สวัสดี ชาวสถาบันคัสเม่ค่ะ
วันนี้สถาบันคัสเม่ ขอนำเสนอหนังสือที่น่าสนใจสำหรับการทำความเข้าใจกับงบการเงินฉบับภาษาอังกฤษ ซึ่งมีชื่อว่า "Understanding Financial Statements" โดยผู้เขียน Joseph T. Straub ประเด็นที่น่าสนใจมากนั้น ได้ถูกกล่าวไว้ในบทที่ 4 ว่าด้วยเรื่องของความสำคัญของงบกระแสเงินสด เมื่ออ่านแล้วค่อนข้างเข้าใจง่าย ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของ "กระแสเงินสด" ได้ค่อนข้างชัดเจน และที่สำคัญ ไม่น่าเบื่ออย่างที่คิดค่ะ
ซึ่งในวันนี้ ทางสถาบันขอหยิบยกประเด็นที่น่าสนใจจากบทความบางส่วนของบทนี้ เพื่อผู้อ่านชาวสถาบันคัสเม่ทุกท่านค่ะ
CHAPTER 4
ทำความเข้าใจกับงบกระแสเงินสด
ที่มา: Understanding Financial Statements by Joseph T. Straub
ถ้ากระแสไหลออก "มากกว่า" กระแสไหลเข้า ความพยายามของคุณกำลังล้มเหลว ไปเรื่อย ๆ
-นิรนาม-
.
“และตอนนี้พวกเรากำลังทำความเข้าใจเกี่ยวกับมัน” สตีฟวี่ ผู้จัดการบริษัท Agile ได้กล่าวพร้อมกับถูมือทั้งสองข้างของเขาไปพร้อมๆกัน “กระแสเงินสด.. ถ้ากระแสเงินสดของเราแข็งแรง มันจะช่วยป้องกันปัญหาหลายๆอย่างได้”
“ผมไม่เข้าใจ ไม่ใช่ว่าทุกบริษัทจะมีเงินจำนวนมากไหลเข้า-ออก จากบริษัทอยู่แล้วหรือ”
“ใช่ แต่กระแสเงินสดในความเป็นจริงนั้น จะเน้นถึงกระแสเงินที่ไหลเข้ามากกว่ากระแสที่ไหลออก มันหมายถึงคุณมีเงินสดในธนาคารเพื่อจ่ายบิล เงินลงทุนเพื่อการก่อตั้งธุรกิจ เพื่อซื้อถุงเท้า และเพื่อสิ่งอื่นๆ อีกมากมาย - ไม่สำคัญว่าเสตทเม้นท์ของคุณจะโชว์รายได้และกำไรของคุณ เท่าไหร่และอย่างไร” สตีฟวี่ได้ตอบกลับ
“ครั้งหนึ่งฉันเคยทำงานกับบริษัทที่ไม่ได้ทำกำไรติดต่อกัน 5 ปี” สตีฟวี่กล่าว “แต่เจ้าของบริษัท ก็ไม่เคยพลาดทริปไปเที่ยวเกาะเบอร์มิวด้าสักปี และเธอยังเช่าซื้อรถเบนซ์ในทุกๆ 2 ปี และพวกเรายังได้รับรายได้จำนวนมาก พร้อมกับอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกครบครันเพื่อใช้ในการทำงาน”
"เธอทำได้อย่างไร ??" สตีฟรีบตั้งคำถามกลับอย่างตื่นเต้น
“กระแสเงินสดที่ยอดเยี่ยม เธอมีความฉลาดมากในการจัดการกระแสเข้า-ออกของรายได้ เมื่อเธอพบว่ามีสินค้าใดของเธอที่ขายได้ดี เธอจะนำเงินจำนวนมากมาทำการลงทุนในส่วนของ R&D และการพัฒนาสินค้าของเธอ อย่างไรก็ตาม หากผลลัพธ์ไม่แสดงการเปลี่ยนแปลงใดๆ เธอจะลดจำนวนเงินการลงทุนในส่วนนั้นลงสักพักและตัดค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องออก พร้อมกันนี้เธอยังมีนักบัญชีที่ชาญฉลาดผู้ซึ่งรู้วิธีที่จะกระจายความเสี่ยง เช่นเดียวกันกับทริคอื่นๆ และทั้งหมดล้วนถูกต้องตามกฏหมายทั้งสิ้น พร้อมทั้งยังสามารถช่วยสร้างผลกำไรให้เกิดขึ้นได้อีกครั้ง”
และนี่คือเหตุผลหลัก ว่าทำไมกิจการควรมีความเข้าใจในกระแสเงินสดของตน
The Agile Manager's Checklist
(เช็คลิสต์ของผู้จัดการบริษัท อาไจล์: ว่าด้วยเรื่องของงบกระแสเงินสด)
1. งบกระแสเงินสด คือ การแสดงยอดเงินสดคงเหลือของกิจการนับตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป และจะแสดงเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ต่อเนื่องทุกปี
2. งบกระแสเงินสด จะแสดงกระแสเงินสดสุทธิ จากกิจกรรมดังนี้
#กิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมหลักเพื่อการดำเนินธุรกิจของกิจการแต่ละประเภท
#กิจกรรมการลงทุน เช่น การลงทุนซื้ออุปกรณ์ใหม่ การขายอุปกรณ์ที่หมดอายุการใช้งานหรือไม่ใช้แล้วออกไป
#กิจกรรมจัดหาเงิน เช่น การขายหุ้นหรือพันธบัตร การจ่ายเงินปันผล
#กิจกรรมการลงทุน เช่น การลงทุนซื้ออุปกรณ์ใหม่ การขายอุปกรณ์ที่หมดอายุการใช้งานหรือไม่ใช้แล้วออกไป
#กิจกรรมจัดหาเงิน เช่น การขายหุ้นหรือพันธบัตร การจ่ายเงินปันผล
3. กำไรสุทธิที่แสดงในงบกำไรขาดทุน #จะยิ่งลดลงเมื่อกิจการนำค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์มาปรับปรุงหักออก แต่นั่นไม่ได้แสดงว่าเงินสดของกิจการจะลดลงไปด้วย
4. ภาพอนาคตของกิจการนั้น เราสามารถสังเกตุได้จาก พฤติกรรมการจ่ายออกหรือการลงทุน #สำหรับกิจกรรมดำเนินงาน ซึ่ง เป็นกิจกรรมหลักของกิจการในแต่ละประเภท
เกร็ดความรู้อื่นๆที่น่าสนใจ
#TIP1
งบกำไรขาดทุนและงบแสดงฐานะการเงิน ไม่สามารถบอกสถานภาพทางการเงิน เช่น สภาพคล่องของกิจการได้มากนัก
งบกำไรขาดทุนและงบแสดงฐานะการเงิน ไม่สามารถบอกสถานภาพทางการเงิน เช่น สภาพคล่องของกิจการได้มากนัก
#TIP2
เมื่อคุณรู้วิธีการอ่านและใช้งบกระแสเงินสด คุณสามารถเห็นแนวโน้มล่วงหน้าได้ใน “หลายเดือน” ว่าเมื่อไหร่ที่กิจการของคุณจะมีแนวโน้มที่เงินสดจะเพิ่มมากขึ้น หรือ เงินสดของกิจการกำลังลดลง หรือกำลังจะถึงจุดที่เรียกว่า “ขาดเงิน” ก่อนที่เหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นจริง
เมื่อคุณรู้วิธีการอ่านและใช้งบกระแสเงินสด คุณสามารถเห็นแนวโน้มล่วงหน้าได้ใน “หลายเดือน” ว่าเมื่อไหร่ที่กิจการของคุณจะมีแนวโน้มที่เงินสดจะเพิ่มมากขึ้น หรือ เงินสดของกิจการกำลังลดลง หรือกำลังจะถึงจุดที่เรียกว่า “ขาดเงิน” ก่อนที่เหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นจริง
#TIP3
บริษัทใดที่มีกระแสเงินสดเข้า ที่ส่วนใหญ่มาจากกิจกรรมจัดหาเงิน "เป็นหลัก" (เช่น การขายหุ้นหรือขายพันธบัตร) สามารถชี้ให้เห็นถึงปัญหาทางด้านการเงิน หรือการขาดสภาพคล่องของกิจการได้ชัดเจน
บริษัทใดที่มีกระแสเงินสดเข้า ที่ส่วนใหญ่มาจากกิจกรรมจัดหาเงิน "เป็นหลัก" (เช่น การขายหุ้นหรือขายพันธบัตร) สามารถชี้ให้เห็นถึงปัญหาทางด้านการเงิน หรือการขาดสภาพคล่องของกิจการได้ชัดเจน