ทั้งนี้ สิ่งแรกที่ควรทำความเข้าใจก่อน ก็คือ
เมื่อไหร่ก็ตาม ที่เรามี เงินได้สุทธิ จากการขายอาหารต่ำกว่า 150,000 บาท ต่อปี ไม่ต้องเสียภาษี
หรืออีกนัยยะหนึ่ง ถ้ามีเงินได้สุทธิ เกินกว่า 150,000 บาทต่อปี ก็ต้องเสียภาษีนั่นเอง!
แล้วเงินได้สุทธิ คำนวณได้อย่างไร
เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน
[เก็บสมการนี้ไว้ในใจ แล้วเดี๋ยวเราจะมาหาค่า "เงินได้พึงประเมิน" หรือ ยอดขายที่ต้องเสียภาษี ย้อนกลับกัน]
สำหรับเงินได้พึงประเมินจากการขายอาหาร ถือว่าเข้าข่ายเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8
ซึ่งกรมสรรพากร อนุญาตให้เลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี คือ
หักแบบเหมา หรือ หักตามจริง
ซึ่งโดยทั่วไป วิธีคิดอย่างง่ายและยื่นภาษีได้สะดวก ใช้เอกสารไม่มาก คือการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา
โดยกรมสรรพากรกำหนดให้หักค่าใช้จ่ายได้ 60% จากรายได้การทำอาหารขาย
ค่าใช้จ่าย = 60% x เงินได้พึงประเมิน
สำหรับค่าลดหย่อน จะขึ้นอยู่ในแต่ละบุคคล ซึ่งค่าลดหย่อนพื้นฐานก็คือ
ค่าลดหย่อนส่วนตัว = 60,000 บาท
และกรณีมีค่าลดหย่อนอื่นๆ ก็สามารถคำนวณปรับเพิ่มได้
คราวนี้ ลองนำสมการที่ตั้งไว้ในใจ นำตัวเลขที่ไฮไล้ท์มาใส่ และเซ็ตค่า "เงินได้พึงประเมิน" หรือ "ยอดขายที่ต้องเสียภาษี" ให้เป็น X
เงินได้สุทธิ = 150,000
เงินได้พึงประเมิน = X
ค่าใช้จ่าย = 60%
ค่าลดหย่อน = 60,000
[เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน]
150,000 = X - 0.6 - 60,000
X = 525,000 บาท
สรุป ยอดขายจากการขายอาหารเกินกว่า 525,000 บาทต่อปี ต้องเสียภาษีนะจ๊ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ลงทุนศาสตร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น