วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2562

อยากจะหารายได้จากการขายของออนไลน์ ต้องรู้ภาษีอะไรบ้าง?

อยากจะหารายได้เสริม หรือ รายได้หลักจากการขายของออนไลน์ ต้องรู้ภาษีอะไรบ้าง?

ภาษีกับการขายของออนไลน์ ไม่เคยรู้ ไม่เคยศึกษามาก่อน วันนี้สถาบันคัสเม่ มีข้อมูลดีดีมาให้ทุกท่านได้ติดตามกันค่ะ

สิ่งแรกที่เราจะต้องรู้คือ การขายของออนไลน์ โดยส่วนใหญ่จะแบ่งประเภทการขายออกมาได้เป็น 2 กลุ่ม 
1.แบบจดทะเบียนในรูปแบบบริษัท
2.แบบบุคคลธรรมดา

ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วนั้น ลักษณะการขายของออนไลน์ในบ้านเราจะอยู่ในรูปของบุคคลธรรมดา โดยสิ่งสำคัญต่อมาที่เราจะต้องศึกษาคือ "ภาระทางด้านภาษี" ว่าการทำการค้าในลักษณะนี้ จะต้องเสียภาษีประเภทใดบ้าง

#NOTE
ขายของออนไลน์ในรูปบุคคลธรรมดา = เสียภาษีที่จัดอยู่ในกลุ่มผู้มีเงินได้ประเภท 8 คือ "เงินได้จากการค้าขาย"

โดยช่วงเวลาในการยื่นภาษีกรณีมีเงินได้ประเภท 8 "เงินได้จากการค้าขาย" มี 2 ช่วงคือ
ยื่นภาษีสิ้นปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90) ช่วงเดือน ม.ค.-มี.ค. >> สรุปรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา
ยื่นภาษีกลางปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94) ช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย. >> สรุปรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีภาษีแรก (ม.ค.-มิ.ย. ของปีปัจจุบัน)

#โดยที่ค่าลดหย่อนบางรายการจะถูกหักเหลือครึ่งหนึ่งด้วย 

การคำนวณภาษีร้านค้าออนไลน์ ในรูปของร้านค้าบุคคลธรรมดา
(รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย 

โดยค่าใช้จ่าย ที่นำมาคิดภาษีสำหรับร้านค้าออนไลน์ มีดังนี้คือ
1.หักค่าใช้จ่ายตามอัตรา 60% สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่ซื้อมา ขายไป ไม่ได้ผลิตเอง
2.หักค่าใช้จ่ายตามจริง สำหรับร้านค้าที่ผลิตสินค้าเอง

และสิ่งที่จะต้องทำในขั้นตอนต่อมาคือ การคำนวณภาษีขั้นต่ำ พันละ 5 บาท โดยหลังจากที่ได้ผลลัพธ์ให้เปรียบเทียบกับผลลัพธ์จากการคำนวณตามข้อ 1 หรือ ข้อ 2

วิธีการคำนวณภาษีขั้นต่ำที่สรรพากรจัดเก็บ "พันละ 5 บาท"
รายได้ x 0.005 = ภาษีขั้นต่ำ

กรณีภาษีขั้นต่ำที่คำนวณได้ หากสูงกว่า ข้อ 1 หรือ ข้อ 2 ให้นำภาษีดังกล่าวไปเสียภาษี 
#แต่ทั้งนี้ถ้าคำนวนแล้วไม่ถึง 5,000 บาท ก็ไม่ต้องเสียค่ะ

เมื่อทราบอย่างนี้แล้ว ร้านค้าออนไลน์ในรูปบุคคลธรรมดาควรเตรียมตัว ก่อนที่จะมีการยื่นภาษีในช่วงกลางปีนี้ ด้วยนะคะ




---------NEXT SEMINAR----------
สัมมนาติดปีกกับหลักสูตรการประมาณการภาษีเงินได้กลางปี! กับสถาบันคัสเม่ 
พบโค้ชทางภาษีตัวจริง อ.ดำริ ดวงนภา!
Date:11July2019, Venue:Tamarind Garden Hotel Rayong, 1,000บาท/ที่นั่งเท่านั้น
ด่วน รับจำนวนจำกัด!! สำรองที่นั่งวันนี้ได้ทาง

วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2562

สรุปมาตรการภาษีสุดหรรษา กับ TAX CARNIVAL 2019 จากภาครัฐฯ

สรุปมาตรการภาษีสุดหรรษา กับ TAX CARNIVAL 2019 จากภาครัฐฯ

นับตั้งแต่การเลือกตั้งเสร็จสิ้น และพวกเราต่างก็ทราบกันแล้วกับนโยบายจากภาครัฐฯ ในด้านมาตรการทางภาษีต่างๆ ที่ถูกเปิดเผยออกมาจากหลากหลายสื่อ👩‍💼
ในวันนี้ สถาบันคัสเม่ขอนำสรุปมาตรการทางภาษีปี 2019 มาฝากกับทุกท่าน เพื่อการอัพเดตอีกครั้งกับมาตรการสุดหรรษา ให้พวกเราได้เลือกใช้สิทธิกันได้อย่างสนุกสนานค่ะ🍄
อ้างอิง: กรมสรรพากร
----------------------------------------------------
+++++++#KASMENextSeminar++++++
----------------------------------------------------
11 กรกฎาคมนี้ #หลักสูตรFASTTaxใน3ชั่วโมง!
📣ครบเครื่องเรื่องกฏหมายและการจัดทำ ภ.ง.ด 51📣
🌸สำรองที่นั่ง+อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง🌸https://forms.gle/H4iimoxB1aGisRNG9
ADD LINE: KASMETHAI
☎️(033) 650-892
#เรียนง่ายใช้ได้จริง #ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานบัญชีภาษี #หลักสูตรกิจการ



KASME: The Institute of Effective Training for SMEs.

วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ปิดงบเสร็จแล้ว มาลุยกันต่อกับประมาณการ ภ.ง.ด.51

ปิดงบเสร็จแล้ว มาลุยกันต่อกับประมาณการ ภ.ง.ด.51

ประมาณการใกล้เข้ามาแล้ว #นักบัญชี พร้อมกันหรือยัง😱

เผลอแป๊บเดียวก็ก้าวเข้าสู่กลางปีแล้ว และแน่นอนว่า อีก 1 สิ่งที่กำลังรอพวกเราอยู่หลังจากการปิดงบการเงิน นั่นก็คือ #การประมาณการกำไรขาดทุน หรือการยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 นั่นเอง👩‍💼

ในวันนี้ สถาบันคัสเม่ จึงขอนำความรู้ดีดีมาแบ่งปันกับทุกท่านเช่นเคย เพื่อต้อนรับสายฝนอันชุ่มฉ่ำ💦☂️ กับการเตรียมความพร้อมสำหรับการทำประมาณการ และเทคนิคพิเศษเล็กเล็ก🤓 จากบทความที่พวกเราได้เคยเผยแพร่ผ่านทางลิ้งค์ >>http://kasmethai.blogspot.com/2015/08/51.html ท่านใดที่ยังไม่เคยอ่าน อย่าลืมติดตามกันนะคะ🌿

แล้วพบกับพวกเราอีกครั้ง ในวันที่ 11 กรกฎาคมนี้ ณ โรงแรมแทมมารินด์การ์เด้น จังหวัดระยอง กับหัวข้อหลักสูตรสุดอินเทรนด์ของซีซั่น!! #ครบเครื่องเรื่องกฏหมายและการจัดทำภงด51 โดย ท่านอาจารย์ดำริ ดวงนภา แล้วพบกันค่ะ!

#KASME
สถาบันคัสเม่: The Institute of Effective Training for SMEs🔜www.kasmethai.com




สถาบันคัสเม่
The Institute of Effective Training for SMEs.


วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2562

บทสรุป: มาตรการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการจัดทำบัญชีให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ

"มาตรการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการจัดทำบัญชีให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ"


นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป งบการเงินที่ใช้เพื่อการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน #จะต้องเป็นงบเดียวกับที่ยื่นให้กรมสรรพากร เพื่อการพิจารณาการปล่อยกู้ ให้สินเชื่อเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้ มาตรการอีกฉบับหนึ่งจากกรมสรรพากร "พ.ร.บ. ยกเว้นเบี้ยปรับฯ" จึงได้ถูกกำหนดออกมาเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2562 เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการในการจัดทำงบการเงินให้ถูกต้อง สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง และสามารถนำไปใช้ยื่นเพื่อการขอสินเชื่อจากภาคสถาบันการเงินได้

จึงเห็นได้ว่า กรมสรรพากรได้มีการออกมาตรการมา 2 ฉบับแล้ว เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการจัดทำบัญชีเดียว โดยชุดแรกนั้นคือ "พ.ร.ก.ยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2558" และชุดที่สองคือ "พ.ร.บ.ยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการ เกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2562"

ซึ่งภาคกรมสรรพากร ก็ได้ออกมาเน้นย้ำว่า กฏหมายฉบับนี้ #จะเป็นฉบับสุดท้ายที่จะมีออกมา เพื่อให้สิทธิกับผู้ประกอบการ ที่ยังมีการทำบัญชีไม่ถูกต้อง ให้เข้ามาอยู่ในกลุ่มน้ำดีและจะได้รับสิทธิยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มและความรับผิดทางอาญา และยังส่งผลดีต่อการพิจารณาในด้านการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินในอนาคต

#โดยประเด็นที่กรมชี้แจงเพื่อความเข้าใจอย่างชัดเจน สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการลงทะเบียน จะมีอะไรบ้าง เราไปติดตามกันค่ะ





The Institute of Effective Training for SMEs.

วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2562

LIVE สด! หลักของศาลฎีกา & หลักของกรมสรรพากร กับประเด็นเกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย

เปิดประเด็นหลักของศาลฎีกา หลักของกรมสรรพากร 
เกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย


ท่านสามารถรับชมวิดิโอย้อนหลังได้ที่นี่ค่ะ


สถาบันคัสเม่
The Institute of Effective Training for SMEs

วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562

คุณอยู่ในกลุ่มธุรกิจบริการ ที่ต้องจด VAT หรือเปล่า?

คุณอยู่ในกลุ่มธุรกิจบริการ ที่ต้องจด VAT หรือเปล่า?

ปัจจุบัน ธุรกิจบริการได้เกิดขึ้นมากมายในประเทศ ตั้งแต่ไซส์ธุรกิจขนาดเล็ก กลาง ไปจนถึงใหญ่ แต่ก็มีผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อย ที่ยังมีข้อสงสัยว่า แล้วธุรกิจที่เราเปิดและดำเนินการอยู่ในทุกวันนี้ จำเป็นจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ โดยเฉพาะกับธุรกิจบริการขนาดเล็ก เช่น ร้านเสริมสวย, ร้านซักรีด, สปา, ถ่ายเอกสาร ฯลฯ

ในวันนี้ สถาบันคัสเม่ จะมาคลายข้อสงสัยและความกังวล ให้กับทุกท่านค่ะ


#1
ผู้ประกอบการ ต้องเข้าใจว่า
>> รายได้ที่จะนำมาคำนวณเพื่อเป็นเกณฑ์ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ >> ต้องไม่เป็นรายได้ที่มาจากกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ไม่ใช่กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 แห่งประมวลรัษฎากร เช่น การให้บริการวิจัย การให้บริการทางวิชาการ เป็นต้น)

#2
กรณีผู้ประกอบการเข้าข่ายทำธุรกิจที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องพิจารณาว่ารายรับ หรือรายได้ ที่จะนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องเป็นรายรับที่กิจการได้รับจริง (ไม่ใช่กำไรหลักหักค่าใช้จ่าย)

#3
หากกิจการใดมีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี (กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้นับเป็นแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี) ผู้ประกอบการของกิจการดังกล่าว ก็มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน "นับตั้งแต่วัน" ที่มูลค่าของฐานภาษีเกิน 1.8 ล้านบาท โดยการนับจำนวนมูลค่าของรายรับ ให้นับแต่ละปี หรือ แต่ละรอบระยะเวลาบัญชีเท่านั้น

กรณีที่เข้าเกณฑ์ที่จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 
#แต่ในทางปฏิบัติไม่ได้ทำตาม ผู้ประกอบการต้องรับผิดอย่างไร

#เด้ง1 เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จากส่วนที่เกิน 1.8 ล้านบาท
#เด้ง2 เสียเบี้ยปรับ 2 เท่า ของเงินภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษีตลอดระยะเวลาที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือเป็นจำนวนเงิน 1,000 บาทต่อเดือนภาษีแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
#เด้ง3 เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ

เราก็ทราบกันแล้วว่า หากเกิดข้อผิดพลาดหรือเจตนาที่จะไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการมีสิทธิโดนรับผิดถึง 3 เด้งด้วยกัน รู้แบบนี้แล้วนักบัญชีประจำกิจการ หรือตัวเจ้าของเอง สำหรับกิจการที่ยังไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ต้องระมัดระวังกันด้วยนะคะ

KASME
สถาบันคัสเม่: The Institute of Effective Training for SMEs
========NEXT SEMINAR========
20 & 21 มิถุนายนนี้ กับ 2 หลักสูตรใหม่จากสถาบันคัสเม่ CPD อบรมครบ 2 วัน นับชั่วโมงครบปี!!
สำรองที่นั่งก่อนเต็มทาง 


วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2562

มาทำความรู้จักกับภาษีซื้อต้องห้ามกันเถอะ

ภาษีซื้อต้องห้าม คืออะไร? 

คือ ภาษีซื้อที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่สามารถนำมาหักออกจากภาษีขาย ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ นำมาขอคืนภาษีซื้อ ซึ่งกฏหมายได้กำหนดลักษณะของภาษีซื้อต้องห้ามไว้ ในมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้


ลักษณะภาษีซื้อต้องห้าม

1.ไม่มีใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษีสูญหาย หรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้
>> ไม่มีใบกำกับภาษี เพราะผู้ขายหรือผู้ให้บริการไม่ออกใบกำกับให้ หรือออกใบกำกับภาษี แต่ ระบุชื่อบุคคลอื่น
>> ใบกำกับภาษีสูญหาย หรือ ไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้
#วิธีแก้ไข: กรณีเป็นการซื้อสินค้าหรือรับบริการจริง ให้ร้องขอใบแทนใบกำกับภาษีจากผู้ขายสินค้า/ผู้ให้บริการเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการนำภาษีซื้อไปหักออกจากภาษีขาย หรือ ขอคืนภาษีซื้อ

2.กรณีใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้อง หรือ ไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ตามที่กฏหมายกำหนด
>> ไม่ได้เป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป
>> ข้อความไม่สมบูรณ์ ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร

3.ภาษีซื้อ ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

4.ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน

5.ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี

6.ภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)

(1) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือรับโอนรถยนต์นั่ง* และรถยนต์โดยสาร** ที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน และภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้า หรือการรับบริการ ที่เกี่ยวข้องกับรถบนต์นั่ง และรถยนต์โดยสาร ที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฏหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต

(2) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ

(3) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อทรัพย์สินเพื่อใช้ หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
หรือภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

(4) ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคาร หรือ อสังหาริมทรัพย์อื่น เพื่อนำมาใช้ในกิจการของตนเอง ซึ่งเป็นกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อดังกล่าวมีสิทธินำมาหักออกจากภาษีขายได้ ต่อมาผู้ประกอบการได้ขายหรือให้เช่าอาคาร หรืออสังหาริมทรัพย์นั้น หรือนำไปใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน "3 ปี" นับแต่เดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ภาษีซื้อนั้นจะเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตั้งแต่ต้น

(5) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีเต็มรูป ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีรายการในใบกำกับภาษี
ไม่ได้พิมพ์หรือจัดทำขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ #กรณีจัดทำใบกำกับภาษีด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ

(6) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนดในใบกำกับภาษี ที่ไม่ได้จัดทำขึ้นด้วยวิธีการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

(7) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีรายการในใบกำกับภาษี เป็นสำเนา (copy) เป็นภาษีซื้อต้องห้าม แต่ไม่รวมถึงใบกำกับภาษี ที่ได้จัดทำรวมกับเอกสารทางการค้าอื่น ซึ่งมีจำนวนหลายฉบับ และใบกำกับภาษีมีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนามีข้อความว่า "เอกสารออกเป็นชุด" ปรากฏอยู่ด้วย
(8) ภาษีซื้อส่วนที่เฉลี่ยเป็นของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งได้คำนวณตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

(9) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้า หรือรับบริการ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนำมาใช้ หรือ จะใช้ในการประกอบกิจการทั้งประเภท ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ใช้สิทธิเลือกไม่นำภาษีซื้อทั้งหมดมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมีรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ  90 ของรายได้ของกิจการทั้งหมด

(10) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีเต็มรูป ซึ่งรายการได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นภาษีซื้อต้องห้าม เว้นแต่รายการซึ่งได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด

(11) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ หรือรับโอนรถยนต์ที่ไม่ใช้รถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสาร ที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฏหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ไม่ให้ใช้บังคับสำหรับการขายรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฏหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และการให้บริการเช่ารถยนต์ดังกล่าวของตนเองโดยตรง

(12) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีเต็มรูป ซึ่งมีรายการ ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรตามมาตรา 86/4 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ได้พิมพ์ขึ้นหรือจัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ กรณีจัดทำใบกำกับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับเป็นภาษีซื้อต้องห้าม  ไม่ให้ใช้บังคับสำหรับใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่ได้เปลี่ยนสถานะจากรัฐวิสาหกิจประเภทองค์การของรัฐ ตามที่มีกฏหมายจัดตั้ง ทั้งนี้เฉพาะใบกำกับภาษีที่ได้ออกในช่วงระยะเวลา ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด

หมายเหตุ
*รถยนต์นั่ง = รถเก๋ง หรือ รถยนต์ที่ออกแบบสำหรับเพื่อใช้สำหรับนั่งเป็นปกติวิสัย และรวมถึงรถยนต์ในลักษณะทำนองเดียวกัน เช่น รถยนต์ที่มีหลังคาติดต่อเป็นเนื้อเดียวกัน ในลักษณะถาวรด้านข้าง หรือด้านหลังคนขับมีประตูหรือหน้าต่าง และมีที่นั่ง ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีที่นั่งเท่าใด

**รถยนต์โดยสาร = รถตู้หรือรถยนต์ที่ออกแบบ เพื่อใช้ขนส่งคนโดยสารจำนวนมาก รวมทั้งรถยนต์ในลักษณะทำนองเดียวกัน


The Institute of Effective Training for SMEs
www.kasmethai.com
------------------------------------------------
+++++++Next Seminar++++++
------------------------------------------------
20-21 มิถุนายนนี้ #อบรมครบ2วัน CPD นับชั่วโมงครบปี!
🌸สำรองที่นั่ง+อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง🌸https://forms.gle/46J7NoF4JiMXhpPW8
🌸ขอรายละเอียดหลักสูตรพร้อมตารางอบรมฉบับเต็ม🌸
✅ADD LINE: KASMETHAI


วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2562

การรับรู้รายได้ ค่าใช้จ่าย กำไรหรือขาดทุน จากอัตราแลกเปลี่ยน

การรับรู้รายได้ ค่าใช้จ่าย กำไร หรือขาดทุน
กรณีที่มีผลต่างจากอัตราแลกเปลี่นในการแปลงค่าเงินตราต่างประเทศ เป็นเงินตราไทย


The Institute of Effective Training for SMEs

วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2562

หลักเกณฑ์ทางบัญชีและภาษีที่เกี่ยวข้องกับกิจการที่มีคู่ค้าต่างประเทศ

หลักเกณฑ์ทางบัญชีและภาษีที่เกี่ยวข้องกับกิจการ
ที่มีคู่ค้าต่างประเทศ


กิจการในไทยที่มีคู่ค้าทำธุรกิจอยู่ในต่างประเทศ สิ่งหนึ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ การทำธุรกรรมระหว่างกันโดยใช้อัตราสกุลเงินตราต่างประเทศ โดยการทำธุรกรรมร่วมกันนั้น ประเด็นหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้น ในด้านการรับรู้รายการทางบัญชีนั่นก็คือ จะเลือกสกุลเงินใด เพื่อใช้ในการรับรู้รายการ และใช้อัตราแลกเปลี่ยนจากธนาคารใด

อย่างไรก็ตามในทางบัญชี-ภาษี มีข้อกำหนดหลักเกณฑ์ในส่วนของ การแปลงค่างบการเงิน, การรับรู้หน่วยเงินตราต่างประเทศ, อัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้ และอื่นๆ ที่กิจการควรให้ความสำคัญ และนักบัญชีควรทราบ

ทางบัญชี:
>> นำมาตรฐานการบัญชีมาเป็นข้อกำหนดวิธีแปลงค่างบการเงิน
>> รับรู้หน่วยเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย ในการนำเสนองบการเงิน
>> ใช้อัตราแลกเปลี่ยนธนาคารพาณิชย์ หรือธนาคารแห่งประเทศไทย

ทางภาษี:
>> โฟกัสในด้านการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
>> การปรับปรุงกำไร/ขาดทุนทางบัญชี เป็นกำไร/ขาดทุนทางภาษี ให้นำหลักเกณฑ์ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
>> การคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เป็นเงินตราไทย ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กระทรวงการคลังประกาศทุกสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

โดยกรมสรรพากร ได้มีการนำเสนอมาตรการกำหนดให้บริษัท และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถใช้สกุลเงินตราต่างประเทศ ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ โดยหลักเกณฑ์และสาระสำคัญท่านสามารถอ่านต่อได้ที่นี่ค่ะ click >> http://kasmethai.blogspot.com/2019/06/blog-post_34.html

ที่มา: กรมสรรพากร


The Institute of Effective Training for SMEs
www.kasmethai.com
------------------------------------------------
+++++++Next Seminar++++++
------------------------------------------------
20-21 มิถุนายนนี้ #อบรมครบ2วัน CPD นับชั่วโมงครบปี!
🌸สำรองที่นั่ง+อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง🌸https://forms.gle/46J7NoF4JiMXhpPW8
🌸ขอรายละเอียดหลักสูตรพร้อมตารางอบรมฉบับเต็ม🌸
ADD LINE: KASMETHAI



หลักเกณฑ์และสาระสำคัญในการใช้สกุลเงินตราต่างประเทศในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล

หลักเกณฑ์และสาระสำคัญ ที่กรมสรรพากรได้มีการนำเสนอมาตรการกำหนดให้บริษัท และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ต้องการใช้สกุลเงินตราต่างประเทศ


กำหนดให้บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ใช้เงินตราสกุลอื่น ที่ไม่ใช่เงินไทย แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร เพื่อใช้สกุลเงินตราดังกล่าว

1.สำหรับจัดทำงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน หรือ บัญชีรายรับก่อนหักรายจ่าย
2.สำหรับการคำนวณกำไรสุทธิ หรือยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ รวมถึงการคำนวณภาษีเงินได้ที่ต้องชำระ หรือต้องชำระเพิ่มเติม หรือได้รับคืน รวมถึงการคำนวณเบี้ยปรับ/เงินเพิ่ม และการปฏิบัติการอื่นใด ของเจ้าพนักงานประเมินกับบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

กำหนดหลักเกณฑ์ในการคำนวณค่า หรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หนี้สิน และรายการอื่นๆ 

สำหรับงบการเงินในวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ก่อนรอบระยะเวลาบัญชีที่ใช้สกุลเงินอื่น นอกจากเงินตราไทยเพื่อให้มีหลักเกณฑ์ใช้บังคับ

กำหนดหลักเกณฑ์ในการคำนวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สิน

ที่เหลืออยู่ในวันสุดท้าย ของรอบระยะเวลาบัญชี และที่รับมา หรือจ่ายไปในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ใช้เงินตราสกุลอื่น เป็นสกุลเงินที่ใช้ในการดำเนินงาน เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชี และมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ #และเมื่อใช้วิธีการใด ให้ใช้วิธีการนั้นตลอดไป จนกว่าจะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร จึงจะเปลี่ยนแปลงได้

โดยเกณฑ์ในการคำนวณ ท่านสามารถอ่านต่อได้โดยคลิ๊กที่นี่ค่ะ >>> http://kasmethai.blogspot.com/2019/06/blog-post_3.html

กำหนดการชำระภาษีและการคืนเงินภาษี

ในกรณีของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ใช้เงินตราสกุลอื่น ให้เปลี่ยนมาใช้เงินตราไทย --> โดยให้คำนวณค่าตามอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อ และอัตราขายของธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ในวันทำการสุดท้าย ก่อนวันชำระภาษี หรือก่อนวันที่ผู้มีอำนาจอนุมัติให้คืนเงินภาษี เพื่อให้สอดคล้องกับอัตราแลกเปลี่ยนตามความเป็นจริง ในวันที่มีการชำระภาษี หรือได้รับคืนเงินภาษี

กำหนดให้ผลกำไร หรือ ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้น จากการเปลี่ยนสกุลเงินที่ใช้ในการดำเนินงาน

หรือจากการคำนวณค่าของสกุลเงิน ที่ใช้ในการดำเนินงานเป็นเงินตราไทย เพื่อชำระภาษีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ใช้เงินตราสกุลอื่น เป็นสกุลเงินที่ใช้ในการดำเนินงาน ไม่ให้นำมาถือเป็นรายได้ หรือรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ หรือขาดทุนสุทธิ

The Institute of Effective Training for SMEs

------------------------------------------------
+++++++Next Seminar++++++
------------------------------------------------
20-21 มิถุนายนนี้ #อบรมครบ2วัน CPD นับชั่วโมงครบปี!
สำรองที่นั่ง+อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง https://forms.gle/46J7NoF4JiMXhpPW8
ขอรายละเอียดหลักสูตรพร้อมตารางอบรมฉบับเต็ม
ADD LINE: KASMETHAI


หลักเกณฑ์ในการคำนวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หรือ หนี้สิน สำหรับมูลค่าหรือราคาที่ใช้สกุลเงินตราต่างประเทศ

หลักเกณฑ์ในการคำนวณค่าหรือราคาของเงินตรา 
ทรัพย์สิน หรือ หนี้สิน สำหรับมูลค่าหรือราคา
ที่ใช้สกุลเงินตราต่างประเทศ

กรมสรรพากร ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการคำนวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หรือ หนี้สิน สำหรับมูลค่าหรือราคาที่ใช้สกุลเงินตราต่างประเทศ โดย การคำนวณค่า หรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้เลือกวิธีการคำนวณ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

1. อัตราถัวเฉลี่ย ระหว่างอัตราซื้อและอัตราขาย ของธนาคารพาณิชย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ แต่ในกรณีมีส่วนใดที่ไม่อาจคำนวณตามอัตราดังกล่าว ให้ขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากร เพื่อใช้อัตราอื่นเฉพาะส่วนนั้นได้

2. ใช้อัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ คำนวณค่าของทรัพย์สินเป็นเงินตราไทย และอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขาย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ คำนวณค่าหนี้สินเป็นเงินตราไทย

3. ใช้วิธีการอื่น ซึ่งสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ตามวิชาชีพการบัญชีประกาศ และกำหนดไว้

สำหรับการคำนวณค่า หรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินที่รับมา หรือจ่ายไปในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี ให้คำนวณค่าหรือราคา ตามราคาตลาดในวันที่รับมาหรือจ่ายไป

ที่มา: กรมสรรพากร


The Institute of Effective Training for SMEs

==========NEXT SEMINAR!==========