วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

โปรแกรมคอมพิวเตอร์กับสิทธิลดหย่อนทางภาษี ขานรับมาตรการ Thailand 4.0!

โปรแกรมคอมพิวเตอร์กับสิทธิลดหย่อนทางภาษี 
ขานรับมาตรการ Thailand 4.0!



อ้างอิงจาก: มุมสรรพากร ฉบับที่ 78 เดือนพฤศจิกายน 2561

ภาครัฐฯได้มีมาตรการสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs เพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขัน โดยมีการสนับสนุนให้นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฏหมายมาใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินงานและบริหารจัดการธุรกิจเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการ Thailand 4.0 โดยกิจการที่เข้าเงื่อนไขการรับสิทธิประโยชน์ทางภาษี คือ

>>เป็นนิติบุคคล ซึ่งมีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 5 ล้านบาท
>> และมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 30 ล้านบาท
#จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เป็นจำนวนร้อยละ 100

ทั้งนี้รายจ่ายที่จะนำมาใช้ได้ จะต้องเป็น "ค่าซื้อ", "ค่าจ้างทำ" หรือ "ค่าใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์" จากผู้ขาย, ผู้รับจ้างทำ หรือผู้ให้บริการที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ซึ่งท่านสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนได้ที่นี่ค่ะ http://www.depa.or.th/tax200/companies

สำหรับข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ ในการที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีดังกล่าว  จะต้องเป็นไปดังนี้คือ

1. เป็นการจ่ายค่าซื้อหรือค่าจ้างทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือค่าใช้บริการโปรแกรมฯ ซึ่งไม่รวมค่าบำรุงรักษารายปี และค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้แก่ ผู้ขาย ผู้รับจ้างทำ หรือผู้ให้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA)

2. เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจด้านต่างๆ และเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นในประเทศไทย

3. ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับเงินได้เท่ากับรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหรือจ้างทำหรือค่าใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นจำนวนร้อยละ 100 ของรายจ่ายตามจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี

4. เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่นำมาหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินได้ ตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากรและต้องได้มา และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตามประสงค์ ภายในวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายค่าซื้อ หรือค่าจ้างทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือค่าใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์

5. ไม่เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่นำไปใช้ในกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามกฏหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

6. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้ซื้อ จ้างทำ หรือใช้บริการ จต้องไม่เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทเดียวกัน ตามรายงานแสดงรายละเอียดประเภทและลักษณะของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้ซื้อ จ้างทำ หรือใช้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนหน้านั้น ทั้งนี้ เฉพาะภายในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มใน หรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2560 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2562

7. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องจัดทำรายงานแสดงรายละเอียดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สิทธิยกเว้นนั้น โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามที่กรมสรรพากรกำหนด และเก็บรักษารายงานดังกล่าว รวมทั้งเอกสารประกอบการลงรายการในรายงานไว้ ณ สถานประกอบการพร้อมให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้

รายงานแสดงรายละเอียดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์:ท่านสามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ค่ะ
KASME INSTITUTE
"หน้าต่างแห่งความรู้ ประตูสู่ความสำเร็จ"

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ประมวลภาพการอบรมหลักสูตร:ติดอาวุธทางปัญญา พิชิตปัญหาประมวลรัษฎากร ตอน VAT, 23 พฤศจิกายน 2561@โรงแรมสัตหีบนาวี จ.ชลบุรี

ประมวลภาพการอบรมหลักสูตร
ติดอาวุธทางปัญญา พิชิตปัญหาประมวลรัษฎากร ตอน VAT
23 พฤศจิกายน 2561@โรงแรมสัตหีบนาวี จ.ชลบุรี









จบไปแล้วกับการสัมมนา❤️ ที่เรียกได้ว่าเป็นการอบรมที่พิเศษจริงๆค่ะ เพราะนอกจากสถานที่จะสวยงามแล้วนั้น บรรยากาศการอบรมยังเปี่ยมไปด้วยสาระน่ารู้ทางด้านภาษีจากท่านอาจารย์ดำริ ดวงนภา และการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นอย่างใกล้ชิดกับผู้เข้าอบรม พร้อมการแจกของรางวัลตลอดงาน เป็นการอบรมที่ทั้งสนุกสนาน ได้ของรางวัลกลับบ้าน พร้อมกับความรู้และเอกสารที่ใช้งานได้จริง #สถาบันคัสเม่ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทุกท่านจะได้รับความประทับใจกลับบ้าน กันอย่างเต็มเปี่ยมหลังวันลอยกระทงนะคะ 
และขอแสดงความยินดีกับผู้โชคดี 🎉🎉คุณทิพยวรรณ ทองสุข จากบริษัท บีเอชเคที จำกัด กับการรับของรางวัลในช่วงท้ายรายการ กับแก้วน้ำเฮลโหลคิตตี้ขนาดจัมโบ้ ❤️ ทางเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าของรางวัล จะถูกใจท่านค่ะ
แล้วพบกับพวกเราอีกครั้ง ในวันที่ 22 ธันวาคมนี้@โรงแรมโกลเด้นซิตี้ จังหวัดระยอง กับหลักสูตร #การแก้ไขปัญหาสำคัญทางการบัญชี และจุดตรวจสอบเพื่อป้องกันการทุจริต กับท่าน ดร.สมชาย เลิศภิรมย์สุข แล้วพบกันค่ะ 😊

"หน้าต่างแห่งความรู้ ประตูสู่ความสำเร็จ"



วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

เหมือนหรือต่างระหว่างภาษีซื้อต้องห้าม VS ภาษีซื้อไม่ขอคืน?

เหมือนหรือต่างระหว่างภาษีซื้อต้องห้าม VS ภาษีซื้อไม่ขอคืน?


นักบัญชีหรือเจ้าของกิจการหลายท่านอาจมีความสับสน ระหว่าง "ภาษีซื้อต้องห้าม" กับ "ภาษีซื้อไม่ขอคืน" ในวันนี้สถาบันคัสเม่ จะขอหยิบยกบทความจากนิตยสารมุมสรรพากร มาอธิบายให้ทุกท่านได้เข้าใจแบบง่ายง่ายในวันนี้กันค่ะ

ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกับระบบภาษีมูลค่าเพิ่มกันก่อนนะคะ ในแต่ละเดือน ผู้ประกอบการที่จด VAT จะต้องมีหน้าที่คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) โดยการนำ

ภาษีขาย - ภาษีซื้อ = ค่าออกมาเป็น + >> ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องนำส่งให้แก่กรมสรรพากร
ภาษีขาย - ภาษีซื้อ = ค่าออกมาติด - >> ภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีสิทธิขอคืนหรือนำไปหักลบออกกับภาษีขายในเดือนถัดไป

เมื่อทราบเช่นนี้ ในหลายกิจการก็เริ่มมีไอเดียที่อยากจะประหยัดภาษี หนึ่งในวิธียอดฮิตก็คือการนำ "ภาษีซื้อ" มาใช้หักเยอะๆ แต่เดี๋ยวก่อน ก่อนที่ท่านจะนำมาใช้ กิจการจะต้องมีความเข้าใจกับนิยามของคำว่า "ภาษีซื้อ" กันก่อนค่ะ

"ภาษีซื้อ" คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการได้จ่ายไปให้กับผู้ขายสินค้า หรือผู้ให้บริการ ซื่งภาษีซื้อที่จะนำมาหักได้นั้น ให้รวมถึงภาษีซื้อของสินค้าประเภททุนด้วย อย่างไรก็ตาม "ภาษีซื้อต้องห้าม" ตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากรประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากรที่กำหนดไว้ >>>ไม่สามารถนำมาใช้หักภาษีขายหรือขอคืนได้ค่ะ<<<

#ลักษณะเฉพาะของ "ภาษีซื้อต้องห้าม"


- ไม่สามารถใช้ขอคืนภาษี หรือ นำไปหักกับภาษีขายได้
- แต่สามารถนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ เช่น ภาษีซื้ออันเกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรอง, ภาษีซื้อจากการซื้อกระเช้าของขวัญปีใหม่ให้ลูกค้า, ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ, ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีตาม ม.86/4 แห่งประมวลฯ ซึ่งรายการตาม ม.86/4 ได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงเว้นแต่รายการซึ่งได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด เป็นต้น

แต่!! ก็ยังมีภาษีซื้อบางประเภท ที่เรียกได้ว่าเป็น "ภาษีซื้อ ต้องห้ามห้าม!" ^^ ที่กฏหมายห้ามไม่ให้นำไปหักออกจากภาษีขาย และห้ามนำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล (เรียกว่า "ต้องห้ามตามระบบภาษีมูลค่าเพิ่มและระบบภาษีเงินได้นิติบุคคล") ตัวอย่างเช่น
- กรณีไม่มีใบกำกับภาษี หรือสูญหาย
- ไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ว่ามีการชำระภาษีซื้อ
- กรณีมีใบกำกับภาษี แต่ภาษีซื้อตามใบกำกับ ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ เช่น
   >> บริษัทจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยรถยนตให้กับรถยนต์พนักงาน
   >> ใบเสร็จรับเงินศุลกากรระบุชื่อกิจการ "เป็นผู้จ่ายเงิน" แต่กิจการไม่ได้เป็นผู้นำเข้าเครื่องจักรมาใช้ในกิจการของตนเอง

แล้ว #ลักษณะเฉพาะของภาษีซื้อไม่ขอคืน คืออะไร ?

เราสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายๆก็คือ ภาษีซื้อไม่ขอคืน = ภาษีซื้อที่ผู้ประกอบการจด VAT มีสิทธิขอคืน หรือหักออกจากภาษีขายได้ตามที่กฏหมายกำหนด แต่ผู้ประกอบการสละสิทธิที่จะใช้นั่นเอง ซึ่งภาษีซื้อดังกล่าวนี้ จะกลายเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลค่ะ

จึงทำให้ กิจการใดที่นำภาษีซื้อไม่ขอคืน  >> ไปบันทึกเป็นค่าใช้จ่าย จะต้องนำมาบวกกลับ ในตอนคำนวณกำไรสุทธิในแบบ ภ.ง.ด.50 ด้วยนะคะ

คราวนี้เราก็เห็นกันแล้วว่า "ภาษีซื้อต้องห้าม" และ "ภาษีซื้อไม่ขอคืน" นั้นต่างกันอย่างไร ก็สามารถนำไปปรับใช้กับกิจการของท่านได้ต่อไปเลยค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจาก #มุมสรรพากร ฉบับที่ 77 เดือนตุลาคม 2561

KASME

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

หลักวิเคราะห์ VAT กับการซื้อขายระหว่างประเทศ by อ.ดำริ ดวงนภา

หลักวิเคราะห์ VAT กับการซื้อขายระหว่างประเทศ 

by อ.ดำริ ดวงนภา


อุ่นเครื่องก่อนงานอบรมในวันที่ 23 พฤศจิกายนนี้! ท่านใดที่พลาดการ LIVE สดในช่วงบ่ายวันนี้ กับเรื่องของ #หลักวิเคราะห์VATกับการซื้อขายระหว่างประเทศ by อ.ดำริ ดวงนภา 😉 สามารถติดตามรับชมได้ที่นี่เลยค่ะ 👩‍🏭


แล้วพบกับพวกเรา ในวันที่ 23 พฤศจิกายนนี้ ณ โรงแรมสัตหีบนาวี จ.ชลบุรี (หาดดงตาล) #ท่านใดที่ยังไม่ได้สำรองที่นั่ง โทรด่วนได้เลยนะคะ (033) 650-892, LINE: KASMETHAI หรือคลิ๊กhttps://goo.gl/forms/IcQC9veOdLNHocVI3 เรายังพอมีที่นั่งว่างอยู่ค่ะ >>คงเหลือ 5 ที่นั่ง<<


วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ขายบ้านเก่า ซื้อบ้านใหม่ ขอคืนภาษีได้ไหมนะ?

ขายบ้านเก่า ซื้อบ้านใหม่ ขอคืนภาษีได้ไหมนะ?

"การขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและอากรแสตมป์ ต้องเป็นการขายบ้านเก่าที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ที่มีชื่อผู้ขอคืนอยู่ในทะเบียนบ้าน อย่างน้อย 1 ปี และซื้อบ้านใหม่ภายใน 1 ปี" (วารสารกรมสรรพากร)


หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ในการขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และอากรแสตมป์ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 125) สรุปอย่างง่ายง่าย เข้าใจได้ ดังนี้คือ

1. ต้องเป็นการขายบ้านเก่าที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ที่มีชื่อผู้ขอคืนอยู่ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 1 ปี
2. ต้องซื้อบ้านใหม่ภายใน 1 ปี **โดยจะซื้อบ้านใหม่ หรือจะขายบ้านเก่า อย่างใดอย่างหนึ่งก่อนก็ได้ แต่ต้องอยู่ในระยะเวลา 1 ปี**
3. การขอคืนภาษี จะดูจากการขายเป็นหลัก เช่น
 >> ถ้าบ้านหลังเดิมมีชื่อ 2 คน = คณะบุคคล ไม่เข้าหลักเกณฑ์ในการขอคืน (ยกเว้นกรณีสามีและภรรยาที่จดทะเบียนสมรส)
 >> ภาษีที่ขอคืน ต้องไม่เกินราคาบ้านใหม่ที่ซื้อ เช่น
   -  ขายบ้านเก่าราคา 2 ล้านบาท >> ซื้อบ้านใหม่ ราคา 3 ล้านบาท **ขอคืนภาษีและอากรแสตมป์ได้เต็มจำนวนของบ้านหลังเก่าที่ถูกหักออกไป**
   -  ขายบ้านเก่าราคา 5 ล้านบาท >> ซื้อบ้านใหม่ ราคา 2 ล้านบาท **ขอคืนภาษีและอากรแสตมป์ได้ไม่เกินราคาของบ้านหลังใหม่ 2 ล้านบาท (ดูตามราคาประเมิน)**

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: มุมสรรพากร ฉบับที่ 72 เดือนพฤษภาคม 2561

KASME Institute
"หน้าต่างแห่งความรู้ ประตูสู่ความสำเร็จ"

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ธุรกิจร้านค้าปลีกกับแนวทางการคำนวณภาษี

ธุรกิจร้านค้าปลีกกับแนวทางการคำนวณภาษี


สัดส่วนจำนวนของ ร้านค้าปลีกในประเทศไทย นั้น ถ้าว่ากันตามความเป็นจริงแล้วก็ถือว่ามีจำนวนมาก จึงทำให้ร้านค้าปลีกเป็นธุรกิจรายย่อยที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจอย่างชัดเจน โดยลักษณะของร้านค้าปลีกโดยทั่วไปจะเป็นการขายสินค้าที่เข้าถึงผู้บริโภค ซึ่งเจ้าของร้านเป็นบุคคลธรรมดา มีการบริหารจัดการที่ไม่ยุ่งยาก  และสินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 

โดยรูปแบบธุรกิจของร้านค้าปลีกจะมีรูปแบบที่แตกต่างกัน อาทิเช่น ยี่ปั๊วะ ซาปั๊วะ โชห่วย ร้านของชำ หาบเร่ แผงลอย ร้านอาหาร เป็นต้น 

และจากการที่ภาครัฐเข้ามาให้ความสำคัญในการส่งเสริมร้านค้าปลีก จึงทำให้เกิดประโยชน์หลายด้านสำหรับร้านค้า ตัวอย่างเช่น

>> ขายของได้หลากหลาย สินค้ามีราคาถูก สินค้าไม่ค้างสต๊อก
>> ลูกค้าเยอะขึ้น ยอดขายเพิ่มขึ้น กำไรเยอะขึ้น
>> เจ้าของร้านเป็นผู้นำส่ง VAT ไม่ได้เป็นคนจ่ายภาษี
>> ได้รับสิทธิประโยชน์หักค่าธรรมเนียมจากบัตรเดบิตได้ 2 เท่า
>> ชำระเงินผ่าน EDC เพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระเงิน
>> เป็นร้านค้ายุคดิจิทัล Thailand 4.0 และมีสิทธิประโยชน์อีกมากมาย
#อ้างอิงจากกรมสรรพากร

แต่คำถามต่อมาก็คือ แล้วถ้าเราเป็นบุคคลธรรมดา มีรายได้จากการขายของชำ จะคำนวณภาษีได้อย่างไรบ้าง ?
สามารถคำนวณได้ 2 วิธีคือ
1. คำนวณภาษีแบบหักค่าใช้จ่ายเหมา 60%
2. คำนวณภาษีแบบหักค่าใช้จ่ายตามจริง


แล้วถ้าเป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลล่ะ จะคำนวณภาษีอย่างไร?
บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จะคำนวณภาษีจากกำไรสุทธิ โดยใช้อัตราภาษีเงินได้นิติบุคลตามที่สรรพากรได้กำหนดไว้ในการคำนวณ ดังนี้คือ


******* ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจากกรมสรรพากร WWW.RD.GO.TH *******

KASME

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

มาตรการภาษีลดหย่อนบุตรคนที่ 2 ได้สิทธิลดหย่อนเพิ่ม ไปต่อ...ไม่รอแล้วน๊า by กรมสรรพากร

มาตรการภาษีลดหย่อนบุตรคนที่ 2 ได้สิทธิลดหย่อนเพิ่ม ไปต่อ...ไม่รอแล้วน๊า  by กรมสรรพากร




KASME Institute
สถาบันคัสเม่


วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ว่าด้วยเรื่องของใบกำกับภาษี ตามมาตรา 86/4 กับการอธิบายอย่างง่ายๆ สไตล์ อ.ดำริ ดวงนภา

เช้าวันนี้ (13/11/61) ท่านอาจารย์ดำริ ดวงนภา ได้กลับมาต่อยอดความรู้ทางด้านภาษีต่อจากเมื่อวาน ในเรื่องของ #ใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 กับการอธิบายให้ทุกท่านได้เข้าใจอย่างง่ายๆ สไตล์ท่าน อ.ดำริ ค่ะ

เนื้อหาและเรื่องราว จะน่าสนใจเพียงใด นักบัญชีและท่านเจ้าของกิจการ ไม่ควรพลาดนะคะ
https://youtu.be/MQZK8xDra5o



KASME
The Institute of Effective Training for SMEs



ทำธุรกิจอะไรไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้าไม่จด VAT ก็ไม่ต้องเสีย VAT จริงไหม


วันนี้พบกับการ LIVE! สดผ่านทางเพจเฟซบุ๊คจากท่าน อ.ดำริ ดวงนภา โดยในวันนี้ท่านอาจารย์ดำริ จะหยิบยกประเด็นที่น่าสนใจในเรื่องของ "ทำธุรกิจอะไรไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้าไม่จด VAT ก็ไม่ต้องเสีย VAT จริงไหม ?" ขอเรียนเชิญทุกท่านที่สนใจ ติดตามรับชมพร้อมกันได้เลยค่ะ


23 พฤศจิกายนนี้@โรงแรมสัตหีบนาวี จังหวัดชลบุรี พบกับการเปิดเผย 20 ประเด็นดังทางภาษี แบบเคส ต่อ เคสโดยท่านอาจารย์ดำริ ดวงนภา (ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีและที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐฯ & เอกชน +30ปี) ในหลักสูตร "ติดอาวุธทางปัญญา พิชิตปัญหาประมวลรัษฎากร ตอน VAT" #ตัวอย่างเช่น
1. ทำธุรกิจอะไรไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้าไม่จด VAT ก็ไม่ต้องเสีย VAT จริงไหม ? 2. สินค้าขาดรายงานเพราะหาย ถูกขโมย หรือเหตุสุดวิสัย ถือเป็นการขายไหมต้องเสีย VAT หรือไม่ 3. ไม่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการ แต่การกระทำนี้สรรพากรให้จ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม จะออกใบกำกับภาษี ลงบัญชีลงรายงานยังไง 4. การทำลายสินค้าล้าสมัย ชำรุดเสื่อมสภาพทำอย่างไรจึงไม่ต้องเสีย VAT 5. ลูกค้าจ่ายค่าสินค้าล่าช้า บริษัทจึงคิดดอกเบี้ย ดอกเบี้ยต้องเสียภ.พ.ไหม และ ภาษีธุรกิจเฉพาะล่ะ 6. ขายสินค้าให้กับบริษัทในต่างประเทศ แต่บริษัทต่างประเทศให้ส่งมอบสินค้าให้กับอีกบริษัทหนึ่งที่อยู่ในประเทศไทย จะออกใบกำกับภาษีเรียกเก็บ VAT กับใคร 7. ขายสินค้า แต่ผู้ซื้อไม่ยอมรับใบกำกับ ขายได้หรือไม่ ภาษีสรรพากรมีแนวให้ปฏิบัติอย่างไร 8. รู้กันให้ชัด ๆ กับภาษีซื้อต้องห้ามขอคืน แต่ลงเป็นค่าใช้จ่ายได้ 9. ผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าอย่างไรไม่ต้องเสีย VAT 10. ซื้อของมาแจก แถมเป็นของขวัญปีใหม่อย่างไร ได้ภาษี VAT คืน รวบรวมประเด็นแบบ #Exclusive พร้อมเปิดโอกาสถามตอบ ซักถามปัญหาทางภาษีตลอดงาน #หลักสูตรนี้สามารถนับชั่วโมงCPDอื่นได้ 6 ชั่วโมง 🚩สำรองที่นั่งด่วนก่อนเต็ม โทร.(033)650-892 หรือคลิ๊ก https://goo.gl/forms/IcQC9veOdLNHocVI3 #และพิเศษทันทีกับการแจกฟรี1ที่นั่ง ***BUY 1 GET 1 FREE!!*** ของขวัญ #จัดพิเศษจากท่าน อ.ดำริ ดวงนภา สำหรับหลักสูตรในครั้งนี้ โดยเฉพาะ อบรมครั้งนี้ ห้ามพลาดนะคะ!




วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ภาษีกับสัญญาซื้อฝาก-ขายฝาก

ภาษีกับสัญญาซื้อฝาก-ขายฝาก

อ้างอิง: มุมสรรพากร  WWW.RD.GO.TH

การขายฝาก = การทำสัญญาซื้อขาย ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันที แต่ผู้ขายฝากสามารถนำเงินมาไถ่ถอนทรัพย์สินนั้นได้ ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา หรือภายในเวลาที่กฏหมายกำหนด ซึ่งหากเป็นการขายฝากอสังหาริมทรัพย์ กฏหมายกำหนดให้สามารถทำสัญญาไถ่ถอนได้สูงสุด 10 ปี นับแต่เวลาซื้อขาย โดยผู้รับซื้อฝากจะได้ผลประโยชน์ตอบแทนจากผู้ขายฝากสูงสุดไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี และจะได้รับเงินจากการขายฝากคืนเมื่อมีการไถ่ถอนเกิดขึ้น

ซึ่งในที่นี้ ถ้าให้สรุปอย่างง่ายก็คือ การขายฝาก หมายถึงการที่เจ้าของทรัพย์สินได้ขายให้กับผู้ซื้อ แต่ก็ยังสามารถซื้อคืนกลับมาได้ และเมื่อดำเนินการขายเสร็จสิ้น ทรัพย์สินดังกล่าวจะเป็นของผู้ซื้อทันที 

อย่างไรก็ตาม ผู้ขายสามารถซื้อทรัพย์สินของตนกลับคืนมาได้ ภายในระยะเวลาที่กำหนดตามสัญญา แต่ไม่เกิน 10 ปี แต่ถ้าไม่ซื้อคืน ทรัพย์สินดังกล่าวก็จะตกเป็นของผู้ซื้อโดยสมบูรณ์



ทั้งนี้ ถ้ามองทางด้านในมุมของภาษี ก็จะมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกรณีการขายฝาก ดังนี้

#ภาษีที่เกี่ยวข้องกับผู้ขายฝาก

ผู้ขาย มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ทันทีที่มีการทำสัญญาขายฝาก เพราะการขายฝาก ถือเป็นการ "ขาย" ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร รวมทั้งต้องเสียค่าธรรมเนียมและภาษีเงินได้ เหมือนกับการขายอสังหาริมทรัพย์ตามปกติด้วย โดยผู้จัดเก็บคือสำนักงานที่ดิน

1. ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนร้อยละ 2 ของราคาประเมินทุนทรัพย์
2. อากรแสตมป์ ให้เสียอากรแสตมป์ในอัตรา 1 บาท ต่อทุกจำนวนเงิน 200 บาท  และเศษของ 200 บาทของราคาขายหรือราคาประเมินทุนทรัพย์ แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
3. ภาษีธุรกิจเฉพาะ ต้องชำระภาษีในอัตราร้อยละ 3 ของราคาขาย หรือราคาประเมินแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า และรายได้
ส่วนท้องถิ่นอีกร้อยละ 10 ของภาษีธุรกิจเฉพาะ (คืออัตราร้อยละ 3.3 ของราคาขาย) ในกรณีที่ขายอสังหาริมทรัพย์ภายใน
5 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น
4. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

#ผู้รับซื้อฝาก ภาษีจะเกิดขึ้น เมื่อครบกำหนดตามสัญญาขายฝาก ดังต่อไปนี้


ภาพจาก มุมสรรพากร ฉบับที่ 77 เดือนตุลาคม 2561

1. กรณีผู้ขายฝากไถ่ถอนทรัพย์ภายในกำหนดผู้รับซื้อฝาก (ผู้ขาย ซื้อคืนทรัพย์สินของตนภายในกำหนด) ผู้รับซื้อฝากได้รับชำระเงินจึงถือเป็นเงินได้ของผู้รับซื้อฝาก ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ซื้อฝากต้องนำเงินที่ได้รับ ไปคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามปกติ โดยสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาะได้ร้อยละ 60 หรือหักค่าใช้จ่ายตามจำเป็นและสมควร
2. กรณีผู้ขายฝากไถ่ถอนทรัพย์เกินกำหนด และผู้รับซื้อฝากยินยอมให้ไถ่ถอน จะถือเป็นการ "ขาย" ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร

และเมื่อการขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่รับซื้อฝากอสังหาริมทรัพย์ และมีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ย่อมเข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ตามมาตรา 4(6) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 342) พ.ศ.2541 ผู้รับซื้อฝากจึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร

***ดังนั้น ในกรณีที่ผู้ขายฝาก ไม่สามารถไถ่ถอนได้ภายในเวลากำหนด และผู้รับซื้อฝากยินยอมให้ขยายเวลาออกไป >>> จึงแนะนำว่า "ควรขยายระยะเวลาขายฝาก ก่อนวันที่กำหนดในสัญญา" โดยจดทะเบียนแจ้งกำหนดเวลาไถ่ถอน ต่อเจ้าหน้าที่ให้ชัดเจน เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ***

3. กรณีผู้รับซื้อฝากได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์โดยเด็ดขาด จากการขายฝาก เมื่อผู้ขายฝากไม่มาไถ่ถอนตามกำหนด ถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร โดยเงินได้พึงประเมินดังกล่าวให้ถือตามราคาหรือค่าอันพึงมี "ในวันที่ได้รับทรัพย์สินนั้น" ตามมาตรา 9 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

กรณีไม่อาจหาราคาหรือค่าอันพึงมีของอสังหาริมทรัพย์ได้ ให้ถือราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตามประมวลกฏหมายที่ดิน ซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ "ในวันที่ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโดยเด็ดขาด" จากการขายฝากนั้น

KASME
The Institute of Effective Training for SMEs



วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

เรื่องน่ารู้ของภาษีมูลค่าเพิ่ม: เรียนรู้กับเอกสารที่ใช้ในการยื่นคำขอรับ "ใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม"

ต่อเนื่องจากตอนที่แล้ว ในเรื่องของ "ช่องทางการชำระภาษีและสถานที่ยื่น" ในวันนี้เราจะกลับมาแบ่งปันความรู้ต่อเนื่องกันในเรื่องของ VAT เป็นตอนสุดท้าย กับการเรียนรู้เอกสารที่ใช้ในการยื่นคำขอรับ "ใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม" และขั้นตอนการยื่นคำร้องค่ะ เนื้อหาจะเป็นเช่นไร เรียนเชิญทุกท่านติดตามพร้อมกันได้เลยนะคะ


เอกสารที่ใช้ในการยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

1. แบบคำขอใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.04)จำนวน 3 ฉบับ
2. ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ที่ชำรุด (ถ้ามี) พร้อมภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว
3. ใบแจ้งความกรณีสูญหาย
4. หนังสือมอบอำนาจ กรณีให้ผู้อื่นทำการแทน ปิดอากรแสตมป์ 10 บาท
5. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและ ผู้รับมอบอำนาจ พร้อมภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว

การยื่นคำร้องต้องดำเนินการตามขั้นตอนอย่างไร ที่ไหน

การแจ้งเปลี่ยนแปลงรายการของนิติบุคคล (ไม่รวมถึงการแจ้งย้ายสถานประกอบการ การเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติม หรือการโอนและการรับโอนกิจการ) ต้องแจ้งที่กระทรวงพาณิชย์ก่อนแล้วจึงนำหนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ฉบับใหม่มาประกอบการยื่นคำร้องเพื่อขอเปลี่ยนแปลงรายการ
1. กรณีที่มีสถานประกอบการสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
2. กรณีมีสถานประกอบการสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (อำเภอ) ที่สถานประกอบการตั้งอยู่

สถาบันคัสเม่

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

คลิป LIVE สดโดยท่าน อ.ดำริ ดวงนภา กับเคสจริงในเรื่องของ "ภาษีมูลค่าเพิ่ม" อ้างอิงตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5230/2559

ขอเรียนเชิญทุกท่านรับชมกับคลิป LIVE สด! เช้าวันนี้☀️ในประเด็นของกรณีศึกษาว่าด้วยเรื่อง #ภาษีมูลค่าเพิ่ม เคสที่เคยเกิดขึ้นจริง จนนำไปสู่การสู้กันในชั้นศาล และมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5230/2559 ออกมาแล้วค่ะ เนื้อหาเรื่องราวจะน่าสนใจเพียงใด ขอเชิญทุกท่านติดตามพร้อมกันผ่านทางวิดีโอด้านล่าง ได้เลยค่ะ


***อ. ดำริ ดวงนภา, อดีตนักวิชาการกรมสรรพากร, ประสบการณ์คร่ำหวอดในกรมสรรพากร +14 ปี, ที่ปรึกษาทางด้านภาษีระดับสูง +30 ปี แล้วพบกับท่านอาจารย์ตัวจริงเสียงจริงได้ ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2561 ณ โรงแรมสัตหีบนาวี (อ่าวดงตาล) อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี***
สำรองที่นั่งในราคาพิเศษ ได้ที่นี่ค่ะ https://goo.gl/forms/IcQC9veOdLNHocVI3


สถาบันคัสเม่
"หน้าต่างแห่งความรู้  ประตูสู่ความสำเร็จ"

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

แจกฟรีโปรแกรมบัญชีอย่างง่ายสำหรับ SMEs ส่งตรงจากกรมสรรพากร!

แจกฟรี!! โปรแกรมบัญชีอย่างง่ายสำหรับผู้ประกอบการ SMEs สามารถนำไปใช้งานได้จริง ทำได้ด้วยตนเอง อย่างถูกต้องตามกฏหมายภาษีและตามมาตรฐานบัญชี


กรมสรรพากรมีนโยบายเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs ให้เดินหน้าด้วยความเข้มแข็งอย่างเป็นระบบครบวงจร สนับสนุนนโยบายภาครัฐที่ต้องการส่งเสริมให้ SMEs จัดทำบัญชีชุดเดียว จึงได้จัดทำโปรแกรมบัญชีอย่างง่ายสำหรับผู้ประกอบการ SMEs เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการที่ไม่มีพื้นฐานด้านบัญชี สามารถจัดทำบัญชีได้ด้วยตนเอง อย่างถูกต้อง
  
โดยอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมเพื่อใช้งานโปรแกรมฯ มีดังนี้
1. เครื่องคอมพิวเตอร์
      CPU : Pentium II 2 GHz ขึ้นไป
      ระบบปฎิบัติการ : Windows XP, 7, 8
      Memory 1 GB ขึ้นไป
      พื้นที่ว่างบน HDD : 5 GB
2. เครื่องพิมพ์

เริ่มต้นดาวน์โหลด!
A. DOWNLOAD โปรแกรมฯ ให้ครบในครั้งเดียว >> Download

วิธีการใช้งาน
1.ดับเบิลคลิกที่ไฟล์ Setup_RDSMEs_V1.20.exe
   >> คลิกปุ่ม Run (ถ้ามี) > คลิกปุ่ม Extract
   >> จะปรากฏโฟล์เดอร์ Setup_RDSMEs
2. ติดตั้งโปรแกรม RDSMEs
    >> เข้าโฟล์เดอร์ Setup_RDSMEs
    >> ดับเบิลคลิก autorun.exe (โลโก้สรรพากร)
    >> ให้ติดตั้งตามขั้นตอนของ Wizard

B. DOWNLOAD โปรแกรมฯเพื่อการอัพเดตจากเวอร์ชั่น 1.01 เป็นเวอร์ชั่น 1.20 >> Donwload

วิธีการใช้งาน
1. ให้ดับเบิลคลิกที่ไฟล์ RDSMEs_UpdateV.1.20.exe
2. ให้ติดตั้งตามขั้นตอนของ Wizard
  
การใช้งานโปรแกรม
1. รหัสผู้ใช้งาน rdsmes
2. รหัสผ่าน rdsmes
 
ช่องทางการสอบถามปัญหาทางเทคนิค>> ID LINE : rdsmeservice

The Institute of Effective Training for SMEs
TAX | ACCOUNTING

วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

เรื่องน่ารู้ของภาษีมูลค่าเพิ่ม: ช่องทางการชำระภาษีและสถานที่ยื่น

เรื่องน่ารู้ของภาษีมูลค่าเพิ่ม:  
ช่องทางการชำระภาษีและสถานที่ยื่น

             ต่อเนื่องจากตอนที่แล้ว กับ "เรื่องน่ารู้ของภาษีมูลค่าเพิ่ม: หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม" ในวันนี้เรามาเรียนรู้เพิ่มเติมกับช่องทางการชำระภาษี และสถานที่ยื่นกันดีกว่านะคะ และในบทความนี้ท่านยังจะได้ทราบถึง

- กรณีมีการเปลี่ยนแปลงรายการที่ได้จดทะเบียน VAT ไว้ จะต้องทำอย่างไร
- หลักฐานที่ต้องใช้ มีอะไรบ้าง
- จะได้รับใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อไหร่

***เราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ***



จะยื่นชำระภาษีได้ที่ไหนนะ
1. ยื่นได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เขต/อำเภอ) ในท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
2. กรณีมีหลายสาขาและได้รับอนุมัติให้ยื่นแบบรวมคำนวณภาษีให้ยื่นแบบรวม ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เขต/อำเภอ) ในท้องที่ที่สำนักงานใหญ่หรือสำนักงานสาขาที่ได้รับอนุมัติตั้งอย
3. ยื่นนทางอินเทอร์เน็ต www.rd.go.th ในเวลากำหนด

ชำระภาษี ได้ช่องทางใดบ้าง
1. ชำระเป็นเงินสด
2. ชำระด้วยเช็คขีดคร่อมสั่งจ่ายกรมสรรพากร โดยขีดฆ่าคำว่า ผู้ถือและหรือตามคำสั่ง
3. ชำระด้วยบัตรเครดิต
4. ชำระด้วยบัตรTax Smart Card
5. ชำระทาง e-payment หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารพาณิชย์ที่เข้าร่วมโครงการหรือบริษัทไปรษณีย์ไทย
* หมายเหตุ การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีสามารถยื่นผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากรได้ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในหัวข้อ บริการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต)

หากมีการเปลี่ยนแปลงรายการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว จะต้องทำอย่างไร

>> กรณีผู้ประกอบการได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรไว้แล้ว หากมีการเปลี่ยนแปลงรายการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งได้แก่ชื่อผู้ประกอบการชื่อสถานประกอบการ ที่ตั้งสถานประกอบการ (รวมถึงการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของที่ตั้งสถานประกอบการตามประกาศของทางราชการ) ประเภทกิจการที่กระทำเป็นปกติประเภทสินค้าหรือบริการที่กระทำเป็นส่วนใหญ่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร การเลิกกิจการ การเปลี่ยนแปลงประเภทของการประกอบการ การเปลี่ยนแปลงประเภทสินค้าหรือบริการ การเปลี่ยนแปลงการคำนวณภาษีรวมถึงการเปลี่ยนแปลงรายการอื่นๆ เช่น การเปลี่ยนชื่อสถานประกอบการ การเปลี่ยนแปลงกรรมการหรือผู้ถือหุ้น (ผู้มีอำนาจลงนาม) หรือการหยุดกิจการชั่วคราว (มีกำหนดระยะเวลาภายใน 1 ปี) ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงนั้น ภายใน 15 วัน นับจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นโดยต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.09 พร้อมยื่นเอกสารประกอบการพิจารณา ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้

>> สำหรับกรณีย้ายสถานประกอบการ รับโอนกิจการ เพิ่มหรือลดสาขาของสถานประกอบการผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงนั้น ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไม่น้อยกว่า 15 วัน โดยกรอกแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบภ.พ.09 พร้อมเอกสารประกอบการพิจารณา ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้
>> หากผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แจ้งการเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะภายในกำหนดเวลาต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

หลักฐานที่ต้องใช้ได้แก่อะไรบ้าง
1. แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.09) จำนวน 4 ฉบับ
2. ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ฉบับจริงพร้อมภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว
3. สำเนาแบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเดิม (ภ.พ.01) หรือสำเนาแบบคำขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงรายการ (ภ.พ.09) ครั้งสุดท้าย
4. บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรพร้อมภาพถ่ายบัตรดังกล่าว
5. หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท (กรณีเป็นนิติบุคคล) พร้อมภาพถ่ายหนังสือดังกล่าว
6. ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มขอ งสถานประกอบการ แห่งที่ต้องการย้ายออก
7. ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของนิติบุคคลที่จะควบเข้ากัน
8. ภาพถ่ายสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์(เช่น ตึกแถว บ้าน อาคาร อาคารชุด พื้นที่ในห้างสรรพสินค้า เป็นต้น) หรือ ภาพถ่ายหนังสือยินยอมให้ใช้อสังหาริมทรัพย์เป็นที่ตั้งสถานประกอบการ
9. แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขป พร้อมภาพถ่ายสถานประกอบการแห่งใหม่
10. ภาพถ่ายหนังสือเลิกนิติบุคคล (กรณีแจ้งเลิกนิติบุคคล)
11. ภาพถ่ายใบมรณบัตร (กรณีผู้ประกอบการซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาถึงแก่ความตาย)
12. หนังสือแสดงการเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล (กรณีเป็นบุคคลธรรมดา) พร้อมภาพถ่ายหนังสือดังกล่าว
13. บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้านของผู้ประกอบการ หรือกรรมการผู้มีอำนาจลงนามพร้อมภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว
14. กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำการแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 10 บาท บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ พร้อมภาพถ่ายบัตรดังกล่าว โดยผู้รับมอบอำนาจต้องมีอายุ20 ปีขึ้นไป
15. กรณีหยุดกิจการชั่วคราว ต้องมีหนังสือจากผู้ประกอบการชี้แจงเหตุผลในการหยุดกิจการพร้อมประทับตรานิติบุคคลและลงนามโดยกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม

ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
>> เมื่อได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเรียบร้อยแล้ว กรมสรรพากรจะออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.20) ให้ ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ระบุไว้ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นเป็นต้นไป ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องนำใบทะเบียนดังกล่าว ไปแสดงไว้ ณ สถานประกอบการในสถานที่ที่เห็นได้ง่ายและเปิดเผย
>> กรณีที่ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ซึ่งใบแทนดังกล่าว ถือเป็นใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ตอนต่อไป: เรียนรู้กับเอกสารที่ใช้ในการยื่นคำขอ "รับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม" โปรดติดตามตอนต่อไปนะคะ

KASME INSTITUTE
"หน้าต่างแห่งความรู้ ประตูสู่ความสำเร็จ"

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

เรื่องน่ารู้ของภาษีมูลค่าเพิ่ม: หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

เรื่องน่ารู้ของภาษีมูลค่าเพิ่ม: 
หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

กลับมาแล้วกับสาระน่ารู้ในเรื่องของภาษีมูลค่าเพิ่ม ในวันนี้เรามาพบกับ "หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม" กันนะคะ

หน้าที่ของผู้จด VAT (จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) มีดังต่อไปนี้

1. มีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการ และออกใบกำกับภาษีเพื่อเป็นหลักฐานในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. จัดทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งได้แก่
 (1) รายงานภาษีซื้อ
 (2) รายงานภาษีขาย
 (3) รายงานสินค้าและวัตถุดิบ
3. ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีตามแบบ ภ.พ.30

แต่ถ้าหากทำธุรกิจที่อยู่ในข่ายต้องจดทะเบียนฯ แต่มิได้จดทะเบียน จะต้องมีความผิดอย่างไร ?

1. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. เสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากยอดขายสินค้าหรือบริการ ตั้งแต่วันที่มีหน้าที่จดทะเบียนฯ เพื่อเป็นผู้ประกอบการฯ
3. เสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของเงินภาษีที่ต้องชำระในแต่ละเดือนภาษี
4. เสียเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ
5. ไม่มีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่นเรียกเก็บในขณะที่ยังไม่ได้จดทะเบียนฯ ไปหักออกจากภาษีที่ต้องชำระได้ (ภาษีขาย)

"TIME LINE" ว่าด้วยเรื่องของกำหนดเวลายื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

1. การยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30
1.1 ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องยื่นแบบภ.พ.30 พร้อมชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม (ถ้ามี) เป็นรายเดือนทุกเดือนภาษีไม่ว่าจะมีการขายสินค้า หรือให้บริการในเดือนภาษีนั้นหรือไม่ก็ตาม โดยให้ยื่นแบบภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
1.2 กรณีผู้ประกอบการมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้แยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีเป็นรายสถานประกอบการ เว้นแต่ได้ยื่นคำร้องขออนุมัติยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีรวมกัน ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในท้องที่ที่สถานประกอบการอันเป็นสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ และได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรแล้ว ก็สามารถยื่นแบบรวมกันได้ตั้งแต่เดือนภาษีที่อธิบดีกำหนดเป็นต้นไป

2. การยื่นแบบใบขนสินค้าขาเข้า
ผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้นำเข้าต้องยื่นแบบใบขนสินค้าขาเข้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการชำระอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ณ ด่านศุลกากรที่มีการนำเข้าสินค้า

3. การยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.36
3.1 กรณีเป็นผู้จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ มีหน้าที่ต้องยื่นแบบพร้อมชำระภาษีภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน ให้แก่
- ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร ซึ่งเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว หรือ
- ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
3.2 กรณีเป็นผู้ทอดตลาดซึ่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือส่วนราชการซึ่งขายทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ถูกยึดมาตามกฎหมายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบพร้อมชำระภาษีภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่ขายทอดตลาดฯ
3.3 กรณีเป็นผู้รับโอนสินค้าหรือเป็นผู้รับโอนสิทธิในบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 มีหน้าที่ต้องยื่นแบบพร้อมชำระภาษีภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่ครบกำหนด 30 วัน ที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น

ตอนต่อไป: พบกับช่องทางการชำระภาษี และสถานที่สำหรับการยื่นแบบ จะยื่นได้ที่ไหนบ้างนะ? โปรดติดตามตอนต่อไปค่ะ

สถาบันคัสเม่
KASME: THE INSTITUTE OF EFFECTIVE TRAINING FOR SMEs