วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

คู่มือการจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชี ที่สามารถเป็นรายจ่ายทางภาษีได้

คู่มือการจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชี 
ที่สามารถเป็นรายจ่ายทางภาษีได้

ไม่มีหลักฐานการจ่ายเงิน แต่จ่ายไปแล้วหรือผู้ขายไม่ยอมให้ใบเสร็จ แต่ก็จ่ายไปแล้ว!!

และเราจะต้องทำยังไง ให้สามารถมูลค่าที่จ่ายจริง เป็นรายจ่ายทางภาษีได้??

#คำตอบ อยู่ตรงนี้กับ "คู่มือการจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชี ที่สามารถเป็นรายจ่ายทางภาษีได้" ดาวน์โหลดเก็บไว้ได้เลยค่ะ

vvv ดาวน์โหลด click vvv



The Institute of Effective Training for SMEs

----------------------


#UPDATE จำนวนที่นั่งคงเหลือ 6 ที่นั่งสุดท้ายแล้วค่ะ 🔥🔥🔥
--------------
เริ่มนับถอยหลัง กับหลักสูตร #ใบกำกับภาษีกลไกสำคัญในระบบVAT(ความลับที่ต้องรู้) #สำรองที่นั่ง โทร.(033) 650-891-2 หรือ click>> https://goo.gl/forms/2X2wGsnjDs1hbu893
.
.
#หลักสูตร: ใบกำกับภาษี กลไกสำคัญในระบบ VAT (ความลับที่ต้องรู้) เตรียมพบกับการเจาะลึกพร้อมซักถามประเด็นสำคัญของใบกำกับฯ ในเรื่องของ
🚩 ใบกำกับฯ กับการควบคุมหนี้ค่าภาษีที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน
🚩 การควบคุมยอดเงินที่มีสิทธิขอคืน หรือขอเครดิตในแต่ละเดือน จากใบกำกับฯ
🚩 ประเด็นด้านหลักฐานสำคัญของผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ
🚩 วิธีการและข้อปฏิบัติที่จะทำให้ภาษีซื้อขอคืนได้
🚩 ความสัมพันธ์ในเรื่องของ #ต้นทุน #บัญชี #ภาษีหัก ณ ที่จ่าย #ภาษีมูลค่าเพิ่ม #ภาษีนิติบุคคล #อากรแสตมป์ ฯลฯ
🚩 "ภาพความน่าเชื่อถือ" สำหรับธุรกิจ
🚩 รายได้ ต้นทุน และค่าใช้จ่าย ของธุรกิจ กับความสัมพันธ์กับใบกำกับภาษี
🚩 วิธีการจัดการ ควบคุมใบกำกับภาษีเพื่อสะท้อนภาพที่แท้จริงของธุรกิจ และการจัดการรายงานทางบัญชีเพื่อให้ทราบต้นทุนหรือกำไรแท้จริงของกิจการ
🚩 แนวทางการประหยัดเงินและเพิ่มกำไรให้ธุรกิจ จากใบกำกับ!!
.
และอีกหลากหลายประเด็นร้อน ที่อาจารย์ดำริ ดวงนภา คัดสรรมาให้กับท่าน ชนิด Exclusive +โอกาสถามตอบปัญหาทางภาษีในระหว่างคลาสเรียน
.
#วันและเวลา: พฤหัสบดีที่ 9 พ.ค.2562 (9.00 - 12.00 น.)
#วิทยากร: อ.ดำริ ดวงนภา, (Tax Auditor) ประสบการณ์ด้านการวางแผนภาษี & ที่ปรึกษา +30 ปี, อดีตเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรและนักวิชาการสรรพากร +14 ปี, เจ้าของผลงาน "การวางแผนและบริหาร VAT อย่างรู้ทัน: Secrets & Strategies" โดยอมรินทร์พับลิชชิ่งและสถาบัน MGA ปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาหอการค้า จังหวัดระยอง, ผู้บริหารในเครือบริษัท ดีสมาร์ท คอนซัลแทนท์ จำกัด และวิทยากรพิเศษให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐฯและภาคเอกชน
#สถานที่: โรงแรมแทมมารินด์ จ.ระยอง
#ราคา: 1,070 บาท/ที่นั่ง/หลักสูตร (รวม VAT, เอกสาร & เบรคแล้ว)
>>โปรโมชั่นสำหรับสมาชิก<< ลดทันที 10% จากราคาปกติ 1,070.00 เหลือเพียง 963.00 บาท
***จำกัดจำนวนที่นั่งเพียง 20 ท่านเท่านั้น***
-----------------------------------------------
🎖🎖KASME Exclusive Tax Course🎖🎖
-----------------------------------------------
#เข้าคลาสได้โดยไม่ต้องมีพื้นฐาน ทางบัญชีและภาษี
#คลาสเล็ก เรียนรู้เร็ว กระชับ รัดกุม ฉับไว ตรงประเด็น!
#ถามตอบปัญหาด้านภาษี ที่ไม่อาจพบได้จากคลาสอื่น +เรียนรู้ "ความลับ" ทางภาษี ภายในเวลาเพียง 3 ชั่วโมง!!
#เรียนรู้เพิ่มเติม click www.kasmethai.com

วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่มฯ ในเรื่อง "การยื่นแบบ+ปรับปรุงงบการเงิน" กับ อ.ดำริ ดวงนภา


TODAY LIVE!! กับภาค 2 ในเรื่องของ #พระราชบัญญัติยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่มฯ ว่าด้วยเรื่อง "การยื่นแบบ + ปรับปรุงงบการเงิน" กับท่านอาจารย์ ดำริ ดวงนภา




ท่านสามารถติดตามรับชมได้ที่นี่ หรือผ่านทาง www.kasmethai.com ค่ะ
+++++++++++

KASME (คัสเม่)
The Institute of Effective Training for SMEs

เตรียมพบกับอาจารย์ดำริ ดวงนภา ปรมาจารย์ด้านภาษี กับการไขความลับในเรื่องใบกำกับฯ ได้ ในวันที่ 9 พ.ค.นี้@โรงแรมแทมมารินด์การ์เด้น จ.ระยอง ***เหลือเพียง 8 ที่นั่งเท่านั้น***
📞(033) 650-891-2@LINE: KASMETHAI

วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2562

ลงทะเบียนใช้สิทธิตาม พรบ.ยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มฯแล้ว จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีใด? ต้องปรับปรุงงบการเงินหรือไม่??

LIVE สด!! กับอาจารย์ ดำริ ดวงนภา กับการเปิดประเด็นเมื่อ
+ลงทะเบียนใช้สิทธิตาม พรบ.ยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มฯแล้ว จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีใด ?? 
+ต้องปรับปรุงงบการเงินหรือไม่ ??



และอย่าลืม! เตรียมพบกับอาจารย์ดำริ ดวงนภา ปรมาจารย์ด้านภาษี กับการไขความลับในเรื่องใบกำกับฯ ได้ ในวันที่ 9 พ.ค.นี้@โรงแรมแทมมารินด์การ์เด้น จ.ระยอง #เหลือเพียง 8 ที่นั่งเท่านั้น
#Fast Tax in 3 Hours⚡️⚡️ #ใบกำกับภาษีกลไกสำคัญในระบบVAT(ความลับที่ต้องรู้) 🔑
สำรองที่นั่งวันนี้ได้ทาง click: https://goo.gl/forms/2X2wGsnjDs1hbu893
📞(033) 650-891-2
@LINE: KASMETHAI

#หลักสูตรผู้บริหารและท่านที่สนใจทั่วไม่ #ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานด้านบัญชีภาษี



+ลงทะเบียนใช้สิทธิตาม พรบ.ยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มฯแล้ว จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีใด ?? 
+ต้องปรับปรุงงบการเงินหรือไม่ ??

KASME (สถาบันคัสเม่)
The Institute of Effective Training for SMEs

วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2562

แนวทางสนับสนุนพร้อมมุมมองจาก 5 หน่วยงาน ต่อพรบ.ยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่มฯ ผ่านบันทึกข้อตกลง(MOU)

เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2562 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร สภาวิชาชีพบัญชี ธนาคารแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ว่าด้วย "การสนับสนุนและกำกับดูแลผู้ประกอบการให้จัดทำบัญชีและงบการเงินให้ถูกต้องและสอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ" เพื่อสนับสนุนให้ภาคธุรกิจและนิติบุคคลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดทำบัญชี งบการการเงิน และเข้าสู่ระบบภาษี เพื่อสะท้อนการเจริญเติบโตของธุรกิจอย่างถูกต้องสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่ต้องการสนับสนุนและเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจได้ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน


โดยข้อตกลงดังกล่าวนั้น ได้มีการยกมาตรการการยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่มของกรมสรรพากร ผ่าน "พรบ.ยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรฯ"

ทั้งนี้มาตรการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อจูงในให้นิติบุคคลที่เข้าเกณฑ์ได้รับสิทธิยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่ม เข้าสู่ระบบ และจัดทำงบการเงินให้ถูกต้องสอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ

โดยนิติบุคคล ที่เข้าเกณฑ์เงื่อนไขที่สามารถลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิดังกล่าวได้นั้น มีดังนี้
- มีรายได้จากรอบบัญชี 12 เดือนล่าสุด (นับวันสุดท้ายของรอบบัญชีที่สิ้นสุดก่อน 30/09/61) ไม่เกิน 500 ล้านบาท โดยนิติบุคคลจะต้องยื่นภาษีเงินได้หรือแบบ ภงด.50 สำหรับรอบบัญชีดังกล่าวนี้เรียบร้อยแล้ว 
- ไม่อยู่ในระหว่างการถูกดำเนินคดี ถูกฟ้องร้อง โดยกรมสรรพากรในเรื่องของการใช้ใบกำกับภาษีไม่ชอบด้วยกฏหมาย หรือมีการการกระทำผิดอันว่าด้วยเรื่องของใบกำกับภาษี
- ลงทะเบียนใช้สิทธิภายใน 30 มิถุนายน 2562 
- ไม่ใช้สิทธิในการผ่อนภาษี ต้องชำระเต็มจำนวน
- ยื่นงบการเงินผ่านระบบ e-Filing หลังจากนั้นอีก 1 ปี

สำหรับแนวทางการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการจัดทำบัญชีและงบการเงินให้ถูกต้อง พร้อมกับมุมมองจากแต่ละภาคส่วนต่อข้อตกลงดังกล่าว สามารถสรุปพอสังเขปได้ดังนี้

ในส่วนของภาคธนาคารแห่งประเทศไทย
> ข้อมูลงบการเงินที่ชัดเจน สามารถสะท้อนให้เห็นถึงสภาพที่แท้จริงของกิจการ ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือจากสถาบันการเงิน 
> เมื่อมีความน่าเชื่อถือต่อสถาบันการเงิน -> การให้สินเชื่อก็จะทำได้โดยสะดวกขึ้น และ อัตราดอกเบี้ยก็จะผันแปรตามความน่าเชื่อถือของกิจการเช่นเดียวกัน

#แนวทางจากภาคธนาคารเพื่อการสนับสนุนนโยบาย
> ธนาคารแห่งประเทศไทย จะมีการกำหนดนโยบายเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับแต่ละสถาบันการเงิน เพื่อการนำไปใช้ วิเคราะห์ สานต่อ ต่อลูกค้าธนาคารของแต่ละธนาคาร เช่น แนวทางการบริหาร/จัดการเงินสด หากงบการเงินแสดงให้เห็นข้อมูลที่คาดว่าต่ำกว่าความเป็นจริง อาจส่งผลถึงการกำหนดดอกเบี้ยต่อธุรกิจองค์กรนั้นๆ หรือการประเมินความเสี่ยงของแต่ละกิจการ จากการประเมินความถูกต้องของงบการเงิน

ในส่วนของภาคกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
> สนับสนุนการทำบัญชีให้ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยในด้านธุรกิจในด้านการคำนวณค่าใช้จ่าย ต้นทุนสินค้าได้อย่างถูกต้อง
> งบการเงินที่ถูกต้อง จะเป็นตัวสะท้อนต่อสภาพความเป็นจริงในด้านการลงทุนในแต่ละพื้นที่ ตามแต่ละประเภทของธุรกิจ โดยภาพใหญ่ของลักษณะธุรกิจในแต่ละพื้นที่ จะช่วยในด้านการกำหนดงบประมาณ
และวางยุทธศาสตร์ตามลักษณะพื้นที่นั้นๆ ได้อย่างถูกต้อง

#แนวทางจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเพื่อการสนับสนุนนโยบาย
> มีการกำหนดช่องทางพิเศษ "Fast Track" สำหรับการยื่นงบการเงินที่ต้องแก้ไข
> มีการจัดทำคู่มือกับสรรพากรเพื่อนำไปใช้สำหรับการปรับปรุงงบการเงิน
> จับมือกับ Start Up "Total Solution for SMEs" สำหรับการสนับสนุนการทำธุรกรรม Online เพื่อทดสอบการเชื่อมโยงระบบกับสถาบันการเงิน โดยสถาบันการเงิน จะเห็นสภาพเนื้อแท้ของธุรกิจ -> ส่งผลให้ภาคธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อได้อย่างสมเหตุสมผลต่อไป
> มีการวางโปรแกรมบัญชีผ่านบนเว็บไซต์ของกรมพัฒน์ฯ ดาวน์โหลดฟรีสำหรับการใช้งาน โดยโปรแกรมนี้สามารถ convert ไฟล์ และส่ง DBD e-Filing ได้ทันที

ในส่วนของภาคสภาวิชาชีพบัญชี
> สนับสนุนผลักดันการจัดทำบัญชีให้ถูกต้อง
> ระบบบัญชีที่ไม่ดี จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางธุรกิจ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือด้านการขยายธุรกิจผ่านการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน
> สภาวิชาชีพบัญชีฯ พยายามออกแนวทางปฏิบัติให้มีการจัดทำงบการเงินให้ถูกต้องต่อไปในอนาคต

#แนวทางจากสภาวิชาชีพบัญชีฯ เพื่อการสนับสนุนนโยบาย
> จัดเตรียมซอฟท์แวร์ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเพื่อการจัดทำ & ลงบัญชี
> ดาวน์โหลดได้ทางทางเว็บไซต์ของสภาฯ "SME สบายใจ" โดยจะถูกเปิดใช้อย่างเป็นทางการในเดือนเมษายนนี้ และแนะนำให้ SMEs ดาวน์โหลดโปรแกรมบัญชีดังกล่าวไปใช้งาน คู่ขนานกับบัญชีจากสำนักงานบัญชี

ในส่วนของภาคเอกชน คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)
> สนับสนุนการจัดทำงบการเงินให้ถูกต้อง เพื่อคลายความกังวลด้านการถูกเรียกตรวจจากสรรพากร และสร้างความน่าเชื่อถือของธุรกิจ
> การทำงบการเงินให้ถูกต้อง ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่โปร่งใส ดึงดูดนักลงทุนให้ร่วมลงทุนในธุรกิจ (Joint Venture)
> มีผลบวกต่อการพิจารณาการให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
> มีโอกาสเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ง่ายขึ้น เนื่องจากงบการเงินสะท้อนภาพความเป็นจริงของกิจการ
> พรบ.ยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่ม ให้โอกาสให้กิจการที่ทำไม่ถูกต้อง ได้เข้ามาปรับตัวใหม่ และยังได้รับสิทธิในการยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่ม

#แนวทางจากภาคเอกชนเพื่อการสนับสนุนนโยบาย
> ร่วมปฏิบัติตามในการจัดทำงบการเงินให้ถูกต้อง ส่งเสริมการมีธรรมาภิบาล และการอยู่ในระบบจะช่วยคลายความกังวลได้มากขึ้น

ในส่วนของกรมสรรพากร
> มาตรการ พรบ.ยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่มฯ จะเป็นมาตรการสุดท้ายจากกรมสรรพากรที่จะถูกออกมาใช้เพื่อผลักดันให้นิติบุคคล จัดทำบัญชีให้ถูกต้อง
> นิติบุคคลที่เคยลงทะเบียนไว้เมื่อปี 2559 จากมาตรการบัญชีชุดเดียว และทำงบการเงินได้อย่างถูกต้องแล้วนั้น ไม่ต้องลงทะเบียน ทั้งนี้นิติบุคคลที่เคยจดแจ้งบัญชีชุดเดียว แต่ยังทำไม่ถูกต้อง สามารถลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2562
> อย่างไรก็ตาม สำหรับนิติบุคคล ที่ไม่สนใจ และยังคงทำไม่ถูกต้อง เมื่อพ้นวันที่ 30 มิถุนายน 2562 แล้วนั้น กรมสรรพากรจะนำข้อมูลจากฐานข้อมูลทั้งหมดเพื่อจัดกลุ่มแยกประเภทตามความเสี่ยงของผู้ประกอบการ

#แนวทางจากกรมสรรพากรเพื่อการสนับสนุนนโยบาย
> เปิดโอกาสให้นิติบุคคลที่เข้าเกณฑ์ตรงตามเงื่อนไขสามารถลงทะเบียนได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2562 เพื่อใช้สิทธิยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่มภาษีอากร
> สำหรับนิติบุคคล ที่ปรากฏว่ามีความเสี่ยงสูง และไม่ลงทะเบียนใช้สิทธิ จะมีมาตรการปราบปราม โดยมีการออกหมายเรียก พร้อมการตรวจปฏิบัติการ ซึ่งหมายเรียกดังกล่าวจะถูกส่งไปยังกรรมการผู้จัดการ และอาจรวมถึงผู้ถือหุ้นด้วย
> กรมสรรพากร จะมีการบูรณาการข้อมูลกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, ธนาคาร, สภาวิชาชีพบัญชีฯ เพื่อให้การทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
> งบการเงินที่สะท้อนความเสี่ยง และไม่ถูกต้อง จะส่งผลถึง ผู้สอบบัญชี ผู้ทำบัญชี และกิจการ เช่นกัน
> จะมีการตั้งข้อสังเกตุกับธุรกิจ ที่มีการทำธุรกรรมโดยใช้ "เงินสด" เป็นหลัก โดยพิจารณาจากธรรมชาติของธุรกิจว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด 

อ่านรายละเอียด พรบ. ยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการ เกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. ๒๕๖๒ CLICK: http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/kormor/newlaw/prbsupport.pdf


The Institute of Effective Training for SMEs

วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2562

สร้างโอกาสให้ SMEs เข้าถึงซอฟท์แวร์บริหารจัดการธุรกิจแบบครบวงจร

สร้างโอกาสให้ SMEs เข้าถึงซอฟท์แวร์บริหารจัดการธุรกิจแบบครบวงจร

โครงการดีๆ จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กับการจัดเตรียมโปรแกรมสำหรับ SMEs เพื่อประโยชน์สำหรับธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น

- การจัดการเอกสาร Office
- การขายหน้าร้าน POS
- บัญชี Accounting


สำหรับ #ขั้นตอนการลงทะเบียนรับโปรแกรม
1.สมัครใช้งานระบบ e-registration กับกรมพัฒน์ฯ ผ่านทาง https://ereg.dbd.go.th/ERegistMemberWeb/nonmemberpages/termNewMember.xhtml?fbclid=IwAR13lwcawWW50QpFwMOXRUz9TCrO1yIDl0Bn7NXNUYv7hdoQydOATR-2ma8

หรือ >> สมัครใช้งานระบบ DBD e-Filing ผ่านทาง http://efiling.dbd.go.th/corpmembersignon/faces/registration.jsp?fbclid=IwAR0pUC-Vj2hdovSAq088Bx_fszv7e3b4M2MClfUqCm8H3xkVxnC73i7Skyk

2.เมื่อได้รับรหัสผู้ใช้งาน+รหัสผ่านจากทางเจ้าหน้าที่แล้ว ท่านสามารถลงทะเบียนรับโปรแกรมผ่านทางลิ้งค์ http://smes.dbd.go.th/dbdsmes-web/login.xhtml
ได้เลยค่ะ

#ตรวจสอบรายชื่อซอฟท์แวร์ที่เข้าร่วมโครงการ http://smes.dbd.go.th/dbdsmes-web/smes26Software.pdf
#เว็บไซต์อ้างอิง: http://smes.dbd.go.th/dbdsmes-web/

วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2562

บริจาคให้พรรคการเมืองหักได้ไม่เกิน 50,000 บาท (พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลฯ ฉ.ที่51 พ.ศ.2562)

เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2562 ได้มีประกาศผ่านทางเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา http://www.ratchakitcha.soc.go.th เผยแพร่พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่51) พ.ศ.2562 มีทั้งหมด7มาตรา โดยบัญญัติให้รายจ่ายซึ่งเป็นเงินที่บริจาคแก่พรรคการเมืองตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ(พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง ให้หักได้ไม่เกิน 50,000 บาท ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด



ดาวน์โหลดประกาศราชกิจจานุเบกษา พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 51) พ.ศ.2562 ได้ที่นี่ https://drive.google.com/file/d/1gJwcprpvam_l4DvpAo_RtgIVXo2rK2sR/view?fbclid=IwAR0LAqSn82MXrDgrCyBffU35eG7ydCWW7CKejG4yi4miHo0EMMLWR9e3wU0



The Institute of Effective Training for SMEs

วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2562

การส่งสินค้าผ่านทางไปรษณีย์กับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

การส่งสินค้าผ่านทางไปรษณีย์กับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

วันนี้ แอดมินสถาบันคัสเม่👩‍🏭 ขอกลับมาอัพเดตความรู้ทางภาษี สำหรับท่านที่อาจมีข้อสงสัย "หากเราขายของออนไลน์ และจำต้องจัดส่งสินค้าไปยังต่างประเทศผ่านทางระบบไปรษณีย์ เราจะต้องเสีย VAT ด้วยหรือไม่ ??"


วันนี้ พวกเรามีคำตอบมาให้กับทุกท่านแล้วค่ะ

#การส่งสินค้าทางไปรษณีย์กับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

ในการก้าวเข้าสู่ยุคระบบดิจิตอลในปัจจุบัน ทำให้ธุรกิจออนไลน์เกิดความเฟื่องฟูเป็นอย่างมาก มีผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยที่ได้มีการขายสินค้า และส่งสินค้าออกไปให้กับผู้ซื้อ ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศ หรือต่างประเทศผ่านทางระบบ "ไปรษณีย์"

อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่มักเกิดขึ้นสำหรับผู้ประกอบการที่เป็นผู้ส่งออก คือ รูปแบบการส่งออกสินค้าที่ส่งผลให้ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ตามมาตรา 77/1 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีผู้ประกอบการส่งออกหลายรายไม่ทราบข้อมูลกฏหมายในประเด็นนี้ และมักส่งสินค้าผ่านทางไปรษณีย์ไปยังต่างประเทศ โดยเข้าใจว่าสินค้าที่ส่งออกทุกกรณีได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0

#สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการส่งออกควรทำความเข้าใจ ในการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศผ่านทางไปรษณีย์ ผู้ประกอบการที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร นั้นคือ

🌿 ผู้ประกอบการที่มีหลักฐาน #สำเนาใบขนสินค้าขาออก ที่ผ่านพิธีการศุลกากรฉบับที่มีการสลักหลังการตรวจปล่อยสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่ามีการตรวจปล่อยสินค้า โดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรในนามของผู้ประกอบการ
🌿 หากข้อเท็จจริงพบว่าผู้ประกอบการได้ส่งออกสินค้าทางไปรษณีย์ #แต่ไม่มีหลักฐานดังกล่าว จะถือว่าสินค้าที่ส่งนั้นเข้าลักษณะเป็นการขายในราชอาณาจักร ตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร 
🚩จึงทำให้ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ของมูลค่าสินค้าที่ส่งออก ตามมาตรา 77/2 และ มาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร 
🚩นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีที่มีรายการตามที่กำหนด ในมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร 

🚩และจัดทำรายงานภาษีขายตามมาตรา 87(1) แห่งประมวลรัษฎากรอีกด้วย

The Institute of Effective Training for SMEs