ตามหลักกฎหมายบัญญัตินั้น กำหนดให้ผู้ที่มีสิทธิขอคืนภาษีจากกรมสรรพากร จะต้องเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายเท่านั้น มิอาจตีความขยายรวมไปถึง ผู้ไม่มีหน้าที่เสียภาษีหรือผู้ที่ถูกพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บแทนผู้มีหน้าที่เสียภาษีไปด้วย
อย่างไรก็ตาม ได้มีข้อวินิจฉัยบางข้อ ที่เป็นกรณีที่สามารถทำได้ ท่านสามารถพิจารณาได้ตามกรณีศึกษาด้านล่าง ซึ่งถูกเผยแพร่โดยกรมสรรพากรค่ะ
" ความจริงที่เกิดขึ้นแล้ว
นายหนึ่ง
เป็นผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี
ในวันดังกล่าวเจ้าพนักงานที่ดินได้เรียกเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีในส่วนที่เป็นรายได้ของท้องถิ่นจากนายหนึ่ง
โดยระบุในใบเสร็จรับเงินว่าได้รับเงินจากนางสาวปุ้ม เจ้าของที่ดิน
ต่อมา
กรมสรรพากรออกกฎหมายลดภาษีธุรกิจเฉพาะย้อนหลังให้
นายหนึ่งจึงยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีธุรกิจเฉพาะจากกรมสรรพากรเอง
โดยไม่ได้ให้นางสาวปุ้มมอบอำนาจให้นายหนึ่งขอคืนภาษีในนามของนางสาวปุ้มแต่อย่างใด
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะ
จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร คือ
ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนภาษีภายในสามปี
นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี
ซึ่งกำหนดให้ใช้บังคับแก่กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายเท่านั้น กรณีนี้
นางสาวปุ้มจึงเป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
แต่ตามข้อสัญญาท้ายประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดี
ระบุให้ผู้ซื้อต้องเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมในการโอนและค่าภาษีต่าง ๆ
จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลรัษฎากร และในหนังสือขอให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์
ระบุให้เจ้าพนักงานที่ดินเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าภาษีต่าง ๆ
จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลรัษฎากรจากผู้ซื้อ
กรณีนี้นายหนึ่งเป็นผู้ชำระเงินค่าภาษีตามข้อสัญญาท้ายประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดี
จึงทำให้การขอคืนค่าภาษีจากกรมสรรพากรไม่อยู่ภายใต้บังคับของประมวลรัษฎากร
ทำให้นายหนึ่งมีสิทธิ์ได้รับเงินภาษีธุรกิจเฉพาะคืนได้
"หน้าต่างแห่งความรู้ ประตูสู่ความสำเร็จ" |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น