วยคลายความกังวลได้มากขึ้น

ในส่วนของกรมสรรพากร
> มาตรการ พรบ.ยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่มฯ จะเป็นมาตรการสุดท้ายจากกรมสรรพากรที่จะถูกออกมาใช้เพื่อผลักดันให้นิติบุคคล จัดทำบัญชีให้ถูกต้อง
> นิติบุคคลที่เคยลงทะเบียนไว้เมื่อปี 2559 จากมาตรการบัญชีชุดเดียว และทำงบการเงินได้อย่างถูกต้องแล้วนั้น ไม่ต้องลงทะเบียน ทั้งนี้นิติบุคคลที่เคยจดแจ้งบัญชีชุดเดียว แต่ยังทำไม่ถูกต้อง สามารถลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2562
> อย่างไรก็ตาม สำหรับนิติบุคคล ที่ไม่สนใจ และยังคงทำไม่ถูกต้อง เมื่อพ้นวันที่ 30 มิถุนายน 2562 แล้วนั้น กรมสรรพากรจะนำข้อมูลจากฐานข้อมูลทั้งหมดเพื่อจัดกลุ่มแยกประเภทตามความเสี่ยงของผู้ประกอบการ

#แนวทางจากกรมสรรพากรเพื่อการสนับสนุนนโยบาย
> เปิดโอกาสให้นิติบุคคลที่เข้าเกณฑ์ตรงตามเงื่อนไขสามารถลงทะเบียนได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2562 เพื่อใช้สิทธิยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่มภาษีอากร
> สำหรับนิติบุคคล ที่ปรากฏว่ามีความเสี่ยงสูง และไม่ลงทะเบียนใช้สิทธิ จะมีมาตรการปราบปราม โดยมีการออกหมายเรียก พร้อมการตรวจปฏิบัติการ ซึ่งหมายเรียกดังกล่าวจะถูกส่งไปยังกรรมการผู้จัดการ และอาจรวมถึงผู้ถือหุ้นด้วย
> กรมสรรพากร จะมีการบูรณาการข้อมูลกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, ธนาคาร, สภาวิชาชีพบัญชีฯ เพื่อให้การทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
> งบการเงินที่สะท้อนความเสี่ยง และไม่ถูกต้อง จะส่งผลถึง ผู้สอบบัญชี ผู้ทำบัญชี และกิจการ เช่นกัน
> จะมีการตั้งข้อสังเกตุกับธุรกิจ ที่มีการทำธุรกรรมโดยใช้ "เงินสด" เป็นหลัก โดยพิจารณาจากธรรมชาติของธุรกิจว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด 

#The Institute of Effective Training for SMEs

เริ่มบังคับใช้ 21 มีนาคม 2562 กับกฏหมาย e-Payment: พรบ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 48 พ.ศ.2562

มาแล้วกับพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 48 พ.ศ.2562 หรือที่เรียกว่า "กฏหมาย e-Payment" ซึ่งวันนี้ (21 มีนาคม 2562) เริ่มบังคับใช้แล้ว!

#สรุปเนื้อหา มีดังนี้

1) ผู้มีหน้าที่หัก/นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย สามารถเลือกวิธีนำส่ง ภาษีหัก ณ ที่จ่ายได้  ประกอบด้วย ภ.ง.ด.1,3,53,54 ภ.พ.36 มาตรา 52 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 40(1) - 40(8)  ภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม มาตรา 70 & 70 ทวิ
2) กำหนดให้สถาบันการเงิน และผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ มีหน้าที่รายงานข้อมูลให้กรมสรรพากร ภายในเดือน มีนาคม ของทุกปี โดยส่งรายงานครั้งแรก ภายใน 31 มีนาคม 2563 โดยข้อมูลที่ต้องรายงาน ประกอบด้วยดังนี้
   2.1 ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้งขึ้นไป
   2.2 ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้งและมียอดรวมตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป
3) ผู้มีหน้าที่รายงาน ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง โทษปรับไม่เกิน 1 แสนบาท และปรับอีกวันละ 1 หมื่นบาท ตลอดเวลาที่ฝ่าฝืน
4) รับรองการยื่นรายการและเอกสาร โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด


The Institute of Effective Training for SMEs



วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2562

บอจ.5 กับการปรับปรุงพัฒนาระบบจาก DBD นักบัญชีต้องอัพเดต!

นักบัญชีอย่าลืมอัพเดตกับการปรับปรุงพัฒนาระบบจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในเรื่องของ #สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น หรือ บอจ.5 จะมีรายละเอียดใดเปลี่ยนแปลงบ้าง ติดตามกันได้ที่นี่เลยค่ะ


The Institute of Effective Training for SMEs

LOWER YOUR TAX: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจ่ายอย่างไรให้ประหยัดและถูกกฏหมาย!! กับ อ.ดำริ ดวงนภา



คลาสเล็กกับประเด็นร้อน🔥🔥🔥 พร้อม**รวมสุดยอดเทคนิคระดับเทพ #จัดเต็มในเวลา3ชั่วโมง** 
ที่อื่นทำไม่ได้ แต่เราทำได้ การันตี!!
>>>ด่วน! เหลือเพียง 9 ที่นั่งสุดท้ายเท่านั้น<<< 
และหลักสูตรพิเศษนี้ถูกจัดเพียงแค่วันเดียวเท่านั้น #Exclusive สำหรับผู้เข้าอบรมแน่นอน 
#และทุกท่านสามารถเรียนรู้ได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานบัญชีภาษี
*************************
#ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจ่ายอย่างไรให้ประหยัดและถูกกฏหมาย พบกับการถ่ายทอดแบบกระชับ รัดกุม โดย โค้ช อ.ดำริ ดวงนภา พร้อมติวเข้มในเรื่องของ
✔️🚩#หลักกฎหมายโฟกัสในเรื่องของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สั้น กระชับ ตรงประเด็น เน้นเน้น!
✔️🚩#วิธีการคำนวณแบบเหมาจ่ายร้อยละ60 หรือจะหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริง? มีสิทธิเลือกไหม? จะใช้สิทธิทางภาษี ค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน เป็นตัวช่วยได้อย่างไรให้ภาษีต่ำสุดอย่างถูกกฎหมาย??
✔️🚩#แบบแสดงรายการภงด90 จุดที่ต้องตรวจและควรระวังในการกรอกแบบ !
✔️🚩#จดVATแล้วหรือยังไม่ได้จดVAT ต่างกันอย่างไร ยื่นแบบไปแล้วมีผิดพลาดจะขอแก้ไขใหม่ทำได้หรือไม่ ?
✔️🚩#WorkShop ฝึกทำ คำนวณภาษี และกรอกแบบจริง สำหรับธุรกิจของท่าน ตามข้อมูลและประเด็นของคำถาม พร้อมให้คำปรึกษาและคำแนะนำ
✔️🚩#เคสอื่นๆที่น่าสนใจ ที่จะมาแลกเปลี่ยนกันในชั้นเรียน ***นักเรียนสามารถเตรียมคำถามด้านภาษีมาแลกเปลี่ยนกันในคลาสได้อย่างเต็มที่***
แล้วพบกันในวันที่ 14 มีนาคมนี้ ณ โรงแรมแทมมารินด์ จังหวัดระยอง #ขอย้ำว่าเหลือเพียง 9 ที่นั่งสุดท้ายเท่านั้น🔥
🔴สำรองที่นั่ง🔴
https://goo.gl/forms/K0d53F3dPeoKA2sr2
#Tel (033) 650 892
@LINE: KASMETHAI

เปิดเผยประเด็นการนิรโทษกรรมภาษีรอบใหม่ในเดือนมิถุนายน ปี 2562 กับ อ.ดำริ ดวงนภา


การนิรโทษกรรมภาษีรอบใหม่ในเดือนมิถุนายน ปี 2562

ติดตามการไลฟ์สด ของ อ.ดำริ ดวงนภา กับการเปิดเผยการนิรโทษกรรมภาษีรอบใหม่ในเดือนมิถุนายน ปี 2562 มีอะไรบ้างที่เราควรรู้ และ ต้องรู้!
ที่สำคัญ SMEs จะได้รับประโยชน์จากการนิรโทษกรรมภาษีนี้อย่างไร ?! ติดตามได้ที่นี่ค่ะ
👇👇👇👇👇👇👇👇👇





The Institute of Effective Training for SMEs
สำรองที่นั่งงานอบรมทางด้านภาษี ตลอดปี กับสถาบันคัสเม่
โทร. (033) 650 892, @LINE: KASMETHAI