วันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2560

DOWNLOAD วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, นิติบุคคล, มูลค่าเพิ่ม, ธุรกิจเฉพาะ, อากรแสตมป์

กรมสรรพากร ได้จัดทำเอกสารเผยแพร่ สำหรับกิจการหรือท่านที่สนใจค้นหาวิธีการคำนวณภาษี ดังต่อไปนี้

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
อากรแสตมป์

ท่านสามารถดาวน์โหลดเพื่อการใช้งาน หรืออ่านรายละเอียดได้ทาง https://drive.google.com/open?id=0BzEZ-zz8JHgHb0xkdFFuSm5GMkk


-อ้างอิงจาก: กรมสรรพากร-



หน้าต่างแห่งความรู้ ประตูสู่ความสำเร็จ
สถาบันคัสเม่

วันพุธที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2560

CPD & CPA อย่าลืมรักษาสถานะภาพของท่านก่อนสิ้นปีนะคะ

CPD & CPA อย่าลืมรักษาสถานะของท่านก่อนสิ้นปีนะ


แล้วพบกับงานอบรมครั้งต่อไปจากสถาบันคัสเม่
ในวันที่ 22 & 23 พ.ย.นี้
CPD อบรมครบ 2 วัน นับชั่วโมงครบปี !!
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง (038)872-046 หรือผ่านทาง LINE: KASMECPD
สำรองที่นั่ง: www.kasmethai.com/reservations



วันอังคารที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2560

e-Tax Invoice ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์กับแนวคิดโลกยุคใหม่ Thailand 4.0 (FAP)

e-Tax Invoice & Receipt VS e-Tax Invoice by E-mail กับคุณสมบัติของกิจการ ที่ #ต้องเลือกวิธีเพียงอย่างใดอย่างนึง !

(อ้างอิงจาก www.fap.or.th)







ชาวบัญชี ชาวภาษี มีเฮ !! เตรียมพร้อมพบกับคำตอบไปด้วยกัน กับการเปิดเผยทุกประเด็นข้อสงสัย + แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างท่านวิทยากรกับผู้เข้าอบรม ในงานสัมมนา 



"รู้ทันจุดตรวจลดความเสี่ยงกิจการ" & Special Bonus กับการเปิดเผยกฏหมายภาษี 4.0 ด้วยประเด็น e-Tax Invoice by E-mail + e-Tax Invoice & Receipt โดย นิติกรเชี่ยวชาญสำนักกฏหมายกรมสรรพากร และ 1 ในผู้เขียน ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร 2559  ท่านอาจารย์ อดิศักดิ์ สืบประดิษฐ์ 




แล้วพบกันในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2560 Star Convention Hotel, Rayong ตั้งแต่เวลา 9:00 - 16:30 น.
#CPA|CPD นับชั่วโมงอื่นๆ 6 ช.ม.
สำรองที่นั่งได้ทาง www.kasmethai.com/reservations หรือ โทร.(038) 872-046


www.kasmethai.com
FB: kasmeco
Line: kasmecpd

วันจันทร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2560

รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน มีสิทธิลงรายจ่ายทางภาษีได้บางกรณี (อ้างอิงจาก กรมสรรพากร)

รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน มีสิทธิลงรายจ่ายทางภาษีได้บางกรณี

(อ้างอิงจาก กรมสรรพากร)

รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน (Capital Expenditure) เป็นรายจ่ายที่กิจการได้จ่ายไปเพื่อให้ได้ทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทนเป็นการถาวรต่อกิจการของผู้ประกอบการไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งทรัพย์สินนั้นต้องมีประโยชน์ในการใช้งานได้เป็นระยะเวลายาวนานหลายปี (เกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี) โดยรายจ่ายดังกล่าวไม่ได้จำกัดเฉพาะการซื้อทรัพย์สินเพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในทรัพย์สินเท่านั้น แต่รวมถึงรายจ่ายในการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้น ซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการ แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม เช่น รายจ่ายเพื่อซื้อเครื่องจักร โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ต่อเติม ปรับปรุงหรือรีโนเวตสำนักงาน อาคาร เป็นต้น

กรณีดังกล่าว บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ผู้ประกอบการ) ไม่สามารถนำรายจ่ายในปีที่ซื้อทรัพย์สิน หรือต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินเกี่ยวเนื่องกับกิจการมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี(5) แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการสามารถนำรายจ่ายที่ได้ซื้อทรัพย์สินนั้นมาเฉลี่ยตามจำนวนปีที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้น ซึ่งตามหลักกฏหมายภาษีอากร เรียกว่า การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน ซึ่งกิจการสามารถหักได้ตามอัตราและระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามมาตรา 65 ทวิ(2) และพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527 ได้ปกติ

รายจ่ายในการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการ เป็นรายจ่ายที่ทำให้อายุการใช้งานของทรัพย์สินเดิมยาวนานขึ้น หรือปรับปรุงสภาพของทรัพย์สินที่กิจการมีอยู่แล้วให้มีสภาพดีขึ้น ประโยชน์การใช้มีมากขึ้นกว่าเดิมที่เป็นอยู่ โดยมีลักษณะแตกต่างกัน แยกได้ดังนี้

1.รายจ่ายในการต่อเติม หมายถึง รายจ่ายเพื่อการต่อเติมส่วนต่าง ๆ ของทรัพย์สิน เช่น รายจ่ายในการต่อเติมอาคาร จากเดิมซึ่งมี 4 ชั้น เป็น 6 ชั้น ค่าต่อเติมหลังคาของรถกระบะ ค่าต่อเติมอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ เป็นต้น

2.รายจ่ายในการเปลี่ยนแปลง หมายถึง รายจ่ายในการเปลี่ยนแปลงสภาพของทรัพย์สิน เช่น รายจ่ายในการกั้นห้อง ค่าทุบทำลายฝากั้นห้อง เจาะประตู หน้าต่าง ค่าใช้จ่ายในการดัดแปลงรถยนต์บรรทุกหรือรถยนต์โดยสารให้เป็นรถยนต์นั่ง เป็นต้น

3.รายจ่ายในการขยายออก หมายถึง รายจ่ายในการขยายทรัพย์สินออกไป ซึ่งมักขยายออกไปในลักษณะของการขยายขนาดของทรัพย์สิน เช่น รายจ่ายในการขยายอาคารโรงงาน เป็นต้น

4.รายจ่ายในการทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน หมายถึง รายจ่ายในการทำให้คุณภาพหรือสภาพของทรัพย์สินดีขึ้นไปกว่าสภาพ ณ วันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา ที่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมหรือบำรุงรักษา เช่น รายจ่ายในการเปลี่ยนซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมสั่งงานหรือควบคุมเครื่องจักร เป็นต้น

รายจ่ายในการทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน มีความคล้ายคลึงกับรายจ่ายในการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมค่อนข้างมาก ซึ่งในการพิจารณารายจ่ายในการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ให้พิจารณาว่า รายจ่ายนั้นเป็นการซ่อมแซมทรัพย์สินที่ชำรุดให้ใช้งานได้ตามเดิม โดยไม่ได้ทำให้ทรัพย์สินนั้นมีสภาพดีขึ้นกว่าเดิม เช่น การเปลี่ยนยาง อะไหล่รถยนต์ แทนของเดิมที่ใช้งานมานาน หรือซ่อมแซมทรัพย์สินให้ใช้งานได้ตามเดิม เป็นต้น

ในปัจจุบัน นอกจากผู้ประกอบการจะนำรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนนั้นมาหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ตามกฏหมายแล้ว ผู้ประกอบการที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 642) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 304)ฯ ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2560 ยังได้รับสิทธิในการหักรายจ่ายเพื่อการลงทุนดังกล่าวเพิ่มได้อีก 0.5 เท่า โดยให้เฉลี่ยรายจ่ายดังกล่าวในจำนวนเท่าๆกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามประเภทของทรัพย์สิน ซึ่งทรัพย์สินที่จะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้เพิ่มขึ้นนั้น จำกัดไว้ 4 ประเภท ได้แก่

(1) เครื่องจักร ส่วนประกอบ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องตกแต่งและเฟอร์นิเจอร์
(2) โปรแกรมคอมพิวเตอร์
(3) ยานพาหนะที่จดทะเบียนในราชอาณาจักร แต่ไม่รวมรถยนต์นั่นหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฏหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ที่มิใช้ได้มาเพื่อนำออกให้เช่า และ
(4) อาคารถาวร (ไม่รวมที่ดินและอาคารถาวรที่ใช้เพื่อการอยู่อาศัย) สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ให้แก่ผู้ประกอบการนี้เป็นการสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนลงทุนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวมากยิ่งขึ้น


วันจันทร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2560

มาตรการภาษีสนับสนุนโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก

มาตรการภาษีสนับสนุนโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก
Eastern Economic Corridor (EEC)



อ้างอิงจาก: www.rd.go.th

โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก หรือ Eastern Sea Board Development Program (ESB) เป็นจุดเริ่มต้นในการทำให้ภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยก้าวหน้า และเป็นต้นแบบให้เกิดโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor (EEC) ซึ่งโครงการนี้เป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตในอัตราที่สูงมากขึ้น ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องมีมาตรการสนับสนุนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยมาตรการด้านภาษีก็เป็นเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญในการสนับสนุนและเชิญชวนให้นักลงทุนและบุคคลผู้มีทักษะสูงเข้ามาพัฒนาโครงการมากยิ่งขึ้น

(อ่านต่อ... คลิ๊ก)




วันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2560

บทความสรรพากร: สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว


อ้างอิงบทความจาก: มุมสรรพากร ประจำเดือนมิถุนายน 2560 ฉบับที่ 61

การท่องเที่ยวนับเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญสาขาหนึ่ง ซึ่งทำรายได้เข้าประเทศเป็นมูลค่ามหาศาลติดต่อกันมาเป็นเวลานานหลายปี และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้การผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเกิดการขยายตัว เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เช่น ธุรกิจโรงแรม ที่พัก อาหารและเครื่องดื่ม ของที่ระลึก บริการรถเช่าสถานที่จอดรถ เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดการจ้างงานและยังเป็นกลไกที่สำคัญ ในการกระจายรายได้และความเจริญสู่ภูมิภาคอีกด้วย

รัฐบาลจึงกำหนดนโยบายการท่องเที่ยวโดยส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนการท่องเที่ยวและเร่งรัดการปรับปรุงมาตรฐานในเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวก ความปลอดภัย และสุขอนามัย เพื่อเป็นการเชิญชวนนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ดังนั้น รัฐบาลจึงได้มีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อให้ภาคเอกชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว โดยภาคเอกชนที่จะได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้

1. เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายไทย

2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถนำรายจ่ายในการลงทุนสำหรับโครงสร้างพื้นฐานหรือการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวในชนบทและได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เกิดขึ้นจากการลงทุนดังกล่าว โดยไม่มีค่าตอบแทน ให้แก่ส่วนราชการ องค์กรของรัฐบาล หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ 2 เท่าของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปในการลงทุนสำหรับโครงสร้างพื้นฐาน หรือการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวในชนบท และได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เกิดขึ้นจากการลงทุนดังกล่าวโดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะ หรือเพื่อการสาธารณประโยชน์และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬาตามมาตรา 65 ตรี(3) แห่งประมวลรัษฎากร

3. ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สินหรือการขายสินค้า หรือสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เกิดขึ้นจากการลงทุนสำหรับโครงสร้างพื้นฐานหรือการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวในชนบทโดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่ ส่วนราชการ องค์กรของรัฐบาล หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยผู้โอนจะต้องไม่นำต้นทุนของทรัพย์สินหรือสินค้า ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีดังกล่าวมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

4. เป็นโครงการที่ท้องถิ่นมีความต้องการจะพัฒนาในเชิงเศรษฐกิจและสังคม การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานได้แก่

1) ไฟฟ้า
2) ประปา
3) ถนน หรือ ทางพิเศษ
4) โทรคมนาคม หรือโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
5) พลังงานทางเลือก
6) ระบบบริหารจัดการนำ หรือการชลประทาน
7) ระบบป้องกันภัยธรรมชาติ รวมถึงระบบเตือนภัยและระบบจัดการเพื่อลดความรุนแรงของภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นด้วย
8) พัฒนาหรือปรับปรุงอุทยานแห่งชาติ
9) พัฒนาหรือปรับปรุงโบราณสถาน
10) พัฒนาหรือปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวอื่นที่อยู่ในการกำกับดูแลของส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

5. สิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าวสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2559 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2561 เป็นระยะเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชี

นอกจากการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้สะดวกสบายแล้วผู้ประกอบการในแหล่งท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวก็ควรมีจิตสำนึกที่ดีในการให้บริการและใช้บริการแหล่งท่องเที่ยวซึ่งจะส่งผลให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและยั่งยืนสืบต่อไป

VISIT OUR PAGE >> WWW.FACEBOOK.COM/KASMECO


สถาบันคัสเม่ สถาบันฝึกอบรมภาษี บัญชี การเงิน การลงทุน แห่งแรกของจังหวัดระยอง
KASME The Institute of Effective Training for SMEs
โทร. &  แฟกซ์ (038) 872-046

วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ข่าวสารจากกรมสรรพากร: หลักเกณฑ์การเปลี่ยนผู้ประกอบการจาก"บุคคล"เป็น"นิติบุคคล"

หลักเกณฑ์การเปลี่ยนผู้ประกอบการจาก "บุคคล" เป็น "นิติบุคคล"

อ้างอิงจาก: กรมสรรพากร


ในการประกอบธุรกิจนั้น ส่วนใหญ่สิ่งแรกๆที่นึกถึง คือ การจดทะเบียนบริษัทเพื่อจัดตั้งเป็นนิติบุคคล จะเห็นได้ว่าปัจจุบันการดำเนินกิจการ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ SMEs หรือผู้ประกอบการรายใหม่ New Start-up หรือแจ้งเป็นผู้ประกอบการบัญชีชุดเดียว ถือเป็นนิติบุคคลที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี รวมทั้งยังได้รับสิทธิในการขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน และยังช่วยส่งเสริมภาคธุรกิจให้มีการขยายตัวและเติบโตอย่างมีศักยภาพอีกด้วย สำหรับผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจในรูปของบุคคลธรรมดา หากตัดสินใจที่จะเปลี่ยนเป็นนิติบุคคล จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญได้เป็น 2 กรณี

กรณีบุคคลธรรมดา
ซึ่งได้แก่ "บุคคล" ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2560 จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

1. บุคคล (ผู้โอน) ต้องโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามราคาตลาดให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ผู้รับโอน) เพื่อใช้เป็นทุนจดทะเบียนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

2. บุคคล (ผู้โอน) ต้องถือหุ้นในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ผู้รับโอน) ไม่น้อยกว่ามูลค่าทรัพย์สินที่โอนให้

3. บุคคล (ผู้โอน) ต้องไม่โอนหุ้นที่เกิดจากการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ซึ่งได้รับยกเว้นรัษฎากรในราคาตำ่กว่ามูลค่าหุ้นทางบัญชี

4. บุคคล (ผู้โอน) และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ผู้รับโอน) ต้องร่วมกันจัดทำหนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้เป็นทุนจดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยบุคคล (ผู้โอน) ต้องดำเนินการ

4.1 ส่งมอบหนังสือรับรองต่อเจ้าพนักงานที่ดินในท้องที่ที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะโอน เว้นแต่ ผู้โอนประสงค์จะชำระภาษีอากร

4.2 ส่งมอบหนังสือรับรองต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่บุคคล (ผู้โอน) มีภูมิลำเนา หรือสถานประกอบการตั้งอยู่ หรือในเขตท้องที่ที่อสังหาริมทรัพย์ที่โอนตั้งอยู่

กรณีนิติบุคคล
มีรายจ่ายอันเกิดจากการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ค่าทำบัญชี และค่าสอบบัญชี ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2560 รายจ่ายดังกล่าวจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จำนวนร้อยละ 100 เป็นระยะเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

1. กรณีจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่มีหลักฐานพิสูจน์ได้ และที่ประชุมจัดตั้งบริษัทได้ให้สัตยาบันไว้

2. กรณีจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่มีหลักฐานพิสูจน์ได้และมีการรับรองโดยหุ้นส่วนผู้จัดการ

3. กรณีค่าทำบัญชี และค่าสอบบัญชีต้องเป็นค่าทำบัญชีและค่าสอบบัญชีตามกฎหมาย ว่าด้วยการบัญชี

การประกอบกิจการในรูปของนิติบุคคล นอกจากได้รับสิทธิประโยชน์ทั้งที่เกี่ยวกับภาษีและไม่เกี่ยวกับภาษีแล้ว ยังได้รับความน่าเชื่อถือ ในการดำเนินธุรกิจ เป็นที่ยอมรับกับคู่ค้าได้มากกว่า บุคคลธรรมดา อีกด้วย อย่างนี้แล้ว ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดาก็น่าจะรีบตัดสินใจเปลี่ยนเป็นผู้ประกอบการในรูปของนิติบุคคลกันดีกว่า

วันพฤหัสบดีที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2560

เรียนเชิญท่านที่สนใจเข้าร่วมฟังการบรรยาย "เคล็ด(ไม่ลับ)การแก้ปัญหาภาษีอากร" และ "เทคนิคการบริหารสำหรับการบัญชีการเงิน" 26 & 27 กรกฎาคม 2560

PROMOTION รับส่วนลดทันที 20% เมื่อสำรองที่นั่งและชำระเงินภายใน 19 ก.ค.60***

สถาบันฝึกอบรมพัฒนาความรู้ด้านภาษีและบัญชี สถาบันคัสเม่ ขอเรียนเชิญทุกท่านที่สนใจเข้าร่วมรับฟังการบรรยายกับ 2 หลักสูตรทางด้านภาษี & บัญชี โดยวิทยากร ดร.สิงห์ชัย อรุณวุฒิพงศ์ และ ท่าน อ.มิตรทอง ชูลิตะวงศ์ ในวันที่ 26 & 27 กรกฎาคม 2560 นี้ค่ะ

หลักสูตร@ "เคล็ด(ไม่ลับ)การแก้ปัญหาภาษีอากร"
26/07/60, 9:00 - 16:30 น.
รหัสหลักสูตร: 6007-06-153-001-01
CPA & CPD นับชั่วโมงอื่นๆ 6 ชั่วโมง
สถานที่: โรงแรมสตาร์ จังหวัดระยอง
ค่าอบรม: 3,210 บาท (รวม VAT เอกสาร buffet อาหารกลางวัน อาหารว่าง)
สำรองที่นั่ง click: http://www.123contactform.com/form-2039382/

หลักสูตร@ "เทคนิคการบริหารสำหรับการบัญชีการเงิน"
27/07/60, 9:00 - 17:00 น.
รหัสหลักสูตร: 6007-06-153-002-01
CPA & CPD นับชั่วโมงบัญชี 6 ชม.+อื่นๆ 30 นาที
สถานที่: โรงแรมสตาร์ จังหวัดระยอง
ค่าอบรม: 3,210 บาท (รวม VAT เอกสาร buffet อาหารกลางวัน อาหารว่าง)
สำรองที่นั่ง click: http://www.123contactform.com/form-1983798/

***ค่าใช้จ่ายอบรมกับสถาบันคัสเม่ หักได้ 200%***
***#PROMOTION รับส่วนลดทันที 20% เมื่อสำรองที่นั่งและชำระเงินภายใน 19 ก.ค.60***
***เปิดสำรองที่นั่งตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 23 กรกฎาคม 2560***
+++++
วิธีการชำระเงิน
ชำระโดยการโอนเงิน ชื่อบัญชี "บริษัท คัสเม่ จำกัด"
ธนาคารกรุงไทย ออมทรัพย์ สาขาท่าประดู่ เลขที่ 235-0-04628-1
ชำระโดยเช็ค/แคชเชียร์เช็ค: โปรดขีดคร่อม สั่งจ่าย บริษัท คัสเม่ จำกัด
เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 0-2155-48001-66-1
เลขที่ 32/9 หมู่ 3 ตำบลเนินพระ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง 21000

ท่านที่ชำระแล้ว
โปรดส่งแฟกซ์ (038)872-046 หรือ อีเมล์ mykasme@gmail.com สำหรับหลักฐานการชำระเงิน พร้อมชื่อ-ที่อยู่ในการออกใบเสร็จ

สำหรับท่านที่ต้องการออกใบเสร็จในนามนิติบุคคล
โปรดส่งแฟกซ์ (038)872-046 หรือ อีเมล์ mykasme@gmail.com สำหรับรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. หลักฐานการชำระเงิน พร้อมชื่อ-ที่อยู่ในการออกใบเสร็จ
2. แบบ ภพ.20
3. โปรดเตรียมหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% โดยยื่นให้กับเจ้าหน้าที่ ณ จุดลงทะเบียนหน้างาน ตามรายละเอียดด้านล่างดังนี้
ชื่อผู้ถูกหักภาษี ณ จ่ายจ่าย: บริษัท คัสเม่ จำกัด
เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร:0215548001661
ที่อยู่: 32/9 ม.3 ต.เนินพระ อ.เมือง จ.ระยอง 21000

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง @จันทร์ - ศุกร์ 9:00 - 17:00 น.
สถาบันคัสเม่ โทร & แฟกซ์ คุณตริตาภรณ์ (038)872-046, คุณพัชรี (038)967-463, คุณรพิดา (038)966-694

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

แนวทางการปรับปรุงบัญชี: รายได้ค้างรับ, ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย, รายได้รับล่วงหน้า

แนวทางการปรับปรุงบัญชี เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาด

รายได้ค้างรับ
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
รายได้รับล่วงหน้า

แหล่งที่มา: กรมสรรพากร

ขั้นตอนการปรับปรุงรายการ
1.บันทึกรายการปรับปรุงในสมุดรายวันทั่วไป
2.ผ่านรายการปรับปรุงไปยังสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป
3.หายอดคงเหลือในบัญชีต่างๆในบัญชีแยกประเภทใหม่อีกครั้งหนึ่ง และนำยอดคงเหลือนั้นไปจัดทำงบทดลองเพื่อตรวจสอบความถูกต้องในการบันทึกบัญชี เรียกว่า “งบทดลองหลังการปรับปรุง”



ประเภทของรายการที่ต้องทำการปรับปรุง
1.รายได้ค้างรับ
2.ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
3.รายได้รับล่วงหน้า
4.ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า
5.ค่าเสื่อมราคา
6.ค่าตัดจำหน่าย
7.ค่าสูญสิ้น
8.วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป
9.หนี้สงสัยจะสูญ
10.การแก้ไขข้อผิดพลาด

รายได้ค้างรับ
รายได้ค้างรับ คือ รายได้ที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีปัจจุบัน แต่ยังไม่ได้รับเงิน และจะได้รับเงินในงวดบัญชีถัดไป เช่น ค่าเช่าค้างรับ ดอกเบี้ยค้างรับ ฯลฯ ซึ่งรายได้ค้างรับถือเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน

เดบิต  รายได้ค้างรับ              xxx >> เป็นรายการสินทรัพย์ในงบดุล
          เครดิต รายได้ค้างรับ           xxx >> เป็นรายการรายได้ในงบกำไรขาดทุน

ตัวอย่าง บริษัทฝากธนาคาร 1,000,000 บาท โดยได้รับดอกเบี้ย 3% เป็นการฝากแบบประจำ 3 เดือน โดยได้เริ่มฝากในวันที่ 1 พ.ย.59
เดบิต  ดอกเบี้ยค้างรับ           5,000
           เครดิต ดอกเบี้ยรับ            5,000

เมื่อได้รับเงินรายได้ดอกเบี้ยรับ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 จะบันทึกรายการเพื่อบันทึกเงินสดที่ได้รับ แล้วล้างบัญชีดอกเบี้ยค้างรับทิ้งไป

เดบิต  เงินสด                       7,500
          เครดิต  ดอกเบี้ยค้างรับ         5,000
                      ดอกเบี้ยรับ               2,500


ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในงวดปัจจุบัน แต่ยังไม่ได้จ่ายเงินจนกว่าจะถึงงวดบัญชีถัดไป เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าแรง ฯลฯ ซึ่งค่าใช้จ่ายค้างจ่ายถือเป็นหนี้สินหมุนเวียน

เดบิต  ค่าใช้จ่าย         xxx >> เป็นรายการค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
          เครดิต  ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย         xxx >> เป็นรายการหนี้สินในงบดุล

ตัวอย่าง ณ วันที่ 31 ธ.ค.59 บริษัทมีค่าแรงซึ่งยังไม่ได้จ่าย 2 วัน เป็นเงิน 1,000 บาท

เดบิต  เงินเดือนและค่าแรง                          1,000
          เครดิต เงินเดือนและค่าแรงค้างจ่าย                       1,000

เมื่อจ่ายเงินเดือนและค่าแรงงานในวันที่ 4 มกราคม 2560 จำนวน 1,500 บาท จะบันทึกรายการจ่ายเงิน เพื่อล้างบัญชีเงินเดือนและค่าแรงค้างจ่ายทิ้ง

เดบิต  เงินเดือนและค่าแรงค้างจ่าย           1,000
          เงินเดือนและค่าแรง                          500
          เครดิต  เงินสด                                                      1,500


รายได้รับล่วงหน้า
รายได้รับล่วงหน้า หมายถึง รายได้ที่ได้รับจากลูกค้าล่วงหน้า โดยที่ยังไม่ได้ส่งมอบสินค้าหรือให้บริการแก่ลูกค้า ซึ่งกิจการมีภาระต้องให้บริการในอนาคต ดังนั้น จำนวนเงินที่ได้รับจึงถือเป็นหนี้สินหมุนเวียน เมื่อกิจการได้ให้บริการเสร็จเรียบร้อยเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดแล้ว จึงจะบันทึกบัญชีเปลี่ยนจากหนี้สินเป็นรายได้ตามส่วนที่ให้บริการแก่ลูกค้า บริการที่ได้ให้แก่ลูกค้าในงวดนั้นจะถือว่ารายได้เกิดขึ้นในงวดนั้นด้วย ส่วนจำนวนเงินที่กิจการได้รับไว้แล้ว แต่ยังไม่ให้บริการ จึงเป็นสภาพหนี้สินยกไปงวดถัดไป เช่น ค่าบริการรับล่วงหน้า ค่าเช่ารับล่วงหน้า ฯลฯ สามารถบันทึกได้ 2 วิธี คือ บันทึกเป็นรายได้รับล่วงหน้า หรือบันทึกเป็นรายได้

>> บันทึกเป็นรายได้รับล่วงหน้า << 

กิจการจะบันทึกเงินสดที่ได้รับมาทั้งหมดเป็นหนี้สิน เมื่อวันสิ้นงวดจึงมาปรับปรุงรายการรายได้รับล่วงหน้า เป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุนในส่วนที่ได้ให้บริการแก่ลูกค้าแล้ว

เดบิต  เงินสด                xxx
          เครดิต  รายได้รับล่วงหน้า             xxx >> เป็นรายการหนี้สินในงบดุล

ณ วันสิ้นงวด ซึ่งได้ให้บริการแล้วบางส่วนจะลงบัญชีล้างรายได้รับล่วงหน้าในส่วนที่ได้ให้บริการแล้วออกจากบัญชี โดยจะไปบันทึกรับรู้รายได้แทนในจำนวนที่เท่ากัน

เดบิต รายได้รับล่วงหน้า    xxx
         เครดิต  รายได้รับ                         xxx >> เป็นรายการรายได้ในงบกำไรขาดทุน

ตัวอย่าง  บริษัทรับค่าเช่าอาคารล่วงหน้าจากผู้เช่าในวันที่ 1 กันยายน 2559 เป็นค่าเช่าสำหรับ 6 เดือน เป็นเงินรวม 12,000 บาท

เดบิต  เงินสด            12,000
          เครดิต  ค่าเช่ารับล่วงหน้า             12,000

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 บริษัทต้องปรับปรุงเป็นรายได้ค่าเช่ารับ สำหรับวันที่ 1 กันยายน 2559 - 31 ธันวาคม 2559 รวม 4 เดือน เป็นเงิน 8,000 บาท

เดบิต  ค่าเช่ารับล่วงหน้า    8,000
          เครดิต  ค่าเช่ารับ                           8,000

>> บันทึกเป็นรายได้ <<  

กิจการจะบันทึกเงินสดที่ได้รับมาทั้งหมดเป็นรายได้ทั้งหมด ดังนั้นในวันสิ้นงวดกิจการจะมีรายได้รับมากเกินไป ในวันสิ้นงวดจึงต้องปรับปรุงรายการรายได้ให้แสดงเป็นรายได้สำหรับงวดบัญชีนี้เท่านั้น ส่วนที่เหลือจะนำไปบันทึกไว้เป็นรายการรายได้รับล่วงหน้า

เดบิต  เงินสด            xxx
          เครดิต  รายได้รับ                           xxx >> เป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุน

ณ วันสิ้นงวด ซึ่งได้ให้บริการแล้วแต่ยังให้บริการไม่แล้วเสร็จทั้งหมด ดังนั้นหากยังคงบันทึกทั้งหมดเป็นรายได้ จะทำให้การรับรู้รายได้ในงวดสูงเกินไป จึงต้องทำการปรับปรุงรายได้ให้แสดงรายได้ที่เกิดขึ้นจริงสำหรับในงวด แล้วนำส่วนที่ยังไม่ได้ให้บริการไปไว้เป็นรายการรายได้รับล่วงหน้า

เดบิต  รายได้รับ          xxx
          เครดิต  รายได้รับล่วงหน้า             xxx >> เป็นหนี้สินในงบดุล

ตัวอย่าง  บริษัทรับค่าเช่าอาคารล่วงหน้าจากผู้เช่าในวันที่ 1 กันยายน 2559 เป็นค่าเช่าสำหรับ 6 เดือน เป็นเงินรวม 12,000 บาท

เดบิต  เงินสด             12,000
          เครดิต  ค่าเช่ารับ                        12,000

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 บริษัทต้องปรับปรุงเป็นรายได้ค่าเช่ารรับล่วงหน้า สำหรับวันที่ 1 มกราคม 2560 - 28 กุมภาพันธ์ 2560 รวม 2 เดือน เป็นเงิน 4,000 บาท

เดบิต  ค่าเช่ารับ            4,000
          เครดิต  ค่าเช่ารับล่วงหน้า             4,000

To be continue...

"หน้าต่างแห่งความรู้  ประตูสู่ความสำเร็จ"

วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560

พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 630 กับ มาตรการเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล

พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 630 กับ มาตรการเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ข่าวดีสำหรับท่านที่กำลังมีแผนจดทะเบียนนิติบุคคล หรือจดจัดตั้งไปแล้ว ตั้งแต่ 10/08/59 - 31/12/60 เตรียมเช็ค ท่านจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอะไรบ้าง ???


#ยกเว้นภาษีให้บุคคลธรรมดาที่โอนทรัพย์สินเพื่อชำระค่าหุ้นสามัญ- ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม- ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ- ยกเว้นอากรแสตมป์โดยต้องกระทำภายในวันที่ 31/12/60

#ยกเว้นเงินได้1เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่า- ค่าบริการและค่าธรรมเนียมจัดตั้งนิติบุคคล- ค่าบริการจัดทำบัญชี (5 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่อง)- ค่าสอบบัญชี (5 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่อง)
ทั้งนี้สำหรับบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่มีทุนชำระแล้ว ณ วันสิ้นรอบบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท (SMEs)