วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ซื้อ 1 แถม 1 โปรร้อนสำหรับ 10 ท่านแรกที่จองสัมมนา "ติดอาวุธทางปัญญา พิชิตปัญหาประมวลรัษฎากร (ตอน VAT)"

ติดอาวุธทางปัญญา 
พิชิตปัญหาประมวลรัษฎากร (ตอน VAT)

โปรโมชั่นจัดด่วน เฉพาะ 10 ท่านแรกที่สำรองที่นั่งหลักสูตร "ติดอาวุธทางปัญญา พิชิตปัญหาประมวลรัษฎากร (ตอน VAT)" ผ่านทางลิ้งค์นี้ https://goo.gl/forms/IcQC9veOdLNHocVI3 รับสิทธิซื้อ 1 แถม 1 ทันที!!! 🔥จองที่นั่งด่วนวันนี้ก่อนสิทธิ์หมดนะคะ🔥 ห
งานสัมมนาภาษีมูลค่าเพิ่ม พบกับกูรูด้านภาษีประสบการณ์ยาวนานกว่า 30 ปี กับหลากประเด็นด้านภาษีมูลค่าเพิ่มที่สำคัญต่อกิจการและนักบัญชี อาทิเช่น
🚩 เรียนรู้ความหมายพร้อมเจาะประเด็นภาษีซื้อ
🚩 รู้ชัดกับใบกำกับภาษีปลอม พร้อมข้อสังเกตุ
🚩 จุดความรับผิดทางภาษี "TAX POINT"เกิดขึ้นเมื่อไหร่ ใครต้องรับผิดชอบ
🚩 ประเภทการขายแบบ "NON VAT"
🚩 พบกรณีศึกษาแบบเข้าใจง่าย และปรับใช้งานได้จริง พร้อมเปิดโอกาสซักถามทางด้านภาษีกับท่านอาจารย์อย่างใกล้ชิด ก่อนใครที่นี่และที่เดียว@โรงแรมสัตหีบนาวี, จังหวัดชลบุรี
❆ หลักสูตรนี้สามารถนับชั่วโมง CPD ได้ 6 ชั่วโมงอื่น
❆ ทุกที่นั่งมีคู่มือแจกพร้อม CD เฉพาะกิจด้านภาษีสำหรับท่านที่เข้ารับการอบรมในรอบนี้เท่านั้น
❆ ที่นั่งมีจำนวนจำกัด รับเพียง 30 ท่านเท่านั้น
#Course: ติดอาวุธทางปัญญาพิชิตปัญหาประมวลรัษฎากร, (ตอน VAT)
#Date & Time: ศุกร์ที่ 23 พ.ย.2561.
#Speaker: อ.ดำริ ดวงนภา, (Tax Auditor)
#Venue: SATTAHIP NAVY HOTEL
#CPA&CPD สามารถนับชั่วโมงอื่นได้ 6.00 ชั่วโมง
#Price: 2,140 บาท **โปรโมชั่น**: สำรองที่นั่งและชำระเงินภายใน 16/11/61 ลดเหลือเพียง 1,926 บาท (ราคานี้รวมทุกอย่างแล้ว, ก่อน VAT = 1,800 บาท) +++พร้อมสิทธิซื้อ 1 แถม 1 ทันทีสำหรับท่านที่สำรองที่นั่ง 10 ท่านแรก+++
#Tel & Fax: (033)650-891-2, Website: www.kasmethai.com










เรื่องน่ารู้ของภาษีมูลค่าเพิ่ม: กรณีที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ประสงค์จะขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว ต้องทำอย่างไร?

เรื่องน่ารู้ของภาษีมูลค่าเพิ่ม: 
กรณีที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ประสงค์จะขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว ต้องทำอย่างไร?

วันนี้กลับมาอีกครั้งกับหัวข้อน่าขบคิดทางด้านภาษีมูลค่าเพิ่ม กับประเด็นที่ว่า "ถ้าในกรณีเราเป็นผู้ประกอบการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วอยากจด VAT เป็นการชั่วคราว จะทำได้หรือไม่ ? และต้องทำอย่างไร ?" วันนี้สถาบันคัสเม่ มีคำตอบให้ท่านแล้วค่ะ



กรณีได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ประสงค์ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว

1. กรณีผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายสามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ (เฉพาะกิจการตามที่กฎหมายกำหนด) โดยยื่นคำขอแจ้งขอใช้สิทธิเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01.1) และยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) พร้อมเอกสารประกอบ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้ยื่น ภ.พ.01.1

2.กรณีผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร (บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และมิได้มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศไทย) และเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้า หรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราวมีกำหนดเวลาในการประกอบกิจการในราชอาณาจักรเกิน 1 ปีแต่ไม่เกิน 3 ปี(ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 43)) มีสิทธิขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราวโดยยื่นแบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01.2) พร้อมเอกสารประกอบ ดังนี้

 (1) ภาพถ่ายหนังสือตั้งตัวแทนเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งมีการรับรองโดยสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือบุคคลอื่นที่ได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมสรรพากร (กรณีผู้ประกอบกิจการที่อยู่นอกราชอาณาจักร มีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักรเป็นผู้ยื่นคำขอฯ แทน)

 (2) กรณีมอบอำนาจ ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ พร้อมหนังสือมอบอำนาจ

 (3) ภาพถ่ายเอกสารการดำเนินกิจการร่วมค้า (ถ้ามี)

 (4) ภาพถ่ายสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ (กรณีเช่า) หรือภาพถ่ายหนังสือยินยอมให้ใช้เป็นที่ตั้งสถานประกอบการ (กรณีเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ให้ใช้อสังหาริมทรัพย์นั้น โดยไม่มีค่าตอบแทน)

 (5) แผนที่ซึ่งแสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขป พร้อมภาพถ่ายสถานประกอบการนั้น

 (6) ภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบธุรกิจ (กรณีเป็นนิติบุคคลตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการในประเทศไทย)


 (7) ภาพถ่ายสัญญา หรือโครงการที่แสดงถึงคู่สัญญา มูลค่าของสัญญา ระยะเวลาของสัญญา หรือโครงการที่เริ่มต้นและสิ้นสุด

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ที่ไหน?

การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.01 ณ สถานที่ดังต่อไปนี้

1 กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือ จะยื่นผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เขต) ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
2 กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่ในจังหวัดอื่นนอกเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (อำเภอ) ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
3 กรณีมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนได้ที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เขต/อำเภอ) ที่ซึ่งสถานประกอบการที่เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ หากไม่มีสถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ ให้ผู้ประกอบการเลือกสถานประกอบการแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นสำนักงานใหญ่
4 กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่ในท้องที่ตั้งใหม่ ที่ยังไม่มีสำนักงานสรรพากรตั้งอยู่ ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เขต/อำเภอ) ที่เคยควบคุมท้องที่นั้น
5 กรณีเป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในการกำกับดูแลของสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ให้ยื่นขอจดทะเบียนได้ ณ สำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือจะยื่นผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เขต/อำเภอ) ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ก็ได้

ตอนต่อไป: หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร ? 

KASME INSTITUTE
"หน้าต่างแห่งความรู้ ประตูสู่ความสำเร็จ"
FB: KASMECO  @LINE: KASMETHAI

วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2561

เรื่องน่ารู้ของภาษีมูลค่าเพิ่ม: วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

เรื่องน่ารู้ของภาษีมูลค่าเพิ่ม: วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

สำหรับวันที่เริ่มประกอบกิจการขายสินค้า/ให้บริการ หรือกรณีอยู่ระหว่างเตรียมการที่จะเริ่มประกอบกิจการ (เช่น อยู่ในช่วงการก่อสร้างโรงงาน ก่อสร้างอาคารสำนักงาน หรือกำลังติดตั้งเครื่องจักร) และได้มีการซื้อสินค้าหรือรับบริการ ที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการมีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 6 เดือนก่อนวันเริ่มประกอบกิจการขายสินค้า หรือให้บริการ และผู้ประกอบการยังสามารถจดทะเบียนฯ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีมูลค่าของฐานภาษี (รายรับ) เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี


สำหรับเอกสารที่ต้องใช้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ประกอบดังนี้คือ

1. แบบคำขอที่ใช้ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ แบบ ภ.พ.01 ซึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร ขอรับได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เขต) หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่ สำหรับในจังหวัดอื่นขอรับได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (อำเภอ) ทุกแห่ง

2. เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
(1) คำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.01 จำนวน 3 ฉบับ
(2) สำเนาทะเบียนบ้านหรือหลักฐานแสดงการอยู่อาศัยจริง พร้อมภาพถ่ายสำเนาดังกล่าว
(3) บัตรประจำตัวประชาชนและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร พร้อมภาพถ่ายบัตรดังกล่าว
(4) ภาพถ่ายสัญญาเช่าอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อันเป็นที่ตั้งสถานประกอบการ (กรณีเช่า) หรือภาพถ่ายหนังสือยินยอมให้ใช้เป็นที่ตั้งสถานประกอบการ และหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์เช่น เป็นเจ้าบ้าน, สัญญาซื้อขาย, คำขอหมายเลขบ้าน, ใบโอนกรรมสิทธิ์, สัญญาเช่าช่วง พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านอันเป็นที่ตั้งสถานประกอบการและภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว
(5) หนังสือจัดตั้งห้างหุ้นส่วน พร้อมภาพถ่ายหนังสือดังกล่าว (กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล)
(6) หนังสือรับรองของนายทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัท พร้อมวัตถุประสงค์ หนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับ และใบทะเบียนพาณิชย์พร้อมภาพถ่ายหนังสือดังกล่าว (กรณีเป็นนิติบุคคล)
(7) บัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้จัดการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ และสำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว
(8) แผนที่ซึ่งแสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขป และภาพถ่ายสถานประกอบการ
(9) กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำการแทนต้องมีหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 10 บาท บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจพร้อมภาพถ่ายบัตรดังกล่าว โดยผู้รับมอบอำนาจต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป

ตอนต่อไป: กรณีที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ประสงค์จะขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว ต้องทำอย่างไร ?

KASME INSTITUTE
"หน้าต่างแห่งความรู้ ประตูสู่ความสำเร็จ"

วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2561

เรื่องน่ารู้ของภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT

เรื่องน่ารู้ของภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือ VAT เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิตและจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิตภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตหรือเป็นผู้ที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคลหรือนิติบุคคลใดๆ หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีและมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน (หากไม่เกินก็ขอจดทะเบียนได้)

วิธีการคำนวณภาษี
ภาษีที่ต้องเสีย คำนวณจากการนำภาษีขายทั้งเดือนภาษีมาหักด้วยภาษีซื้อทั้งเดือนภาษีหากมีภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ ให้ชำระภาษีส่วนต่างนั้น หากมีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย จะขอคืนภาษีส่วนต่างเป็นเงินสด หรือยกไปเครดิตภาษีในเดือนถัดไปก็ได้ดังนี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ภาษีขาย - ภาษีซื้อ
หากภาษีขาย > ภาษีซื้อ = ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระ
หากภาษีขาย < ภาษีซื้อ = ภาษีที่มีสิทธิขอคืน หรือ ขอเครดิตภาษี

ภาษีขาย หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เมื่อมีการขายสินค้าหรือรับค่าบริการ

ภาษีซื้อ หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้จ่ายให้กับผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่เป็นผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตน ภาษีซื้อที่จะนำมาหักได้นี้คลุมไปถึงภาษีซื้อของสินค้าประเภททุนด้วย

ตอนต่อไป: วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม พบกันใหม่ในครั้งหน้าค่ะ


วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2561

SMEs กับหน้าที่ทางภาษี 5 ประเภท

SMEs กับหน้าที่ทางภาษี 5 ประเภท

ธุรกิจ SMEs หรือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprise) เป็นธุรกิจที่มีจำนวนมากในไทย ซึ่งธุรกิจที่อยู่ในกลุ่ม SMEs จะต้องเข้าข่ายลักษณะดังนี้คือ


1. เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท
2. เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดิน ไม่เกิน 200 ล้านบาท และจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน
3. เป็นกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี หรือต่อรอบระยะเวลาบัญชี ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับลักษณะของธุรกิจ SMEs ได้ทาง http://www.rd.go.th/publish/38056.0.html

ดังนั้นเมื่อพิจารณาดูแล้ว หากธุรกิจของท่านเข้าข่ายอยู่ในกลุ่ม SMEs ด้วยแล้วนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ท่านจะต้องทำความเข้าใจกับหน้าที่ทางภาษี โดยสิ่งแรกที่ควรทำความเข้าใจในเบื้องต้นก็คือ "ประเภทภาษีอากร"

*อ้างอิงจากการเผยแพร่ข้อมูลจากกรมสรรพากร 
ประมวลรัษฎากรเป็นกฏหมายที่ให้อำนาจกรมสรรพากร จัดเก็บภาษี 5 ประเภทใหญ่ๆได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ โดยภาษีอากรแต่ละประเภทมีลักษณะและวิธีการจัดเก็บที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้มีเงินได้บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้ ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีที่ต้องชำระและเงินได้บางกรณี กฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วน เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษีขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นอีกด้วย

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
       
1)   บุคคลธรรมดา 
2)   ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล 
3)   ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี 
4)   กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง

2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ ในประมวลรัษฎากร จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ด้วย 

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล มีดังนี้

        (1)   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ได้แก่
               ก.   บริษัท จำกัด
               ข.   บริษัทมหาชน จำกัด
               ค.   ห้างหุ้นส่วนจำกัด
               ง.   ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน

        (2)   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย ก็ต่อเมื่อเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
               ก.   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น เข้ามากระทำกิจการในประเทศไทย (มาตรา 66 วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร)
               ข.   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น กระทำกิจการในที่อื่นๆ รวมทั้งในประเทศไทย (มาตรา 66 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร)
               ค.   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น กระทำกิจการอื่นๆรวมทั้งในประเทศไทยและกิจการที่กระทำนั้นเป็นกิจการขนส่งระหว่างประเทศ (มาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร)
               ง.   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย (มาตรา 70)
               จ.   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย ตามมาตรา 76 วรรคสอง และมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ได้จำหน่ายเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นที่กันไว้จากกำไร หรือถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย (มาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร)
               ฉ.   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น มิได้เข้ามาทำกิจการในประเทศไทยโดยตรง หากแต่มีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อ ในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย (มาตรา 76 ทวิ)

        (3)   กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางค้า หรือหากำไร โดย
               ก.   รัฐบาลต่างประเทศ
               ข.   องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ
               ค.   นิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ

        (4)   กิจการร่วมค้า (Joint Venture) ได้แก่ กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไร ระหว่างบุคคลดังต่อไปนี้คือ
               ก.   บริษัทกับบริษัท
               ข.   บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
               ค.   ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
               ง.   บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดา
               จ.   บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
               ฉ.   บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนสามัญ
               ช.   บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับนิติบุคคลอื่น

        (5)   มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล
        (6)   นิติบุคคลที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร
     
ฐานภาษีในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล 

ภาษีเงินได้นิติบุคคล คำนวณจากเงินได้ที่ใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีคูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนด ดังนั้น เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือฐานภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น โดยทั่วไปได้แก่กำไรสุทธิที่คำนวณตาม เงื่อนไขที่กำหนด แต่เพื่อความเป็นธรรมและอุดช่องว่างในการจัดเก็บภาษีเงินได้ จึงได้มี การบัญญัติจัดเก็บภาษีเงินได้ นิติบุคคล จากเงินได้หรือฐานภาษี ที่แตกต่างกัน ดังนี้ 
               
                (1)   กำไรสุทธิ
                (2)   ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย
                (3)   เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย
                (4)   การจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย

คลิ๊กอ่าน อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลและการคำนวณ

3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

เป็นภาษีที่เก็บจากผู้ขายสินค้าในประเทศ การให้บริการในประเทศและการนำเข้าสินค้า ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคลใดๆ หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขาย หักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี

4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่างแทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิก ภาษีธุรกิจเฉพาะเริ่มใช้บังคับใน พ.ศ.2535 พร้อมกันกับภาษีมูลค่าเพิ่ม

5. อากรแสตมป์

อากรแสตมป์ เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการกระทำ ตราสาร 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์

"หน้าต่างแห่งความรู้ ประตูสู่ความสำเร็จ"
KASME Institute

สำรองที่นั่งด่วนวันนี้ก่อนเต็ม
VVVVVVV

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลและการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลและการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล

จากการเผยแพร่จากเว็บไซต์กรมสรรพากร ในเรื่องของ "อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลและการคำนวณภาษี" สถาบันคัสเม่ขอนำเสนอต่อท่านที่สนใจดังต่อไปนี้



(1) อัตราภาษี

ก. กรณีลดอัตราภาษี ให้คำนวณภาษีดังนี้

(1.1) กรณีเป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ไม่ใช่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตาม (1.2) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี ที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2558 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2558 ให้คำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ

(1.2) กรณีเป็นบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 30 ล้านบาท ต่อเนื่องกัน ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา โดยในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2558 เป็นต้นไป ให้คำนวณภาษี ในอัตราดังนี้

                      กำไรสุทธิ                                                   อัตราภาษีร้อยละ
ไม่เกิน 300,000 บาท                                                                 ยกเว้น
เกิน 300,000 บาท แต่ไม่เกิน 3,000,000 บาท                              15
เกิน 3,000,000 บาท ขึ้นไป                                                            20

(1.3)  กรณีเป็นกิจการสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคให้คำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิ สำหรับรายได้ที่ได้รับจากวิสาหกิจในเครือหรือสาขาต่างประเทศของสำนักงานฯ ดังต่อไปนี้

                           (ก)  รายได้จากการให้บริการของสำนักงานฯ ได้แก่ วิสาหกิจในเครือหรือสาขาต่างประเทศของสำนักงานฯ
                            (ข)  ดอกเบี้ยรับ ทั้งนี้ เฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่สำนักงานฯ ได้กู้มาเพื่อให้กู้ยืมต่อ
                            (ค)  ค่าสิทธิ รวมทั้งค่าสิทธิที่ได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่นำผลการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของสำนักงานไปใช้ในการผลิตสินค้าหรือให้บริการแก่สำนักงานฯ วิสาหกิจในเครือหรือสาขาต่างประเทศของสำนักงาน ฯ ทั้งนี้ เฉพาะค่าสิทธิที่เกิดจากผลการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของสำนักงานฯ ที่กระทำขึ้นในประเทศไทย

 (1.4)  กรณีเป็นกิจการนำเข้าส่งออกไปนอกราชอาณาจักรในเขตปลอดอากรหรือระหว่างเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพลังงานให้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิง ให้คำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป สำหรับรายได้จากการประกอบธุรกรรมการซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิง รวมถึงการซื้อและขายน้ำมันเชื้อเพลิงตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วย ทั้งนี้ บริษัทซึ่งประกอบกิจการที่มีรายได้จากการประกอบธุรกรรมและการซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิงได้แจ้งการเป็นผู้ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพลังงานในรอบระยะเวลาบัญชีใด ให้ได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีนั้นเป็นต้นไป

 (1.5)  กรณีเป็นกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจซึ่งประกอบด้วย จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดสงขลาเฉพาะในท้องที่อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี และอำเภอ สะบ้าย้อย และจังหวัดสตูล และมีรายได้ที่เกิดขึ้นจากการผลิตสินค้าหรือการขายสินค้าหรือการให้บริการ ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ให้คำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 3 ของกำไรสุทธิ สำหรับ 3 รอบระยะเวลาบัญชี ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชี 2558 ที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 ถึงรอบระยะเวลาบัญชี 2560 ที่สิ้นสุดภายในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560

 (1.6)  กรณีกิจการเป็นศูนย์กลางการหาสินค้าเพื่อการผลิตระหว่างประเทศ ให้คำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 15 ของกำไรสุทธิ

 (1.7)  กรณีได้รับอนุมัติจากกรมสรรพากรให้เสียภาษีจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย ให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับ

ข.   ภาษีจากกำไรสุทธิเฉพาะกรณีที่ได้จากการประกอบกิจการวิเทศธนกิจตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย ์ ลงวันที่16 กันยายน 2535 ร้อยละ 10

(2)   การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิและต้องคำนวณภาษีเงินได้ นิติบุคคล และยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง ดังนี้ 

ก.   การคำนวณเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ได้มีบัญญัติไว้ในมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวล รัษฎากรดังนี้ 

                 (1)   ในกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล นอกจากที่กล่าวใน (2) ให้จัดทำประมาณการกำไร สุทธิ หรือขาดทุนสุทธิ ซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำหรือจะได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น แล้ว ให้คำนวณและชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลจากจำนวนกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

                 (2)   ในกรณีบริษัทจดทะเบียนธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์หรือ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หรือ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดให้คำนวณและชำระภาษีจากกำไรสุทธิ ของรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วัน แรกของรอบระยะเวลาบัญชีตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี

                 ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีนี้ให้ถือเป็นเครดิตในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเมื่อสิ้น รอบระยะเวลาบัญชีคือ เอาไปหักออกจากภาษีที่ต้องเสียจากกำไรสุทธิของทั้งรอบระยะเวลาบัญชีและในกรณีที่ภาษีที่เสีย ไว้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีสูงกว่าภาษีที่จะต้องเสียทั้งรอบระยะเวลาบัญชี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลก็มีสิทธิขอคืนภาษีที่ชำระไว้เกินได้

                 กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีรอบระยะเวลาบัญชีแรกหรือรอบระยะเวลาบัญชีสุดท้าย น้อยกว่า 12 เดือน ไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี

ข.   การคำนวณเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี การคำนวณกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลให้คำนวณกำไรสุทธิตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ใน ประมวลรัษฎากร โดยนำกำไรสุทธิดังกล่าวคูณด้วยอัตราภาษี เงินได้นิติบุคคล จะได้ภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่ต้องชำระ ถ้าคำนวณกำไรสุทธิออกมาแล้วปรากฎว่า ไม่มีกำไรสุทธิ หรือขาดทุนสุทธิ บริษัทไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ถ้าการจัดทำบัญชีของบริษัทได้จัดทำขึ้นตามหลักบัญชีโดยไม่ได้ปฎิบัติตามเงื่อนไขในประมวลรัษฎากรเมื่อ จะคำนวณภาษีบริษัทจะต้องปรับปรุงกำไรสุทธิดังกล่าวให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ใน ประมวลรัษฎากรแล้วจึง คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล

"หน้าต่างแห่งความรู้ ประตูสู่ความสำเร็จ"

วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ขาเที่ยวต้องดู! เที่ยวที่ไหนได้ลดหย่อนและรวบรวมรายชื่อโรงแรมที่ใช้สิทธิได้

ขาเที่ยวต้องดู! เที่ยวที่ไหนได้ลดหย่อนและรวบรวมรายชื่อโรงแรมที่ใช้สิทธิได้


อีกไม่นานก็จะสิ้นปีแล้ว สถาบันคัสเม่คาดว่าหลายท่านก็น่าจะเริ่มวางแผนการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อต้อนรับวันหยุดยาว ฉลองส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่กันใช่ไหมคะ ในวันนี้ทางสถาบันจึงขออนุญาติรวบรวมรายชื่อธุรกิจโรงแรมในประเทศ ที่ท่านสามารถนำค่าที่พักมาหักเป็นค่าลดหย่อนทางภาษี โดยสามารถหักได้ตามจริงแต่สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาทค่ะ  โดยมาตรการสิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าวนี้นั้น ก็สืบเนื่องมาจากแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวเมืองรองของภาครัฐ  ที่นักท่องเที่ยวที่ได้เดินทางท่องเที่ยวในประเทศในเขตจังหวัดเมืองรอง สามารถนำค่าใช้จ่าย เช่น ค่าที่พัก หรือค่าบริการธุรกิจนำเที่ยว มาหักลดหย่อนภาษีปี 2561 ได้


ด้วยเหตุนี้สถาบันคัสเม่จึงขออนุญาติรวบรวมรายชื่อธุรกิจโรงแรมต่างๆในประเทศที่ท่านสามารถนำมาใช้หักลดหย่อนได้สำหรับทุกท่านที่สนใจ  แต่อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายที่จะนำมาหักได้นั้น ต้องเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้ด้วยนะคะ

1. ต้องเดินทางท่องเที่ยวในเมืองรอง 55 จังหวัด ในช่วงวันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2561
2. เป็นค่าที่พักในโรงแรมเมืองรองที่ได้จดทะเบียนตามกฏหมายว่าด้วยโรงแรม
3. เป็นค่าที่พักโฮมเสตย์เมืองรอง ที่มีมาตรฐานผ่านการรับรองจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
4. เป็นค่าที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม โดยเจ้าของบ้านนําพื้นที่ในบ้านมาดัดแปลงเป็นห้องพักเพื่อหารายได้เสริม มีจํานวนไม่เกิน 4 ห้อง มีผู้พักรวมกันไม่เกิน 20 คน และต้องจดแจ้งข้อมูลกับกระทรวงมหาดไทยแล้ว
5. เป็นค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวรอง
6. เป็นค่าบริการนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวรอง ร่วมกับจังหวัดที่ไม่ใช่จังหวัดท่องเที่ยวรอง ตามเส้นทางท่องเที่ยวที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ซึ่งสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการหักค่าลดหย่อนในครั้งนี้ ท่านสามารถนำใบเสร็จรับเงินทั้งที่เป็นแบบเฉพาะที่แสดงค่าใช้จ่ายต่างๆ หรือแบบที่เป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปก็ได้ค่ะ อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องระบุชื่อผู้มีเงินได้ที่ได้จ่ายค่าใช้จ่าย รวมทั้งจำนวนเงิน, วันเดือนปี ที่จ่ายด้วยค่ะ และกรณีเป็นค่าบริการนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ จำเป็นต้องระบุลำดับที่ได้รับการรับรองเส้นทางท่องเที่ยวจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในหลักฐานการรับเงินด้วยนะคะ

คราวนี้ถึงเวลาเช็คแล้วว่า จะมีรายชื่อโรงแรม/ที่พักใดบ้างที่เราสามารถนำไปหักลดหย่อนได้ เราไปเช็คกันเลยค่ะ

ดาวน์โหลดรายชื่อโรงแรม* click
ดาวน์โหลดเบอร์ติดต่อเพื่อสอบถามโดยตรงในแต่ละจังหวัด click
เช็คผ่านระบบ online click

*หมายเหตุ  ปีที่อัพเดตข้อมูลล่าสุด: 2559




หลักสูตร: การแก้ไขปัญหาสำคัญทางการบัญชีและจุดตรวจสอบเพื่อป้องกันการทุจริต
วันและเวลา: เสาร์ที่ 22 ธ.ค.2561 (9.00 - 17.00 น.) เริ่มลงทะเบียนตั้งแต่เวลา 8.30 น.
วิทยากร: ดร.สมชาย เลิศภิรมย์สุข, ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต, คณบดีคณะบัญชี มหาวิทยาลัยธนบุรี, กรรมการวิชาชีพบัญชีฯ สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์, วิทยากรพิเศษให้กับหน่วยงานที่มีชื่อเสียงทั้งภาครัฐฯและเอกชนหลายแห่ง
สถานที่: โรงแรมโกลเด้นซิตี้ จ.ระยอง
รหัสหลักสูตร: 6112-06-153-002-02
CPA&CPD สามารถนับชั่วโมงบัญชีได้ 6.30 ชั่วโมง
ราคา: 2,140 บาท/ที่นั่ง (รวม VAT, เอกสาร, อาหารกลางวัน & เบรคแล้ว)
**โปรโมชั่นสำหรับสมาชิก** ลดทันที 10% จากราคาปกติ เหลือเพียง 1,926 บาท (ราคานี้รวมทุกอย่างแล้ว, ก่อน VAT = 1,800 บาท)
สมัครสมาชิกฟรีที่นี่: https://www.kasmethai.com/blank หรือ @LINE: KASMETHAI
สำรองที่นั่งที่นี่: CLICK


วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2561

23 พฤศจิกายนนี้ กับหลักสูตร "ติดอาวุธทางปัญญา พิชิตปัญหาประมวลรัษฎากร (ตอน VAT)" by อ.ดำริ ดวงนภา

สัมมนาทางภาษีที่ผู้ประกอบการชาวชลบุรี ไม่ควรพลาด!!
🚩 เจาะประเด็นภาษีซื้อ
🚩 รู้ชัดกับใบกำกับภาษีปลอม
🚩 จุดความรับผิดทางภาษี "TAX POINT"
🚩 ขายแบบไหน NO VAT
🚩 พบกรณีศึกษาแบบเจาะลึก ที่จะมาเปิดประเด็นโดยท่าน อ.ดำริ ดวงนภา ให้ท่านเจ้าของกิจการได้รู้ชัด รู้จริง ก่อนใครที่นี่และที่เดียว ณ โรงแรมชลจันทร์ รีสอร์ท พัทยา, จ.ชลบุรี

❆❆ หลักสูตรนี้สามารถนับชั่วโมง CPD ได้ 6 ชั่วโมงอื่น ❆❆ ทุกที่นั่งมีคู่มือแจกพร้อม CD เฉพาะกิจด้านภาษีสำหรับท่านที่เข้ารับการอบรมในรอบนี้เท่านั้น❆❆ ที่นั่งมีจำนวนจำกัด รับเพียง 30 ท่าน สำรองที่นั่งด่วนวันนี้พร้อมรับโปรในราคาพิเศษ เพียง 1,800 บาท (+vat) ได้ทาง >>>> https://goo.gl/forms/J9PhCglzPp0unNY73


รวมมิตรหลักฐานการรับเงินที่ผู้ประกอบการจด VAT ต้องรู้!

การเริ่มต้นธุรกิจเป็นของตัวเอง คือสิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ และสามารถเริ่มกิจการได้ในรูปของทั้งบุคคลธรรมดา หรือรูปแบบนิติบุคคล 

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ประกอบการที่ได้จดเข้าระบบ VAT หรือ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยนั้น สิ่งสำคัญมากอีกสิ่งหนึ่ง ที่ผู้ประกอบการต้องทำความเข้าใจ เมื่อมีการขายสินค้าหรือการให้บริการ นั่นก็คือหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมด้านการขายสินค้า/การให้บริการ

ในวันนี้ สถาบันคัสเม่ขอเผยแพร่รายละเอียดเพิ่มเติมจากเว็บไซต์กรมสรรพากร เพื่อให้ผู้ประกอบการและนักบัญชีทุกท่านสามารถติดตามอ่านรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ




รวมมิตรหลักฐานการรับเงินที่ผู้ประกอบการจด VAT ต้องรู้!

ใบเสร็จรับเงิน = ใบรับ ที่แสดงการรับชำระเงิน

หากเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็จะต้องมี "ใบกำกับภาษี" มาเกี่ยวข้องนอกเหนือจากใบเสร็จรับเงิน ลักษณะของใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษี จะต้องมีสาระสำคัญที่กฎหมายกำหนดไว้จึงจะถือว่าถูกต้อง สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะใช้ใบกำกับภาษีกับใบเสร็จรับเงินในฉบับเดียวกันก็ได้

ทั้งนี้ นิยามคำว่า “ใบรับ” ตามมาตรา 103 แห่งประมวลรัษฎากร หมายความว่า

(ก) บันทึก หรือหนังสือใด ๆ ที่เป็นหลักฐานแสดงว่าได้รับ ได้รับฝาก หรือได้รับชำระเงินหรือตั๋วเงิน หรือ
(ข) บันทึก หรือหนังสือใด ๆ ที่เป็นหลักฐานแสดงว่าหนี้หรือสิทธิเรียกร้องได้ชำระหรือปลดให้แล้ว

บันทึก หรือหนังสือที่กล่าวนั้นจะมีลายมือชื่อของบุคคลใด ๆ หรือไม่ ไม่สำคัญ โดยสาระสำคัญและกฎหมายของใบกำกับภาษี และ ใบรับ สรุปได้ดังนี้

รายการ: ใบรับ   ตัวอย่างใบรับ
กฏหมายอ้างอิงตามประมวลรัษฎากร: มาตรา 105 ทวิ
สาระสำคัญ:
1. เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ออกใบรับ
2. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้ออกใบรับ
3. เลขลำดับของเล่มและของใบรับ
4. วัน เดือน ปี ที่ออกใบรับ
5. จำนวนเงินที่รับ
6. ชนิด ชื่อ จำนวนและราคาสินค้า ในกรณีการขายหรือให้เช่าซื้อสินค้าเฉพาะชนิดที่มีราคาตั้งแต่ หนึ่งร้อยบาทขึ้นไป

รายการ: ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป   ตัวอย่างใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป
กฏหมายอ้างอิงตามประมวลรัษฎากร: มาตรา 86/4
สาระสำคัญ:
1. คำว่า "ใบกำกับภาษี" ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการ จดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี และในกรณีที่ตัวแทนเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86 วรรคสี่หรือมาตรา 86/2 หรือผู้ทอดตลาดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/3 ให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตัวแทนนั้นด้วย
3. ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
4. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)
5. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
6. จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าและหรือของบริการให้ชัดแจ้ง
7. วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
8. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด

รายการ: ใบกำกับภาษีอย่างย่อ   ตัวอย่างใบกำกับภาษีอย่างย่อ
กฏหมายอ้างอิงตามประมวลรัษฎากร: มาตรา 86/6
สาระสำคัญ:
1. คำว่า "ใบกำกับภาษีอย่างย่อ" ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
2. ชื่อ หรือชื่อย่อ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจด ทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี
3. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)
4. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
5. ราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการ โดยต้องมีข้อความระบุชัดเจนว่าได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
6. วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
7. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด

รายการ: ใบเพิ่มหนี้   ตัวอย่างใบเพิ่มหนี้
กฏหมายอ้างอิงตามประมวลรัษฎากร: มาตรา 86/9
สาระสำคัญ:
1. คำว่า "ใบเพิ่มหนี้" ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบเพิ่มหนี้ และในกรณีตัวแทนเป็นผู้ออกใบเพิ่มหนี้ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86 วรรคสี่ หรือมาตรา 86/2ให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ของตัวแทนนั้นด้วย
3. ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
4. วัน เดือน ปี ที่ออกใบเพิ่มหนี้
5. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษีเดิม รวมทั้งหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี) มูลค่าของสินค้าหรือบริการที่แสดงไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าว มูลค่าที่ถูกต้องของสินค้าหรือบริการ ผลต่างของจำนวนมูลค่าทั้งสองและจำนวนภาษีที่เรียกเก็บเพิ่มสำหรับส่วนต่างนั้น
6. คำอธิบายสั้น ๆ ถึงสาเหตุในการออกใบเพิ่มหนี้
7. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด

รายการ: ใบลดหนี้    ตัวอย่างใบลดหนี้
กฏหมายอ้างอิงตามประมวลรัษฎากร: มาตรา 86/10
สาระสำคัญ:
1. คำว่า "ใบลดหนี้" ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขที่ประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบลดหนี้และในกรณีที่ตัวแทนเป็นผู้ออกใบลดหนี้ ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86 วรรคสี่ หรือมาตรา 86/2 ให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตัวแทนนั้นด้วย
3. ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
4. วัน เดือน ปี ที่ออกใบลดหนี้
5. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษีเดิม รวมทั้งหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี) มูลค่าของสินค้าหรือบริการที่แสดงไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าว มูลค่าที่ถูกต้องของสินค้าหรือบริการ ผลต่างของจำนวนมูลค่าทั้งสองและจำนวนภาษีที่ใช้คืนสำหรับส่วนต่างนั้น
6. คำอธิบายสั้น ๆ ถึงสาเหตุในการออกใบลดหนี้
7. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด

**หมายเหตุ**
ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบเสร็จรับเงินค่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่ส่วนราชการเป็นผู้ออกถือเป็นใบกำกับภาษี

วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2561

รวมมิตรคลิปสาระน่ารู้ทางภาษีในเรื่องของ "สิทธิของผู้เสียภาษี/ผู้ประกอบการ" โดยท่าน อ.ดำริ ดวงนภา

รวมคลิปถ่ายทอดสดฉบับเต็มกับท่าน อ.ดำริ ดวงนภา ในเรื่องของ "สิทธิของผู้เสียภาษีและผู้ประกอบการ"

ท่านใดที่พลาดกับคลิปการถ่ายทอดสดจากสถาบันคัสเม่ ในเรื่องของ "สิทธิของผู้เสียภาษี/ผู้ประกอบการ" โดยท่าน อ.ดำริ ดวงนภา ในวันนี้สถาบันคัสเม่ได้รวบรวมคลิปฉบับเต็ม เพื่อให้ทุกท่านที่สนใจได้รับชมติดตามย้อนหลัง หรือฟังอีกครั้งเพื่อนำสาระประเด็นที่น่าสนใจปรับใช้ในกิจการของท่านได้ค่ะ



ตอนที่ 1  https://www.youtube.com/watch?v=N7sfULrsFdY
ตอนที่ 2  https://www.youtube.com/watch?v=Sl26CGfX6EU&t=119s
ตอนที่ 3 (สิทธิของผู้เสียภาษี/ผู้ประกอบการเมื่อได้รับใบแจ้งการประเมินจากกรมสรรพากร)  https://www.youtube.com/watch?v=7HOMIRfhHAc&t=1326s
ตอนที่ 4 http://kasmethai.blogspot.com/2018/09/live_26.html

KASME Institute
สถาบันคัสเม่
"หน้าต่างแห่งความรู้ ประตูสู่ความสำเร็จ"

**********



วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2561

การขออนุมัติเป็นผู้ประกอบการขายสินค้าให้นักท่องเที่ยวเพื่อเข้าระบบคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ "VAT Refund for Tourists"

การขออนุมัติเป็นผู้ประกอบการขายสินค้าให้นักท่องเที่ยว เพื่อเข้าระบบคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 
หรือ "VAT Refund for Tourists"



ประเทศไทยของเรามีความอุดมสมบูรณ์ทั้งทางธรรมชาติและวัฒนธรรม จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวทั่วโลกต่างเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวยังประเทศไทย

ซึ่งอาจเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้ภาครัฐฯและกรมสรรพากร มีนโยบายในการเพิ่มช่องทางการขอ "VAT Refund" ให้กับนักท่องเที่ยว และเมื่อเร็วๆนี้ทางกรมสรรพากรได้ดำเนินการเสนอข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการที่สนใจจะเข้าร่วมเป็นผู้ขายสินค้าให้กับนักท่องเที่ยวโดยปรับตัวเข้าสู่ระบบคืนภาษีมูลค่าเพิ่มอีกด้วย หรือที่เรียกว่า "Vat Refund for Tourists"ค่ะ รายละเอียดจะเป็นเช่นใด เรียนเชิญทุกท่านที่สนใจเข้าสู่ระบบและขออนุมัติเป็นผู้ขายสินค้าให้นักท่องเที่ยว ติดตามอ่านกันได้เลยค่ะ

#ขอขอบคุณข้อมูลจาก: กรมสรรพากร

คุณสมบัติของผู้ประกอบการ
1. เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
2. เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7
3. ไม่เป็นผู้ประกอบการที่ถูกเพิกถอนการเป็นผู้ประกอบการขายสินค้าให้นักท่องเที่ยวภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ถูกเพิกถอน

การยื่นคำขออนุมัติเป็นผู้ประกอบการ
1. ยื่นแบบกระดาษด้วยแบบคำขออนุมัติ (คท.1) ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ หรือที่กองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ กรมสรรพากร กรณีเป็นสถานประกอบการที่อยู่ในการกำกับดูแลของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่

2. ยื่นคำขอผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์ www.rd.go.th/vrt

ขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติของผู้ประกอบการในระบบคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว

1. ผู้ประกอบการแต่ละสถานประกอบการต้องขอรับและติดแผ่นป้าย “VAT Refund for Tourists” แสดงไว้ ณ ที่เปิดเผยให้นักท่องเที่ยวเห็นได้ชัดเจน
2. ขอรับแบบคำร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับนักท่องเที่ยว (ภ.พ.10) จากสำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่เป็นรายสถานประกอบการ
3. เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายสินค้าให้แก่นักท่องเที่ยว และยื่นแบบแสดงรายการและนำส่งภาษี ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
4. จัดทำใบกำกับภาษีขายและต้องระบุเลขที่หนังสือเดินทางของนักท่องเที่ยวลงในใบกำกับภาษีขายทุกฉบับ กรณีนักท่องเที่ยวซื้อสินค้าจากสถานประกอบการแห่งเดียวกันในวันเดียวกัน มีมูลค่ารวมตามใบกำกับภาษีไม่น้อยกว่า 2,000 บาท ให้จัดทำแบบคำร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับนักท่องเที่ยว (ภ.พ.10) และส่งมอบให้นักท่องเที่ยวพร้อมต้นฉบับใบกำกับภาษี

5. จัดทำรายงานคำร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับนักท่องเที่ยว (คท.9) และเก็บรักษาไว้ ณ สถานประกอบการเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี
6. กรณีผู้ประกอบการมีการเพิ่ม ลด ย้ายสถานประกอบการ เปลี่ยนชื่อผู้ประกอบการหรือสถานประกอบการ หรือไม่ประสงค์จะเป็นผู้ประกอบการในระบบคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยวแล้ว ให้แจ้งต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่ในท้องที่ที่สถานประกอบการซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ภายใน 7 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง

สิทธิพิเศษของผู้ประกอบการในระบบคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว
1. ใช้ป้ายสัญลักษณ์ระบบคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว โดยติดต่อขอรับป้ายสัญลักษณ์ได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่ตั้งสถานประกอบการและผู้ประกอบการสามารถจัดทำป้ายสัญลักษณ์รูปแบบที่กรมสรรพากรกำหนด ตามขนาดที่เหมาะสมกับสภาพสถานประกอบการได้

2. ได้รับสิทธิให้ใช้สัญลักษณ์ระบบคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยวเผยแพร่ในเอกสารหรือ website ของทางบริษัท เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการขาย

3. ได้รับการส่งเสริมการขาย โดยกรมสรรพากรจะประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสถานประกอบการ เช่น ภาพถ่ายสถานประกอบการ ภาพถ่ายสินค้าหรือแผนที่ตั้ง เป็นต้น ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร
4. ได้รับสื่อเผยแพร่ต่าง ๆ เพื่อประชาสัมพันธ์ระบบคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยวเป็นภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารทำความเข้าใจกับลูกค้าชาวต่างชาติ

5. ได้รับสื่อโฆษณาภาษาต่างประเทศ เพื่อแสดงขั้นตอนการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับนักท่องเที่ยว ในการสื่อสารทำความเข้าใจกับลูกค้าชาวต่างชาติ

6. ได้รับคู่มือการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการในระบบคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยวและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

7. สามารถขอให้เจ้าหน้าที่เข้าไปแนะนำการปฏิบัติเกี่ยวกับการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว ณ สถานประกอบการได้

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับท่านที่สนใจเป็นผู้ประกอบการขายสินค้าให้นักท่องเที่ยว
Email: vrefund@rd.go.th , โทร: 022729384-5, 022728195 ติดต่อกลุ่มบริหารการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยว กรมสรรพากร

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2561

6 ประเด็นนำเสนอเพื่อการแก้ไขกฎหมายภาษีสรรพากรสำหรับโครงสร้างภาษีใหม่ '62

6 ประเด็นนำเสนอเพื่อการแก้ไขกฎหมายภาษีสรรพากร
สำหรับโครงสร้างภาษีใหม่ปี 2562 
อ้างอิงเนื้อหาข่าวจาก: Sanook.com
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า รัฐบาลจะเร่งแก้ไขกฎหมายประมวลรัษฎากรของกรมสรรพากร ซึ่งจะรีบดำเนินการก่อนการเลือกตั้ง หากทำไม่ทันในรัฐบาลชุดนี้ รัฐบาลที่จะมาจากการเลือกตั้งใหม่อาจจะไม่ดำเนินการต่อ เนื่องจากการขยายฐานภาษีเป็นเรื่องที่รัฐบาลเลือกตั้งหลีกเลี่ยงที่จะดำเนินการ เพราะทำให้เสียความนิยมได้ โดยคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงและแก้ไขประมวลรัษฎากร ที่ได้รับการแต่งตั้งจาก คณะกรรมการดำเนินการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วนที่มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน ได้นำเสนอผลการศึกษาการแก้ไขกฎหมายภาษีสรรพากรใน 6 ประเด็น ได้แก่
1.ประเด็นธรรมาภิบาลการจัดเก็บภาษีและบริหารภาษีอากร โดยเสนอให้กำหนดนโยบายเชิงรุกเพื่อขยายฐานการจัดเก็บภาษี โดยให้ประชาชนทุกคนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ไม่ว่าจะมีเงินมากกว่าหรือน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลธรรมดา และให้ประชาชนเปิดเผยจำนวนเงินที่ได้รับการยกเว้นภาษีในแบบแสดงรายการ แม้ในปีภาษีดังกล่าวจะไม่มีภาษีที่ต้องชำระก็ตาม
2.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เสนอปรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้เหลือเพียง 3 ประเภท ได้แก่ เงินได้จากน้ำพักน้ำแรง, เงินได้จากทรัพย์สินและการลงทุน และเงินได้จากธุรกิจและอื่นๆ รวมทั้งเสนอให้มีการหักค่าใช้จ่ายได้เพิ่มมากขึ้น ตามประเภทของประเภทเงินได้ จากปัจจุบันที่หักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 1 แสนบาท อีกทั้งยังให้มีการปรับลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลงเป็น 25% จากปัจจุบัน 35% ใกล้เคียงกับภาษีเงินได้ของนิติบุคคล และขยายช่วงเงินได้สำหรับแต่ละอัตรา เพื่อเป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อยที่ต้องการประกอบธุรกิจ แต่ยังไม่พร้อมจะเป็นนิติบุคคล
3.ภาษีเงินได้นิติบุคคล เสนอให้ปรับลดอัตราภาษีและภาระภาษีรวมอยู่ที่ไม่เกิน 25% จากปัจจุบันภาษีนิติบุคคลของไทยเสียอยู่ที่ 20% และต้องเสียภาษีเงินปันผลอีกประมาณ 10% ทำให้มีภาระภาษีรวมประมาณ 28% รวมถึงให้กลุ่มบริษัทเดียวกันมีสิทธิคำนวณกำไรเสียภาษีรวมแบบกลุ่ม ป้องกันการถ่ายโอนราคาสินค้าบริหารเพื่อเสียภาษีให้น้อยลง อีกทั้งเสนอให้กำหนดอัตราภาษี ณ ที่จ่าย เพียงอัตราเดียวสำหรับเงินได้ทุกประเภท และปรับวงเงินขั้นต่ำที่จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เพื่ออำนวยความสะดวกและลดภาระของผู้จ่ายเงินได้ในการตีความ 
4.ภาษีมูลค่าเพิ่ม จากปัจจุบัน ที่กำหนดบังคับเฉพาะผู้ประกอบการที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงเป็นช่องทางให้ผู้ประกอบการเจตนาแสดงรายได้ไม่ถึงเกณฑ์จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวนมาก ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้ประกอบการที่เข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างถูกต้อง คณะอนุกรรมการฯ จึงเสนอให้ปรับปรุงแก้ไขเงื่อนไขการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มแบบปกติ (ภาษีขายหักภาษีซื้อ) จากเดิมรายได้ 1.8 ล้านบาทต่อปีขึ้นไป ให้สูงขึ้น เช่น 10 ล้านบาทต่อปี
5.ภาษีธุรกิจเฉพาะ เสนอให้มีการยกเลิกจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะอัตรา 0.1% จากรายรับจากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์
6.ภาษีอากรแสตมป์ เสนอให้ยกเลิกการเก็บภาษีอากรแสตมป์ทั้งหมด เนื่องจากซ้ำซ้อนกับการเก็บภาษีประเภทอื่น และมีจำนวนน้อยและมีค่าใช้จ่ายในการติดตามตรวจสอบสูงกว่าภาษีอากรแสตมป์เก็บได้
รับฟังเสียงคลิปข่าว