วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

มาตรการป้องกันกำหนดราคาโอน (Transfer Pricing)

สวัสดีชาวบัญชีทุกท่านกับช่วงเวลาใกล้สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ และเดือนมีนาคมกำลังเข้ามาทักทายพวกเราแล้ว นักบัญชีทุกท่านสบายดีกันทุกคนนะคะ ^^ ในวันนี้แอดมินก็จะขอหยิบยกนำเรื่องราวสาระน่ารู้ในเรื่องของ #Transfer Pricing มาฝากทุกท่านกันค่ะ หลายท่านอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับ #มาตรการป้องกันกำหนดราคาโอน (Transfer Pricing) ตามพรบ.ฉบับที่ 47 ให้ไว้ ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2561 ซึ่งกฎหมายฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้สำหรับรอบบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป

เรามาติดตามมาตรการดังกล่าวพร้อมกันได้ที่นี่เลยค่ะ

มาตรการป้องกันกำหนดราคาโอน (Transfer Pricing)

>>เพื่อเป็นป้องกันการกำหนดการขายระหว่างกลุ่มในบริษัทในเครือหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่มีเจตนาเพื่อการหลีกเลี่ยงภาษี (โดยเป็นการกำหนดราคาขายที่ไม่เป็นราคาตลาดหรือราคายุติธรรม)

>>บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน ต้องรายงานการทำธุรกรรมระหว่างกันให้กับกรมสรรพากร พร้อมยื่นแบบ ภ.ง.ด.50

นิติบุคคลที่เข้าเงื่อนไขต้องรายงานการทำธุรกรรมพร้อมยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 มีดังนี้
1.นิติบุคคลที่มีการถือหุ้นระหว่างกัน เป็นสัดส่วนตั้งแต่ 50% ขึ้นไป เช่น
บริษัท A ถือหุ้นในบริษัท B เป็นสัดส่วน 50% โดยอ้างอิงตามแบบ บอจ.5 ถือว่าสองบริษัทนี้มีความสัมพันธ์กัน จะต้องรายงานการทำธุรกรรมระหว่างบริษัท + ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ให้แก่กรมสรรพากร

2.ผู้ถือหุ้นคนเดียวกัน ได้ถือหุ้นอยู่ใน 2 นิติบุคคล โดยมีสัดส่วนตั้งแต่ 50% ขึ้นไป เช่น
นาย ก ถือหุ้นอยู่ในบริษัท A เป็นสัดส่วน 50% และถือหุ้นอยู่ในบริษัท B เป็นสัดส่วน 60% โดยอ้างอิงตามแบบ บอจ.5 ถือว่าสองบริษัทนี้มีความสัมพันธ์กัน จะต้องรายงานการทำธุรกรรมระหว่างบริษัท + ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ให้แก่กรมสรรพากร

3.นิติบุคคลที่มีสัดส่วนการถือหุ้นระหว่างกันไม่ถึง 50% แต่ลักษณะการบริหารงานไม่มีความเป็นอิสระต่อกันอย่างแท้จริง  เช่น
บริษัท A ถือหุ้นอยู่ในบริษัท B เป็นสัดส่วน 40% แต่กรรมการของบริษัท A มีอำนาจในการตัดสินใจการบริหารจัดการ, นโยบาย หรืออื่นๆ เหนือกว่ากรรมการในบริษัท B โดยพฤติการณ์ ถือว่าสองบริษัทนี้มีความสัมพันธ์กันอันเนื่องมาจากลักษณะการบริหารงานไม่เป็นอิสระต่อกัน จะต้องรายงานการทำธุรกรรมระหว่างบริษัท + ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ให้แก่กรมสรรพากร

Download: พรบ.ฉบับที่ 47 ได้ที่นี่ https://drive.google.com/open?id=1flEivwrln8QkySVkHSVuULEemAehtI7A


วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

เตรียมพร้อมกับค่าลดหย่อนบุตรกันเถอะ!!

อีกหนึ่งสิทธิลดหย่อนทางภาษีในปี 61 ที่คุณพ่อคุณแม่หลายท่าน อาจกำลังวางแผนเพื่อเตรียมใช้สิทธิ โดยค่าลดหย่อนจากการเลี้ยงดูบุตรจะสามารถใช้ได้ 30,000 บาทต่อคน เงื่อนไขและรายละเอียดจะมีอะไรบ้าง ติดตามกันได้ที่นี่เลยค่ะ 👶👧


***เงื่อนไขการหักค่าลดหย่อน***

สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ไม่จำกัดจำนวนบุตร

สามารถหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน

#กรณีบุตรชอบด้วยกฏหมาย + บุตรบุญธรรม
จะต้องนำจำนวนบุตรชอบด้วยกฏหมายทั้งหมดมาหักค่าลดหย่อนก่อน แล้วจึงนำบุตรบุญธรรมมาหัก แต่ทั้งนี้รวมกันต้องไม่เกิน 3 คน

***คุณสมบัติของบุตรที่สามารถใช้สิทธิหักค่าลดหย่อน***
1.บุตรที่มีอายุระหว่างแรกเกิด - 20 ปี ในปีภาษีนั้น
2.บุตรที่มีอายุระหว่าง 21-25 ปี ในปีภาษีนั้น และต้องกำลังศึกษาในระดับอนุปริญญา (ปวส.) ขึ้นไป
3.บุตรที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ อันอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู
4.บุตรต้องไม่มีเงินได้ในปีภาษีตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป (ยกเว้นเงินปันผล) หรือรายได้ที่มีนั้นได้รับการยกเว้นตามกฏหมาย เช่น บุตรที่อายุไม่เกิน 20 ปี และรับเงินปันผล ซึ่งเงินปันผลนั้นจะถือว่าเป็นของผู้ปกครอง และไม่ถือว่าบุตรมีรายได้

#KASME
www.kasmethai.com

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ใช้สิทธิลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา อย่าลืมเตรียมแบบ ลย.03 ด้วยนะ

ใช้สิทธิลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา 
อย่าลืมเตรียมแบบ ลย.03 ด้วยนะ

ช่วงเวลาการยื่นแบบ ภงด.90/91 ได้มาถึงแล้ว ใครที่กำลังเตรียมการยื่นแบบและใช้สิทธิลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา-มารดา จะต้องเตรียมแบบ ลย.03 ด้วยนะคะ ทั้งนี้รายละเอียดและเงื่อนไข มีดังนี้

ลดหย่อนบิดา-มารดา ของตัวเอง = ได้คนละ 30,000 บาท
ลดหย่อนบิดา-มารดา คู่สมรส = ได้คนละ 30,000 บาทเช่นกัน
รวมลดหย่อนสูงสุดคือ 4 คน ไม่เกิน 120,000 บาท

***เงื่อนไข***
1. บิดา-มารดา ต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และ มีรายได้ในปีภาษีนั้นไม่เกิน 30,000 บาท
2. กรณี เป็นบิดา-มารดาของคู่สมรส จะสามารถลดหย่อนภาษีได้ เฉพาะเมื่อคู่สมรสไม่มีรายได้ 
3. แบบ ลย.03 สามารถถูกนำไปใช้ได้เฉพาะสำหรับบุตรเพียงคนเดียวเท่านั้น เช่น กรณีลูกคนโตได้ใช้สิทธิลดหย่อนเลี้ยงดูบิดามารดาไปแล้ว บุตรคนอื่นๆจะไม่สามารถใช้สิทธินี้ได้อีก 


ถ้าพร้อมแล้ว ท่านสามารถดาวน์โหลดแบบ ลย.03 เพื่อนำไปใช้ได้ที่นี่เลยค่ะ

KASME
The Institute of Effective Training for SMEs

การถ่ายทอดสดการบรรยายภาพรวมของ National e-Payment,กฏหมาย PIT/CIT,สิทธิของผู้เสียภาษีตามประมวลรัษฎากร

การถ่ายทอดสดการบรรยายภาพรวมของ 
National e-Payment
กฏหมาย PIT/CIT
สิทธิของผู้เสียภาษีตามประมวลรัษฎากร



คลิปการถ่ายทอดความรู้จากท่าน อ.ดำริ ดวงนภา กับภาพรวมในเรื่องของ National e-Payment, Update กฏหมาย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา/นิติบุคคล และ สิทธิของผู้เสียภาษีตามประมวลรัษฎากร
ขอเรียนเชิญท่านที่สนใจ ติดตามรับชมกันได้เลยนะคะ ☺️

แล้วพบกับท่านอาจารย์ดำริ ตัวจริงเสียงจริง พร้อมรับชมการถ่ายทอดความรู้แบบสดสด จัดเต็ม! ได้ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์นี้ ณ โรงแรมโกลเด้นซิตี้ จ.ระยอง นะคะ


โทร. (033)650-892
KASME: The Institute of Effective Training for SMEs

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ได้เวลายื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา >>> ภ.ง.ด. 90/91 แล้วนะ

เริ่มแล้วกับช่วงเวลาแห่งการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90/91 สำหรับผู้มีเงินได้ในปีภาษี โดยทั้งนี้ความแตกต่างระหว่างแบบ ภ.ง.ด.90/91 คือ



>> ภ.ง.ด.90 คือแบบสำหรับผู้ที่มีเงินได้นอกเหนือจากเงินเดือน หรือมีเงินได้ 2 ประเภทขึ้นไป 
>> ภ.ง.ด.91 คือแบบสำหรับผู้ที่มีเงินได้ประเภทเงินเดือนอย่างเดียว

*** ภ.ง.ด.94 คือแบบสำหรับผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40(5) - (8)
เรียนรู้เงินได้พึงประเมินทั้ง 8 ประเภท 40(1) - 40(8) ที่นี่ >>> คลิ๊ก

เอกสารอะไรบ้างที่ต้องจัดเตรียม

สำหรับเอกสารอะไรที่ต้องใช้ประกอบการยื่นแบบ สำหรับท่านที่มีเงินได้จากเงินเดือน หรือ 40(1) ทางเดียวนั้น เอกสารที่ต้องใช้คือ "หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)

ในส่วนของบุคคลที่ใช้สิทธิลดหย่อนทางภาษี จะต้องเตรียมเอกสารประกอบเพิ่มเติม เช่น ค่าลดหย่อนจากบุตรคนที่ 2, ท่องเที่ยวเมืองรอง, ซื้อยางรถยนต์/สินค้าโอทอป/หนังสือ ฯลฯ โดยสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง www.rd.go.th

โปรแกรมช่วยคำนวณแบบ ภ.ง.ด.90/91 ปีภาษี 2561
ท่านที่สนใจดาวน์โหลดโปรแกรมฟรีจากกรมสรรพากร สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่
https://drive.google.com/open?id=1SMi4_z1NJlRw6Eo-yMATnOF6phmHEl8-

ช่องทางการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90/91) ผ่านทางอินเตอร์เน็ต
สามารถยื่นแบบทางอินเตอร์เน็ต ได้ที่นี่เลยค่ะ
https://epit.rd.go.th/publish/index.php?tax=9091

#Application แนะนำ: อีก 1 ช่องทางสะดวกในการคำนวณภาษี + เตรียมแบบสำหรับการยื่น ภ.ง.ด.90/91 https://www.itax.in.th/




วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเขาทำกันยังไง ?!





          ภาษีอากรที่คนไทยต้องรู้



                                   บทแรก 

                                            ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 1.2 👦

    (ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.rd.go.th [กรมสรรพากร])

วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

โดยทั่วไปผู้มีเงินได้ต้องนำเงินได้พึงประเมินทุกประเภทของตน ตลอดปีภาษี (ไม่รวมเงินได้ที่กฎหมายยกเว้นภาษี หรือที่ไม่ต้องเสียภาษี) ไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี เพื่อยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่มีเงินได้ การคำนวณภาษีให้ทำเป็น 3 ขั้น คือ

ขั้นที่หนึ่ง คำนวณหาจำนวนภาษีตาม วิธีที่ 1 เสียก่อน
การคำนวณภาษีตามวิธีที่ 1
เงินได้พึงประเมินทุกประเภทรวมกันตลอดปีภาษี                                                           xxxx (1)
หัก ค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด                                                                            xxxx (2)
(1)-(2) เหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย                                                                     xxxx (3)
หัก ค่าลดหย่อนต่าง ๆ (ไม่รวมค่าลดหย่อนเงินบริจาค) ตามที่กฎหมายกำหนด                  xxxx (4)
(3)-(4) เหลือเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนต่าง ๆ                                                        xxxx (5)
หัก ค่าลดหย่อนเงินบริจาค ไม่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด                                           xxxx (6)
(5-6) เหลือเงินได้สุทธิ                                                                                               xxxx (7)
นำเงินได้สุทธิตาม (7) ไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา   
จำนวนภาษีตามการคำนวณภาษีวิธีที่ 1                                                                        xxxx (8)
    
ขั้นที่สอง ให้พิจารณาว่าจะต้องคำนวณภาษีตาม วิธีที่ 2หรือไม่ ถ้าเข้าเงื่อนไขที่จะต้องคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 จึงคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 อีกวิธีหนึ่ง
กรณีที่ต้องคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 ได้แก่ กรณีที่เงินได้พึงประเมินทุกประเภทในปีภาษี แต่ไม่รวม เงินได้พึงประเมินตามประเภทที่ 1 มีจำนวนรวมกันตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป การคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 นี้ ให้คำนวณในอัตราร้อยละ 0.5 ของยอดเงินได้พึงประเมิน (= เงินได้พึงประเมินทุกประเภทลบเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 คูณด้วย 0.005) ดังกล่าวนั้น

ขั้นที่สาม สรุป จำนวนภาษีที่ต้องเสียภาษี
กำหนดให้ (10) คือ จำนวนภาษีที่คำนวณได้ตามวิธีที่ 2 
การคำนวณภาษี
จำนวนภาษีเงินได้สิ้นปีที่ต้องเสีย เทียบ (8) และ (10) จำนวนที่สูงกว่า                xxxx     (11)
หัก ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายแล้ว                                                 xx
ภาษีเงินได้ครึ่งปีที่ชำระไว้แล้ว                                                 xx
ภาษีเงินได้ชำระล่วงหน้า                                                         xx
เครดิตภาษีเงินปันผล                                                              xx                     xx    (12)
(11-12) เหลือ ภาษีเงินได้ที่ต้องเสีย (หรือที่เสียไว้เกินขอคืนได้)                          xx


หมายเหตุ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป หากคำนวณตามวิธีที่ 2 แล้วมีภาษีเงินได้ที่ต้องเสียจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 5,000 บาท ผู้มีเงินได้ ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามวิธีที่ 2 ( 10 ) แต่ยังคงมีหน้าที่เสียภาษีตามจำนวนที่คำนวณได้ตามวิธีที่ 1 ( 8 ) โดยนำมาสรุปจำนวนภาษีที่ต้องเสียขั้นที่สาม

ตอนหน้าเราจะมาพูดถึงเรื่องอัตราภาษีและวิธีการชำระนะครับ ^^


👇 หากต้องการรับฟังการบรรยายสดหรือข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบรรยาย 👇


______________________________________________________________________________

#สัมมนาประจำปี 🚩จากสถาบันคัสเม่ #ฟรีค่าอบรม สำหรับสมาชิก และเพียง 749.00 บาท สำหรับบุคคลทั่วไป(ราคานี้รวมทุกอย่างแล้ว)
👉สำรองที่นั่งก่อนเต็ม (จำกัดจำนวนเพียง 50 ที่นั่งเท่านั้น) ทางhttps://goo.gl/forms/KGD5xegmhmSHiFBf2
👉LINE: KASMETHAI
👉โทร. (033) 650-892

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

บทแรกมาแล้วภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 1.1📘





          ภาษีอากรที่คนไทยต้องรู้



                                   บทแรก 

                                            ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 1.1 👦

    
อันดับแรกต้องเข้าใจถึงความหมายของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเสียก่อนซึ่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นเรียกได้ว่าเป็นเงินภาษีที่รัฐเรียกเก็บจากบุคคลทั่วไปที่มีรายได้ตามเกณฑ์ที่รัฐกำหนดโดยอัตราการเรียกเก็บจะมีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับรายได้ของบุคคลนั้นๆหรือเรียกได้ว่าเป็น”อัตราภาษีก้าวหน้า”กล่าวคือจะแปรผันตามจำนวนของเงินได้นั่นเองแล้วใครบ้างนะที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานี้

            บุคคลที่ต้องชำระภาษีเงินได้คือบุคคลที่มีสถานะเป็น บุคคลธรรมดา,ห้างหุ้นส่วนสามัญต่างๆที่ใช่นิติบุคคล,ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปี,กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งหรือวิสาหกิจชุมชน
แล้วเงินได้ที่นำมาคำนวณคืออะไรล่ะ ?

            เงินได้คือเงินหรือรายได้ที่ได้รับมาจะเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า”เงินได้พึงประเมิน”คือเงินที่นำมาคำนวณภาษีซึ่งจะแบ่งประเภทได้ดังต่อไปนี้

1.เงิน

2.ทรัพย์สินต่างๆที่มาสารถคำนวณออกมาเป็นตัวเงินได้

3.สิทธิประโยชน์ที่ได้รับและอาจสามารถตีค่าออกมาเป็นตัวเงินได้

4.เงินค่าภาษีอากรที่มีผู้อื่นออกให้ เช่น การรับเงินเดือนและบริษัทเป็นผู้จ่ายเงินภาษีให้แก่พนักงาน

5.เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด

            กำหนดของการส่งรายงานงบประมานนั้นจะอยู่ในช่วงของเดือน มกราคม ถึงเดือน มีนาคมในปีถัดมาต่อจากปีภาษีนั้น                        

พรุ่งนี้เราจะพบกันใหม่ในส่วนของการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานะครับ


👇 หากต้องการรับฟังการบรรยายสดหรือข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบรรยาย 👇


______________________________________________________________________________

#สัมมนาประจำปี 🚩จากสถาบันคัสเม่ #ฟรีค่าอบรม สำหรับสมาชิก และเพียง 749.00 บาท สำหรับบุคคลทั่วไป(ราคานี้รวมทุกอย่างแล้ว)
👉สำรองที่นั่งก่อนเต็ม (จำกัดจำนวนเพียง 50 ที่นั่งเท่านั้น) ทางhttps://goo.gl/forms/KGD5xegmhmSHiFBf2
👉LINE: KASMETHAI
👉โทร. (033) 650-892

วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

วางแผนภาษี เดินหมากให้ถูกวิธี พร้อมลุยปี 62!

วางแผนภาษี เดินหมากให้ถูกวิธี พร้อมลุย!

#9ที่นั่งสุดท้าย🔥🔥🔥 กับงานอบรมประจำปีจากสถาบันคัสเม่ 
สำรองที่นั่งด่วน📞 (033) 650-892 หรือทางลิ้งค์ https://goo.gl/forms/KGD5xegmhmSHiFBf2


#สัมมนาทางภาษีกับ HOT TOPIC ที่ทุกกิจการไม่ควรพลาด!
>> รับทราบทิศทางการจัดเก็บภาษีจากกรมสรรพากรสำหรับ ปี 62
>> เจาะประเด็นเป้าหมายการเป็น RD Digital #ใครบ้างที่ได้รับผลกระทบ
>> การเตรียมรับมือของผู้เสียภาษี/ผู้ประกอบการ เตรียมอย่างไรให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านกฏหมาย ปรับตัวอย่างไรให้เหมาะสม!
>> สรุปกฎหมายทางภาษีที่สำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการโดยตรง
>> รับรู้ 10 สิทธิของผู้เสียภาษี สิทธิที่หลายคนอาจไม่เคยทราบมาก่อน!
>> พร้อมโอกาสซักถามประเด็นทางภาษี กับท่านวิทยากรตลอดงาน!!

แล้วพบกับพวกเราอีกครั้ง ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์นี้ ณ โรงแรมโกลเด้นซิตี้ จ.ระยอง (13.00-16.30 น.)
#สมาชิกFREE! และราคาพิเศษเพียง 749.- บาทเท่านั้นสำหรับบุคคลทั่วไป
#ลับคมทักษะทางภาษีกับกูรูชื่อดังระดับประเทศ กับเราที่นี่ #สถาบันคัสเม่ www.kasmethai.com

บทนำ!!ความรู้เกี่ยวกับภาษีอากร



                 ภาษีอากรที่คนไทยต้องรู้



                          บทนำ 

 ความหมายโดยรวมของภาษี


ทั่วไปแล้วเราทุกคนจะเข้าใจว่าการเสียภาษีนั้นเกิดขึ้นโดยการจับจ่ายใช้สอยเงินเพื่อแลกเปลี่ยนสิ่งของซึ่งความจริงแล้วอาจเกิดจากการได้รับค่าตอบแทนหรือรับสิ่งของต่างๆได้เช่นกัน โดยจะถูกเรียกเก็บโดยรัฐหรือสถาบันที่ทำหน้าที่แทนการรับผิดชอบในส่วนนี้ ซึ่งการเสียภาษีจะถือเป็นการสบทบเงินสนับสนุนรัฐโดยการบังคับมิใช่การสมัครใจและจะมีการแบ่งและเรียกเก็บตามชนิดของภาษีนั้นๆโดยอัตราการเรียกเก็บก็จะมีจำนวนที่แตกต่างกันออกไปซึ่งภาษีอากรที่กรมสรรพากรจัดเก็บ มีดังนี้

1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 👦

2.ภาษีเงินได้นิติบุคคล 🏨

3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม 💹

4.ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 💲

5.ภาษีธุรกิจเฉพาะ 🏧

6.ภาษีอากรแสตมป์ 💠

       ซึ่งการประกอบธุรกิจต่างๆควรมีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายและภาษีที่เกี่ยวข้องเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดและมีโทษทางกฎหมายตามมา

บทหน้าเราจะมาทำความรู้จักกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากันครับ


👇 หากต้องการรับฟังการบรรยายสดหรือข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบรรยาย 👇

______________________________________________________________________________

#สัมมนาประจำปี 🚩จากสถาบันคัสเม่ #ฟรีค่าอบรม สำหรับสมาชิก และเพียง 749.00 บาท สำหรับบุคคลทั่วไป(ราคานี้รวมทุกอย่างแล้ว)
👉สำรองที่นั่งก่อนเต็ม (จำกัดจำนวนเพียง 50 ที่นั่งเท่านั้น) ทางhttps://goo.gl/forms/KGD5xegmhmSHiFBf2
👉LINE: KASMETHAI
👉โทร. (033) 650-892