วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

จ่ายค่าโฆษณาให้ FACEBOOK ขอคืนภาษีซื้อได้ไหม


จ่ายค่าโฆษณาให้ FACEBOOK ขอคืนภาษีซื้อได้ไหม

คำตอบคือ ได้  แต่มีข้อพิจารณา 2 ประการคือ

1.ถ้าบริษัทที่เราจ่ายค่าใช้จ่ายออนไลน์ต่าง ๆ ให้เป็นบริษัทที่ดำเนินการอยู่ในประเทศไทย ให้ขอ ฃใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ มาเป็นหลักฐานในการขอคืนภาษีซื้อ

2.ถ้าบริษัทที่เราจ่ายค่าใช้จ่ายออนไลน์ต่าง ๆ ให้เป็นบริษัทที่ดำเนินการอยู่ในต่างประเทศ ให้นำใบเสร็จรับเงินที่ได้รับไปยื่นแบบ ภ.พ.36 โดยชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแทนบริษัทที่เราจ่ายค่าใช้จ่ายให้ แล้วจะได้ใบเสร็จรับเงินจากสรรพากรมา ใบเสร็จรับเงินจากสรรพากรสามารถนำไปขอคืนภาษีซื้อ

โดยเมื่อเราไปยื่น ภ.พ.36 ให้เราคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากยอดค่าใช้จ่าย เช่น ค่าใช้จ่ายไป 1,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่มก็จะเท่ากับ 70 บาท



TIP: ค่าใช้จ่ายออนไลน์เหล่านี้สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้หรือไม่?

ถ้าเราได้เอกสารใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงินแบบเต็มรูปแบบมาและค่าใช้จ่ายนั้นเกี่ยวข้องกับบริษัทเรา ก็สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายบริษัทได้ (ยกเว้น ค่าใช้จ่ายนั้นเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามตามกฎหมายกำหนด) ส่วนค่าใช้จ่ายออนไลน์ที่จ่ายให้บริษัทต่างประเทศ หากเรามีใบเสร็จรับเงินจากบริษัทที่จ่ายค่าใช้จ่ายไป และดำเนินการยื่นแบบ ภ.พ.36 แล้วสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้เช่นกัน

และสิ่งสำคัญก็คือ อย่าละเลยที่จะยื่นแบบ ภ.พ. 36 เพราะจะมีโทษเหมือนกับกรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม นั่นคือเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม

The Institute of Effective Training for SMEs.

วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

เตรียมความพร้อมกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2563

เผลอแป๊บเดียวก็ผ่านไปครึ่งปีแล้ว เช่นเดียวกันกับกฏหมายภาษีที่ดิน ที่กำลังจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ในวันนี้ สถาบันคัสเม่จึงขอสรุปสาระสำคัญ ที่เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างควรทราบ และทำความเข้าใจว่าเราอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีที่ดิน ด้วยหรือไม่


เรามาทำความเข้าใจกับอัตราภาษี สำหรับที่ดินในแต่ละประเภทกันก่อนค่ะ


ที่ดินสำหรับการทำเกษตรกรรม 
(ทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์บก/น้ำ และอื่นๆตามที่ประกาศกำหนด)
มูลค่าที่ดิน 0-75 ล้านบาท >> อัตราภาษี 0.01%
มูลค่าที่ดิน 75-100 ล้านบาท >> อัตราภาษี 0.03%
มูลค่าที่ดิน 100-500 ล้านบาท >> อัตราภาษี 0.05%
มูลค่าที่ดิน 500-1,000 ล้านบาท >> อัตราภาษี 0.07%
มูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.10%

ยกเว้นภาษีบุคคลธรรมดา สำหรับมูลค่าที่ดิน 50 ล้านบาทแรก และยกเว้นการจัดเก็บภาษีกับบุคคลธรรมดาใน 3 ปีแรก ที่กฏหมายบังคับใช้

ที่ดินสำหรับการสร้างที่อยู่อาศัย

กรณีบ้านหลังหลัก บุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของที่ดิน+สิ่งปลูกสร้าง+มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
มูลค่าไม่ถึง 25 ล้านบาท >> อัตราภาษี 0.03%
มูลค่า 25-50 ล้านบาท >> อัตราภาษี 0.05%
มูลค่า 50 ล้านบาทขึ้นไป >> อัตราภาษี 0.10%

กรณีบ้านหลังหลัก บุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้าง+มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
มูลค่าไม่ถึง 40 ล้านบาท >> อัตราภาษี 0.02%
มูลค่า 40-65 ล้านบาท >> อัตราภาษี 0.03%
มูลค่า 65-90 ล้านบาท >> อัตราภาษี 0.05%
มูลค่า 90 ล้านบาทขึ้นไป >> อัตราภาษี 0.10%

กรณีบ้านหลังอื่นๆ
มูลค่าไม่ถึง 50 ล้านบาท >> อัตราภาษี 0.02%
มูลค่า 50-75 ล้านบาท >> อัตราภาษี 0.03%
มูลค่า 75-100 ล้านบาท >> อัตราภาษี 0.05%
มูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป >> อัตราภาษี 0.10%

กรณีบ้านหลังหลักที่เป็นเจ้าของบ้านและเจ้าของที่ดิน (เจ้าของบ้านอาศัยอยู่เอง) ได้รับการยกเว้นภาษี  50 ล้านบาทแรก ส่วนกรณีเป็นเจ้าของเฉพาะบ้านอย่างเดียว (บ้านเจ้าของอยู่เองบนที่ดินเช่า) จะได้รับการยกเว้นภาษี 10 ล้านบาทแรก

ที่ดินที่ใช้ในกลุ่มพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม
มูลค่าที่ดิน 0-50 ล้านบาท >> อัตราภาษี 0.3%
มูลค่าที่ดิน 50-200 ล้านบาท >> อัตราภาษี 0.4%
มูลค่าที่ดิน 200-1,000 ล้านบาท >> อัตราภาษี 0.5%
มูลค่าที่ดิน 1,000-5,000 ล้านบาท >> อัตราภาษี 0.6%
มูลค่าที่ดินเกิน 5,000 ล้านบาท >> อัตราภาษี 0.7%

ที่ดินที่ไม่ได้ใช้ทำประโยชน์ เพดานภาษีสูงสุด 1.2% 
แต่จะเพิ่มเพดานเป็น 3% เมื่อปล่อยทิ้งว่างติดต่อกัน 3 ปี
มูลค่าที่ดิน 0-50 ล้านบาท >> อัตราภาษี 0.3%
มูลค่าที่ดิน 50-200 ล้านบาท >> อัตราภาษี 0.4%
มูลค่าที่ดิน 200-1,000 ล้านบาท >> อัตราภาษี 0.5%
มูลค่าที่ดิน 1,000-5,000 ล้านบาท >> อัตราภาษี 0.6%
มูลค่าเกิน 5,000 ล้านบาท >> อัตราภาษี 0.7%

และถ้าหากปล่อยร้างเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน จะถูกเก็บภาษีเพิ่มอีก 0.3% 
ในปีที่ 4 และถูกเก็บเพิ่มขึ้น 0.3% ทุกๆ 3 ปี หากยังไม่ได้มีการนำมาใช้ประโยชน์ แต่สูงสุดไม่เกิน 3%

ทั้งนี้ อัตราการเก็บภาษีตามมูลค่าแบบขั้นบันได จะบังคับใช้ใน 2 ปีแรก (2563-2564) ส่วนปีต่อไปจะพิจารณาเก็บตามอัตราเพดานสูงสุดอีกที

ในบทความหน้า เราจะมาอัพเดตกันต่อเนื่องในเรื่องของวิธีการคำนวณภาษีที่ดินกันค่ะ



The Institute of Effective Training for SMEs.

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

เปิดคำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้องกับการประมาณการกำไรขาดทุน


LIVE สดส่งตรงจากสถาบันคัสเม่ กับวันนี้ในประเด็นการเปิดคำพิพากษาศาลฎีกา! กับ อ.ดำริ ดวงนภา




กรณีประมาณการกำไรขาดไปเกิน 25%
🚩 ประเด็นของเงินเพิ่มจะมีอะไรบ้าง และ
🚩 ภาษีหัก ณ ที่จ่าย นำมาใช้ในการคำนวณ ไม่ได้จริงหรือ?
ขอเรียนเชิญผู้ประกอบการ & นักบัญชีทุกท่าน ติดตามรับชมพร้อมกันได้ที่นี่ค่ะ


สถาบันคัสเม่: The Institute of Effective Training for SMEs

วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

การลงทุนในระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่จ่าย 1 แต่หักได้ถึง 2 เท่า!!

การลงทุนในระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ 
ที่จ่าย 1 แต่หักได้ถึง 2 เท่า!!


ตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 683 พ.ศ.2562 ว่าด้วยเรื่องการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งใช้บังคับเมื่อ 13 มิถุนายน 2562 ผู้ประกอบการที่ได้ลงทุนในระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ระบบนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ระบบชำระเงิน หรือเครื่องบันทึกการเก็บเงิน สามารถนำค่าใช้จ่ายมาหักได้ 2 เท่า และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตั้งแต่ 30 เมษายน - 31 ธันวาคม 2562

ทั้งนี้ สำหรับเงื่อนไขในการนำค่าใช้จ่ายมาลงรายจ่าย 2 เท่า มีรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้

>> เป็นค่าใช้จ่ายที่จ่ายไป ตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย. 62 - 31 ธ.ค. 62
>> จ่ายเพื่อการลงทุนในระบบการจัดทำเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ การจัดซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เก็บใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อื่นใดที่ใช้ร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์
>> มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการจัดทำ ส่งมอบ หรือเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับกิจการของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น
>> เป็นรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี(5) แห่งประมวลรัษฎากร
>> ไม่ใช้บังคับกับรายจ่ายของผู้ให้บริการนำส่ง ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการขายหรือการให้บริการแก่บุคคลอื่น
>> บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีเงินได้ หรือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 3 ปัณรส แห่งประมวลรัษฎากร และผู้ให้บริการการชำระเงิน ตามกฏหมายว่าด้วยระบบการชำระเงิน
>> เพื่อการลงทุนในระบบการนำส่งภาษี การจัดซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เก็บใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อื่นใด ที่ใช้ร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์
>> โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์ในการนำส่งภาษี สำหรับกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น

คุณสมบัติของทรัพย์สินที่ลงทุนแล้วสามารถนำมาใช้สิทธิได้

>> ไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน
>> เป็นทรัพย์สินที่นำมาหักค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินได้ ตามมาตรา 65 ทวิ(2) โดยทรัพย์สินนั้นต้องได้มา และอยู่ในสภาพพร้อมใช้การได้ตามวัตถุประสงค์ภายในวันที่ 31 ธ.ค.63
>> อยู่ในราชอาณาจักร
>> นำมาใช้งานเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 รอบระยะเวลาบัญชีติดต่อกันนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่ได้มาและพร้อมใช้งาน
>> ไม่เป็นทรัพย์สินที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้น ตามพระราชกฤษฎีการ
อื่นที่ออกตามความในประมวลรัษฎากร ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
>> ไม่เป็นทรัพย์สินที่นำไปใช้ในกิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามกฏหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
>> จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย.62-31 ธ.ค.62
>> เป็นค่าบริการใช้พื้นที่เก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ค่าบริการใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ และค่าบริการที่จ่ายให้แก่ผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
>> เพื่อประโยชน์ในการจัดทำ ส่งมอบ หรือเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น
>> ไม่ใช้บังคับกับรายจ่าของผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อการขายหรือการให้บริการแก่บุคคลอื่น
>> บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
>> เพื่อการลงทุนในเครื่องบันทึกการเก็บเงิน สำหรับกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร

สถาบันคัสเม่
The Institute of Effective Training for SMEs

วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ในเรื่อง กำหนดเหตุอันสมควรกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล "ไม่ต้องยื่นรายการภาษีอากรทุกประเภทภาษี" ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตามกฎหมายว่าด้วยการยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
ในเรื่องกำหนดเหตุอันสมควรกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล 
"ไม่ต้องยื่นรายการภาษีอากรทุกประเภทภาษี"
ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตามกฎหมายว่าด้วยการยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร

ซึ่งเข้าใจง่ายๆก็คือ นิติบุคคลที่ได้จดทะเบียนขอใช้สิทธิตามพรบ.ยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญาฯ พ.ศ.2562 ยังคงได้รับสิทธิยกเว้นเบี้ยปรับ ฯลฯ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ยื่นแบบทางเน็ต หรือผ่านทางระบบ RD e-Filing ในช่วง 1 ปี ต่อจากนี้ (1 ก.ค.62 - 30 มิ.ย.63) กรณีเข้าเงื่อนไขตามที่ท่าน อ.ดำริ ดวงนภา ได้ชี้แจง ผ่านประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เมื่อวันที่ 28 มิถุนายนค่ะ
ถ้าพร้อมแล้ว เราไปติดตามรับฟังรายละเอียดดีดีนี้ด้วยกันนะคะ


สถาบันคัสเม่: The Institute of Effective Training for SMEs.


ท่านสามารถดาวน์โหลดประกาศได้ที่นี่ค่ะ DOWNLOAD

========KASME NEXT SEMINAR========
11 JULY 2019@โรงแรมแทมมารินด์ การ์เด้น จ.ระยอง
📞โทร.(033)650-891-2
LINE: KASMETHAI
*รับเพียง 20 ท่านเท่านั้น*
+++หลักสูตรนี้เราจัดทั้งในรูปแบบ Class Room & Online Learning Class+++