วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2562

แบ่งที่ดินให้เมีย ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะหรือไม่?

เรื่องเล่าใต้ชายคาบ้านหลังหนึ่ง

พ่อกระท้อนกับแม่มะลิ เพิ่งจดทะเบียนสมรสและรักกันมาก ดังข้าวใหม่ปลามัน ชี้นกเป็นนก ชี้ไม้...เป็นไม้

อยู่มาวันหนึ่ง ด้วยความรักของพ่อกระท้อน และด้วยที่พ่อกระท้อนเพิ่งได้รับมรดกที่ดินจากมารดา ซึ่งยกให้อยู่หลายสิบไร่ หลังแต่งงาน...

ก็เลยคิด.. อยากจะแบ่งให้ภรรยาสาวสุดที่รัก ให้ได้มีกรรมสิทธิ์ร่วมกันบนแผ่นดินสีชมพู แห่งนี้...

แม่มะลิก็ไม่ปฏิเสธความรักของพ่อกระท้อน เมื่อพี่ให้มา น้องก็ต้อง(รีบ)รับไว้สิคะ

เวลาผ่านไป จนอยู่มาวันหนึ่ง... มีจดหมายน้อยฉบับหนึ่งถูกเสียบอยู่หน้าบ้าน พ่อกระท้อนเห็นก็ค่อยๆ พลิกหลังซองดูชื่อผู้ส่ง ใครส่งมานะ

เอ๊ะ จากสรรพากร?
.
.
.

ทายซิในนั้นมีข้อความอะไร เรามาดูพร้อมกันจ้ะ

เรียน พ่อกระท้อน

โปรดดำเนินการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายที่ดินให้แก่แม่มะลิ ด่วน

(what?)

อย่าเพิ่งตกใจ อันเนื่องมาจากสำนักงานสรรพากรภาค เห็นว่า พ่อกระท้อนได้ที่ดินจากการที่มารดายกให้ในระหว่างสมรส ซึ่งถือเป็นสินส่วนตัว (ตามมาตรา 1471(3) แห่งประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์)

การที่พ่อกระท้อน ยินยอมให้ใส่ชื่อแม่มะลิ ให้มีกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน จึงถือเป็นการยกให้ในส่วนของตนครึ่งหนึ่ง ถือเป็นการขายตามมาตรา 91/1(4) แห่งประมวลรัษฎากร #เมื่อได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่แม่ยกให้มา เข้าข่ายเป็นการขายอสังหาฯที่เป็นทางค้าหรือหากำไร ตามมาตรา 3(6) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ(ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534

อยู่ในบังคับ #ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร

และถ้าพ่อกระท้อน ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.40) ล่าช้า

จะต้องเสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งในเดือนภาษี ตามมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบด้วยมาตรา 89(2) แห่งประมวลรัษฎากร

พ่อกระท้อนก็อย่าลืมยื่นแบบ ภ.ธ.40 ภายในกำหนดเวลาด้วยนะ

ด้วยรัก
สรรพากร

อ้างอิง: ข้อหารือภาษีอากร เลขที่หนังสือ กค 0811/8716




KASME
The Institute of Effective Training for SMEs|CPA|CPD

ระยอง ชลบุรี กรุงเทพ

วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ปุจฉา-วิสัชชนา กับภาษีกองทุนรวมโดยกรมสรรพากร

คำถามคำตอบ
การปรับปรุงกำรจัดเก็บภาษีเงินได้จากการลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวม ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 52) พ.ศ.2562

🚩สาระสำคัญของการปรับปรุงเป็นอย่างไร

กำหนดให้กองทุนรวมมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เฉพาะเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร (ดอกเบี้ยและส่วนลด) ในอัตราร้อยละ 15 ของรายได้ก่อนหักรายจ่ายใดๆ โดยให้ผู้จ่ายทุกรายหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้ แล้วกองทุนรวมไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลอีก

แต่กรณีผู้จ่าย ไม่ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เช่น ได้ดอกเบี้ยหรือส่วนลดจากต่างประเทศ กองทุนรวมต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล

ทั้งนี้ กรณีได้ดอกเบี้ย หรือส่วนลดจากต่างประเทศ กองทุนรวมสามารถนำภาษีเงินได้ที่เสียไปในต่างประเทศ มาเป็นเครดิตในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในไทย ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรประกาศกำหนด

โดยกองทุนรวมในที่นี้ หมายถึงกองทุนรวมที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มิใช่กองทุนที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายอื่น

🚩การปรับปรุงจะมีผลใช้บังคับเมื่อใด

มีผลบังคับใช้ ในวันที่ 20 สิงหาคม 2562 แต่ไม่ใช้บังคับแก่การลงทุน หรือการฝากเงินของกองทุนรวม ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 20 สิงหาคม 2562 แม้จะได้รับดอกเบี้ยหลังวันที่ 20 สิงหาคม 2562 ก็ตาม

รวมทั้งจะมีการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้แก่ดอกเบี้ยที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2562 เป็นต้นไป แต่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 20 สิงหาคม 2562 เช่น กรณีกองทุนรวมได้รับโอนตราสารหนี้ มาตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2562 และเมื่อได้รับดอกเบี้ยงวดแรกจากตราสารหนี้นั้น (ได้รับหลังวันที่ 20 สิงหาคม 2562) มีดอกเบี้ยทั้งที่เกิดขึ้นก่อนและตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2562 กองทุนรวมจะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เฉพาะดอกเบี้ยส่วนที่เกิดขึ้น ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2562

นอกจากนั้น จะมีการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับดอกเบี้ยจากตราสารหนี้ต่างประเทศ เฉพาะส่วนที่เกิดขึ้นก่อนกองทุนรวมได้รับโอนตราสารหนี้ต่างประเทศนั้นมาด้วย เช่น กรณีกองทุนรวมได้รับโอนตราสารหนี้ต่างประเทศมาในวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 และเมื่อได้รับดอกเบี้ยจากตราสารหนี้ต่างประเทศนั้น ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 มีดอกเบี้ยทั้งที่เกิดขึ้นก่อนและตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 กองทุนรวมจะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เฉพาะดอกเบี้ยส่วนที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ซึ่งต่างจากกรณีกองทุนรวมได้รับโอนตราสารหนี้ไทยมา กองทุนรวมจะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับดอกเบี้ยทั้งหมด โดยภาระภาษีของกองทุนรวมสำหรับดอกเบี้ยส่วนที่เกิดขึ้นก่อนได้รับโอนตราสารหนี้ไทยนั้นมาจะรวมอยู่ในราคาซื้อขายตราสารหนี้ที่กองทุนรวมผู้รับโอนตราสารหนี้กับบุคคลอื่น ผู้โอนตราสารหนี้ตกลงกัน

อ่านคัมภีร์ฉบับเต็ม กับการถามตอบทางด้านกองทุนรวม ได้ที่นี่ https://drive.google.com/open?id=1j_9u9SHygNFPlb9Z-KSYpMnEs6GAdJOR

ขอขอบคุณข้อมูล🙏: เว็บไซต์กรมสรรพากร



วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ชำระภาษีรถยนต์ได้ล่วงหน้า 90 วัน ผ่านเน็ต!

ไม่ต้องเสียเวลาฝ่ารถติด แล้วไปติดต่อในขนส่ง เพียงแค่ลงทะเบียนยื่นภาษีรถยนต์ผ่านเน็ตได้ง่ายๆที่นี่
👉https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf

แต่ถ้าอยากอ่านคู่มือก่อน ดาน์โหลดได้ที่นี่ค่ะ👉https://eservice.dlt.go.th/esvapp/pdf/UserGuideTax.pdf

แอดมินลองแล้ว ระบบใช้ง่ายมากๆ แต่อย่าลืมซื้อพ.ร.บ. ก่อนต่อออนไลน์ด้วยนะคะ 🤓

ปล.สำหรับรถยนต์อายุเกิน 7 ปี ต้องต่อที่ขนส่งเท่านั้นค่ะ และอย่าลืมตรวจสภาพรถด้วยจ้า


ในยุคแห่งการรัดเข็มขัด
ในยุคแห่งภาระภาษี
ในยุคกินหรูตรูไม่มีเงิน 

🤣พวกเราสู้สู้!

ด้วยความปรารถนาดีจากเรา... สถาบันคัสเม่

วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2562

มีรายได้ค่าเช่าครึ่งปีแรก หรือเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5)-40(8) อย่าลืมยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ด้วยนะ!!

เอ้าไหนเช็คซิ ปีนี้มีรายได้จากอะไรบ้าง
☑️อ่ะ มีบ้านให้เช่า

☑️ไหนๆจบบัญชี ก็รับทำบัญชีเสียหน่อย
☑️ว่างๆ แอบเป็นนักแสดงอิสระด้วยนะ
☑️เอ้า! เวลาเหลือ ขอขับ GRAB เพิ่มอีกซัก 5 วัน...
☑️ช่วงกลางคืนไม่ต้องนอน ขอไลฟ์สดขายปลาเค็มต่อ!

..... ถ้าเป็นเรื่องจริง >>> ดูแลสุขภาพด้วยนะ
..... และถ้าเป็นเรื่องจริง >>>อย่าลืมยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ด้วยฮะ
..... ยุคนี้คือยุคสร้างตัว #ขอสนับสนุน คนพันธุ์แกร่งอย่างคุณ

#ภายใต้ แจกฟรี 1,000 บาท

--------------------
กำหนดเวลายื่นแบบ ภ.ง.ด.94
#กระดาษ ภายในวันที่ 30 กันยายน
#Internet ภายในวันที่ 8 ตุลาคม

เรื่องดีดีทางภาษีมีอีกเพียบ









วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562

เงินได้พึงประเมิน ประมวลรัษฎากรมาตรา 40 (1) - (8)

เงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40(1) - (8)

มาตรา 40 เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด



    (1) เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน

( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.7/2528 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.23/2533 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.56/2538 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.115/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.120/2545 )
    (2) เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้นั้นไม่ว่าหน้าที่ หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว

( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 ใช้บังคับ 1 ม.ค. 2528 เป็นต้นไป )
( ดูคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 29/2538 ) 
( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.115/2545 ) 
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.120/2545 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.124/2546 )
    (3) ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ใช้บังคับปีภาษี 2502 เป็นต้นไป )
    (4) เงินได้ที่เป็น

      (ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว หรือผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน รวมทั้งเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่นๆ ที่ได้จากการให้กู้ยืม หรือจากสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิด ไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม
  ( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2534 ใช้บังคับ 7 พ.ย. 2534 เป็นต้นไป )
( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ข้อ 2 (30)) 
( ดูคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 30/2538 ) 
( ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 664) พ.ศ.2561 )
      “(ข) เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไร หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงิน เพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่อยู่ในบังคับ ต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว”
( แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 52) พ.ศ. 2562 ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป )
      เพื่อประโยชน์ในการคำนวณเงินได้ตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่บุตรชอบด้วยกฎหมายที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเป็นผู้มีเงินได้ และความเป็นสามีภริยาของบิดาและมารดาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดา แต่ถ้าความเป็นสามีภริยาของบิดาและมารดามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดาหรือของมารดาผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือของบิดาในกรณีบิดามารดาใช้อำนาจปกครองร่วมกัน
    ความในวรรคสองให้ใช้บังคับกับบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ด้วยโดยอนุโลม
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2523 ใช้บังคับปีภาษี 2523 เป็นต้นไป )
      (ค) เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
    (ง) เงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน
    (จ) เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งจากกำไรที่ได้มาหรือเงินที่กันไว้รวมกัน
    (ฉ) ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากัน หรือรับช่วงกัน หรือเลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน
    “(ช) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วน โอนหน่วยลงทุน หรือโอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตรหรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก รวมทั้งเงินได้จากการขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นกองทุนรวม ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน”
  ( แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 52) พ.ศ. 2562 ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป )
      (ซ) เงินส่วนแบ่งของกำไร หรือผลประโยชน์อื่นใดในลักษณะเดียวกันที่ได้จากการถือหรือ ครอบครองโทเคนดิจิทัล
    (ฌ) ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคา เป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
  (พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2561 เป็นต้นไป )
    (5) เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก
      (ก) การให้เช่าทรัพย์สิน
( ดูประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินไม่ยื่นรายการเงินได้ให้ครบถ้วน )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.1/2526 )
    (ข) การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
    (ค) การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้น โดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว
    ในกรณี (ก) ถ้าเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้มีเงินได้แสดงเงินได้ต่ำไป ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเงินได้นั้นตามจำนวนเงินที่ทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ตามปกติ และให้ถือว่าจำนวนเงินที่ประเมินนี้เป็นเงินได้พึงประเมินของผู้มีเงินได้ ในกรณีนี้จะอุทธรณ์การประเมินก็ได้ ทั้งนี้ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ตามส่วน 2 หมวด 2 ลักษณะ 2 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
    ในกรณี (ข) และ (ค) ให้ถือว่าเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้วแต่วันทำสัญญาจนถึงวันผิดสัญญาทั้งสิ้น เป็นเงินได้พึงประเมินของปีที่มีการผิดสัญญานั้น
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ใช้บังคับปีภาษี 2502 เป็นต้นไป )

    (6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอิสระอื่น ซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้
    (7) เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
    (8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 ใช้บังคับปีภาษี 2496 เป็นต้นไป )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.102/2544)
( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.115/2545 ) 
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.119/2545 ) 
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.120/2545 ) 
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.122/2545 )
    เงินค่าภาษีอากรตามวรรคหนึ่ง ถ้าผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทใด ไม่ว่าทอดใดหรือในปีภาษีใดก็ตาม ให้ถือเป็นเงินได้ประเภทและของ ปีภาษีเดียวกันกับเงินได้ที่ออกแทนให้นั้น
( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 ใช้บังคับ 1 ม.ค. 2528 เป็นต้นไป )

สมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย แนะรัฐยกเว้นภาษีการโอนให้สำหรับผู้ซื้อบ้านมือสอง

ขอขอบคุณข่าวจาก: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/844477

ข่าวดีสำหรับผู้ที่กำลังวางแผนซื้อบ้านมือสองในปีนี้ เมื่อสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัยเตรียมแนะภาครัฐฯ ยกเว้นภาษีการโอนสำหรับผู้ซื้อบ้านมือสองในระดับราคา 3-5 ล้านบาท และยังเป็นโอกาสทองที่ปีนี้ ราคาบ้านมือสองมีราคาลดลงถึง 20%



นายกิตติ พัฒนพงศ์พิบูล ประธานสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย กล่าวว่า สถานการณ์ทรัพย์สินรอขายในกลุ่มที่อยู่อาศัยมือสองในปีนี้จะเข้ามาในตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มธนาคารพาณิชย์และบริษัทบริหารสินทรัพย์จะนำทรัพย์สินรอขาย (NPA)ออกมาระบายในราคาถูกกว่าปีก่อนถึง20% เพื่อรองรับกับความต้องการในที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นของผู้บริโภค ซึ่งส่วนหนึ่งอาจได้รับผลกระทบจาก มาตรการกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัย (แอลทีวี) ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 เม.ย. 2562 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ปีนี้ตลาดมือสองมีความคึกคักมากขึ้นและถือเป็นโอกาสดีของผู้บริโภคที่เข้ามาซื้อบ้านมือสอง
ทั้งนี้ปัจจัยที่เอื้อต่อการซื้อและลงทุนบ้านมือสองเพิ่มขึ้น มาจาก 1.ราคาที่ต่ำว่าบ้านใหม่ 30-50% จึงเป็นทางเลือกในการซื้อที่อยู่อาศัยและการลงทุน 2. อยู่ในทำเลที่หายากและมีโครงการรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 3. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ลดลง เอื้อต่อการตัดสินใจซื้อ 4.การผ่อนปรนมาตรการกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัย (แอลทีวี)รวมทั้งมาตรการรัฐบาลที่มาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากที่มีวงเงิน 3.1 ล้านบาท เข้ามาช่วยกระตุ้นกำลังซื้อ

นอกจากนี้การซื้อทรัพย์สินรอขายที่เป็นบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ และคอนโดมิเนียม ราคาไม่เกิน 5ล้านบาท ถ้าโอนภายใน 31 ธ.ค.นี้ สามารถนำเงินจากการซื้อไม่เกิน200,000บาทไปหักลดหย่อนภาษีได้กรณีซื้อบ้านใหม่ในช่วงเวลาเดียวกัน และกรณีที่เป็นทรัพย์สินรอการขายราคาไม่เกิน1 ล้านบาทจะได้ลดค่าโอนกรรมสิทธิ์ และค่าจดจำนองเหลือ 0.001% ไปจนถึง23 มิ.ย.นี้
นายกิตติ กล่าต่อว่า แม้ว่ากลุ่มที่อยู่อาศัยมือสองจะได้รับความสนใจจากผู้บริโภคไทยมากขึ้น แต่เมื่อเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป ยังน้อยกว่า เนื่องจากพฤติกรรมคนนิยมต่อเติบบ้านมากกว่าขายบ้านเก่า เพื่อไปซื้อบ้านใหม่ รวมทั้งขาดมาตรการจูงใจในการซื้อบ้านมือสอง ฉะนั้นรัฐบาลควรมีมาตรการยกเว้นภาษีการโอนให้สำหรับผู้ที่ซื้อบ้านมือสองในระดับราคา 3-5ล้านบาทเพื่อให้คนไทยหันมาสนใจซื้อบ้านมือสองมากขึ้นและส่งผลให้คนมีโอกาสที่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองมากขึ้น เพราะปัจจุบันราคาที่อยู่อาศัยมือหนึ่งมีราคาเพิ่มขึ้นตามราคาที่ดิน ทำให้การเข้าถึงที่อยู่อาศัยคนไทยบางกลุ่มยากขึ้น

จากการประมาณการบ้านมือสองในปี 2562 คาดการณ์ว่า บ้านมือสองในกรุงเทพฯและปริมณฑล ที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในปีนี้ มีจำนวน 65,000 ยูนิต ที่รวมทั้งบ้านมือหนึ่งและบ้านมือสอง มีจำนวนลดลงจาก 72,000ยูนิตในปี2561 โดยมีสัดส่วนประมาณ40% ของที่อยู่อาศัยที่คาดว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ในปีนี้ คิดเป็นมีมูลค่า 143,000ล้านบาท หรือประมาณ 30% ของมูลค่าที่อยู่อาศัยที่คาดว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ในปีนี้

สำหรับการจัดงาน NPA Grand Sale & Home Loan 2019 หรือ มหกรรมบ้านมือสองและสินเชื่อแห่งปี 2562 ซึ่งจัดโดยสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งจะขึ้นระหว่างวันที่ 29 ส.ค. - 1 ก.ย. 2562 ณ อิมแพค เมืองทองธานี ในปีนี้ทางธนาคารที่เข้าร่วมจะมีโปรโมชั่นออกมากระตุ้นกลุ่มลูกค้าที่สนใจ อาทิ คอนโดพร้อมอยู่ราคา260,000 บาทใกล้รถไฟฟ้า ฟรีค่าโอน ดอกเบี้ย 0% นาน6 เดือนขึ้นไป ปล่อยกู้ถึง95% เป็นต้น โดยจะมีทรัพย์สินรอขาย(NPA)จำนวน 20,000 รายการเข้ามาให้เลือกคาดว่า จะได้รับการตอบจากผู้เข้าชมงานโดยมียอดขายในภายงาน 3,000 ล้านบาทหรือ 1,000 ยูนิต


วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562

Are you ready? ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ผ่านทางอินเตอร์เน็ต อย่าลืมเปิดใช้งานกับเบราว์เซอร์ IE นะ

Are you ready?!

เมื่อพร้อมยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ผ่านทางอินเตอร์เน็ตแล้ว อย่าลืมเปิดใช้งานกับเบราว์เซอร์ของ IE (Internet Explorer) นะ





📅🔥ปฏิทินการยื่นแบบ ภ.ง.ด.51📅🔥 (สำหรับนิติบุคคลที่มีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มต้น1 ม.ค. - สิ้นสุด 31 ธ.ค.)

#แบบกระดาษ วันสุดท้าย 02/09/62 (เนื่องจากวันที่ 31 สิงหาคม ตรงกับวันหยุดราชการ)
#ผ่านทางอินเตอร์เน็ต วันสุดท้าย 09/09/62

#KASME (สถาบันคัสเม่)
The Institute of Effective Training for SMEs.
www.kasmethai.com

สาธิตวิธีการยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ผ่านอินเตอร์เน็ต


วิดีโอนี้ สาธิตวิธีการยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ผ่านอินเตอร์เน็ต แบบง่ายๆ ไม่คิดมาก




KASME (สถาบันคัสเม่)

สถาบันฝึกอบรมทางบัญชีภาษีการเงินและการลงทุน
กรุงเทพ|ระยอง|ชลบุรี

**NEXT SEMINAR***
21-22 NOV 2019@Bangkok
19-20 SEP 2019@Rayong

วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ EEC กับมาตรการปลอดอากร

เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor ซึ่งประกอบไปด้วย 3 จังหวัด นั่นคือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และ ระยอง ในตอนนี้ได้ถูกพัฒนาพื้นที่โดยโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคมนาคม ขนส่ง ทางน้ำ ทางบก และทางอากาศ หรือโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ จนไปถึงโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อช่วยยกระดับประเทศไทย ให้ก้าวเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจระดับโลกต่อไปในอนาคต (อ้างอิงจาก eeco.or.th)



ด้วยเหตุนี้ ภาครัฐฯ จึงได้ให้ความสำคัญ โดยมีการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 กับการพัฒนาเชิงพื้นที่ ที่ต่อยอดความสำเร็จมาจากแผนพัฒนาเขต Easter Seaboard และนำมาตรการพิธีการศุลกากร กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และพิธีการศุลกากรสำหรับเขตปลอดอากร ภายในเขต EEC เพื่อกิจการอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่ EEC ดังนี้

เขตปลอดอากร และเงื่อนไขสิทธิที่ได้รับ ตามกฏหมายว่าด้วยศุลกากร 

A
เขตปลอดอากร 

คือ พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(EEC) เพื่อกิจการอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

B
ผู้ประกอบการในเขตปลอดอากร 

เมื่อยื่นใบขนส่งสินค้าต่อพนักงานศุลกากร + พนง.ศุลกากรได้รับและออกเลขที่ใบขนส่งสินค้าแล้ว 
>> ไม่ต้องชำระค่าอากร ตามกฏหมาย ว่าด้วยศุลกากร และ กฏหมาย ว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร 
>> จนกว่าจะครบ 14 วัน นับแต่วันที่พนักงานศุลกากรออกเลขที่ใบขนสินค้าดังกล่าว

C
การขนส่งตามข้อ B กลับเข้าไปในเขตปลอดอากรภายใน 14 วัน

นับแต่วันที่ยื่นใบขนสินค้าต่อพนักงานศุลกากร 
>> และพนักงานศุลกากรได้รับ+ออกเลขที่ใบขนส่งสินค้าให้แล้ว 
>> ผู้ประกอบการอาจขอยกเลิกรายการดังกล่าว ในใบขนสินค้าขาเข้า 
>> และเมื่อพนักงานศุลกากรมีคำสั่งยกเลิก 
>> ให้ถือว่า "มิได้" มีการนำของรายการดังกล่าวออกจากเขตปลอดอากรภายในเขต EEC เพื่อกิจการอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 
>> และไม่มีภาระค่าอากร

The Institute of Effective Training for SMEs.

***TAX|ACC NEXT Seminar***
19-20 SEP 2019@STAR Convention Center Hotel Rayong
21-22 NOV 2019@VINCE Hotel, Bangkok (BTS ราชเทวี)
รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://www.kasmethai.com/coming-soon





วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2562

เตรียมตัว! ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ภ.ง.ด.94

ใกล้เวลาเข้ามาทุกที กับช่วงเวลาสิ้นสุดการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี หรือ ภ.ง.ด.94 ซึ่งก็เป็นเวลาสำคัญที่ประชาชนชาวไทย ผู้มีเงินได้ประเภท 40(5) - (8) ต้องปฏิบัติหน้าที่ยื่นแบบและชำระภาษีอีกครั้ง

บางท่านก็อาจมีนักบัญชีหรือสำนักงานบัญชี ที่ได้คอยช่วยดูแลในส่วนนี้ให้ แต่สำหรับท่านใดที่ไม่ได้ใช้บริการหรือมีญาติสนิทมิตรสหาย อยู่ในแวดวงบัญชี ก็ถึงเวลาที่ต้องเรียนรู้เองอีกครั้งค่ะ

ในวันนี้ สถาบันคัสเม่ จึงขอรวบรวมแนวทางการยื่นแบบ และชำระภาษี ภ.ง.ด.94 มาให้ทุกท่านได้ทราบกันค่ะ

เตรียมตัว! ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ภ.ง.ด.94

จะยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ปี 2562 และ ชำระภาษีได้ที่ไหน?
ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา

ได้ถึงเมื่อไหร่?
แบบกระดาษ: วันที่ 30 กันยายน 2562
ทางอินเตอร์เน็ต: วันที่ 8 ตุลาคม 2562

ใครมีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94?
ผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40(5) - (8) แห่งประมวลรัษฎากร


เตรียมตัว! ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ภ.ง.ด.94

ขอตัวอย่างหน่อยซิ
เช่น เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน, เงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ (แพทย์ วิศวกร นักบัญชี นักกฏหมาย ฯลฯ) เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำัญนอกจากเครื่องมือเงินได้จากการประกอบธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มา โดยมุ่งทางการค้าหรือหากำไร และการพาณิชย์อื่นๆ รวมทั้งนักแสดงสาธารณะ เป็นต้น

ดาวน์โหลดแบบ + ศึกษาวิธีกรอกแบบได้ที่ไหน ?
www.rd.go.th > หัวข้อ Download > แบบแสดงรายการภาษี แบบคำร้อง/คำขอต่างๆ > ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือคลิ๊ก http://www.rd.go.th/publish/61053.0.html


*กรมสรรพากรมีบริการจัดส่งแบบ ภ.ง.ด.94 ให้แก่ผู้เสียภาษี ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป*

กรณีมีข้อสงสัย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานสรรพากรทุกแห่งทั่วประเทศ หรือ ศูนย์สารนิเทศสรรพากร โทร.1161


สถาบันคัสเม่
สถาบันฝึกอบรมบัญชีภาษี กรุงเทพ, ระยอง, ชลบุรี

NEXT Seminar! 
19- 20 กันยายน 62 โรงแรมสตาร์ จังหวัดระยอง
21 - 22 พฤศจิกายน 62 โรงแรมวินซ์ กรุงเทพฯ (BTS ราชเทวี)
รายละเอียดเพิ่มเติม click


วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2562

แจกฟรีแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม แบบคำร้อง/คำขอแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม

รวมลิ้งค์แจกฟรีแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
แบบคำร้อง/คำขอแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม 
ดาวน์โหลดฟรีได้ที่นี่



วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2562

รู้ยังกับทรัพย์สิน 11 ประเภท ที่ได้รับยกเว้นภาษีที่ดิน

รู้แล้วอย่าลืมบอกต่อ กับทรัพย์สิน 11 ประเภท
ที่ได้รับยกเว้นจัดเก็บภาษีที่ดินฯ


ที่มา: เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา #กฏกระทรวงกำหนดทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 

เผยแพร่โดย: สถาบันคัสเม่ 
Website: www.kasmethai.com  Facebook Page: KASMECO

เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2562 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ กฎกระทรวงกำหนดทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 วรรคหนึ่ง และมาตรา 8 (12) แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เป็นทรัพย์สินดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
(1) ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์และทรัพย์สินของบุคคลซึ่งได้รับเงินปีพระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไปตามกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จบำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน เฉพาะส่วนที่ได้ใช้เพื่อการ ดังต่อไปนี้
               (ก) ใช้ในราชการ ราชการในพระองค์ หรือหน่วยงานในพระมหากษัตริย์
               (ข) ใช้ในกิจการอื่นใดในพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ หรือใช้เพื่อสาธารณประโยชน์
               (ค) ใช้เป็นศาสนสถานไม่ว่าของศาสนาใดที่ใช้เฉพาะเพื่อการประกอบศาสนกิจหรือกิจการสาธารณะ หรือเป็นที่อยู่ของสงฆ์ นักพรต นักบวช หรือบาทหลวง ไม่ว่าในศาสนาใด หรือเป็นศาลเจ้า
               ทั้งนี้ หากเป็นทรัพย์สินที่ไม่ได้ใช้เพื่อการตามวรรคหนึ่ง ให้ได้รับยกเว้นเฉพาะส่วนที่มิได้ใช้หาผลประโยชน์
               (2) ทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจที่ยังมิได้ใช้ในกิจการของรัฐวิสาหกิจและยังมิได้ใช้หาผลประโยชน์ “รัฐวิสาหกิจ” หมายความว่า
               (ก) องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล กิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งกิจการนั้น หรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ
               (ข) บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่กระทรวงการคลังมีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ
               (3) ทรัพย์สินที่เป็นที่ดินว่างเปล่าในสนามบินรอบบริเวณทางวิ่ง ทางขับ หรือลานจอดอากาศยานที่กันไว้เพื่อความปลอดภัยตามมาตรฐานขั้นต่ำของข้อกำหนดว่าด้วยมาตรฐานสนามบินที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยกำหนด
               (4) ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นทางรถไฟหรือทางรถไฟฟ้าซึ่งใช้ในกิจการของการรถไฟหรือการรถไฟฟ้าโดยตรง
               “ทางรถไฟ” หมายความว่า ถนนหรือทางซึ่งได้วางรางเพื่อการเดินรถไฟ และให้หมายความรวมถึง อุโมงค์ สะพาน ทางยกระดับ ห้องระบบอาณัติสัญญาณประจำสถานี ซุ้มเครื่องกั้นถนนผ่านเสมอ ระดับทางรถไฟ ที่ทำการหอสัญญาณ และชานชาลาสถานีเฉพาะพื้นที่บริเวณที่ผู้โดยสารรอเพื่อขึ้นหรือลงจากรถไฟ
               “ทางรถไฟฟ้า” หมายความว่า รางหรือทางสำหรับรถไฟฟ้าแล่นโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะจัดสร้าง ในระดับพื้นดิน เหนือหรือใต้พื้นดินหรือพื้นน้ำ หรือผ่านไปในอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างใดๆ และให้หมายความรวมถึงเขตทาง ไหล่ทาง ทางเท้า ทางออกฉุกเฉิน อุโมงค์ สะพาน ทางยกระดับ เขื่อนกั้นน้ำ ท่อหรือทางระบายน้ำ ท่อหรือทางระบายอากาศ กำแพงกันดิน รั้วเขต และหลักระยะ
(5) ทรัพย์สินที่ใช้สำหรับการสาธารณูปโภคและทรัพย์สินที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันในโครงการของการเคหะแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยการเคหะแห่งชาติ
               (6) ทรัพย์สินของเอกชนที่ใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนด ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ใช้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้เพื่อสาธารณประโยชน์
               (7) สิ่งปลูกสร้างที่เป็นบ่อสำหรับใช้ในระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้ประโยชน์ต่อเนื่องกับอาคาร
               (8) สิ่งปลูกสร้างที่เป็นบ่อน้ำที่ใช้ประโยชน์เพื่อสาธารณะ
               (9) สิ่งปลูกสร้างที่เป็นถนน ลาน และรั้ว
               (10) ที่ดินที่มีกฎหมายกำหนดห้ามมิให้ทำประโยชน์
               (11) ทรัพย์สินที่เป็นที่ทำการของสำนักงานเศรษฐกิจและการค้าของต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ
               ให้ไว้ ณ วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
               อุตตม สาวนายน

********ข่าวดีจากทางสถาบันคัสเม่!********
ขอเรียนเชิญทุกท่าน พบกับหลักสูตรทางบัญชีและภาษีคุณภาพจากทางสถาบัน #ใหม่ยกเซ็ต! กับ 3 หลักสูตรคุณภาพส่งท้ายปี สำหรับชาวสมาชิกสถาบันคัสเม่และแฟนเพจทุกท่าน บรรยายโดย 3 วิทยากรมืออาชีพทางภาษีและบัญชี ประสบการณ์ยาวนานกว่า 30 ปี และ***รีบสำรองที่นั่งก่อนใครวันนี้ เพื่อรับสิทธิทั้งโปรโมชั่นสุดคุ้ม+ลุ้นรับของรางวัลพิเศษ*** มาก่อน ได้สิทธิก่อนนะ
19-20 กันยายน 62@Rayong พบกับ ท่าน ดร.สมชาย เลิศภิรมย์สุข และ ท่านอาจารย์ อดิศักดิ์ สืบประดิษฐ์ (TAX|ACC Course: CPD อบรมครบ 2 หลักสูตร นับชั่วโมงครบปี! พร้อมรับใบประกาศนียบัตรสำหรับผู้เข้าอบรมทุกท่าน!) **SPECIAL ความสุข x 2 กับ 1.PROMOTION สำรองที่นั่งและชำระเงินภายใน 13 กันยายน รับส่วนลดทันที 200.-/ที่นั่ง และ 2.ทุกการสำรองที่นั่งก่อน 13 กันยายน รับทันที! สิทธิลุ้นบัตรเครื่องดื่มสตาร์บัคส์มูลค่า 500 บาท**
21-22 พฤศจิกายน 62@Bangkok พบกับ ท่าน ดร.สิงห์ชัย อรุณวุฒิพงศ์ และ ท่านอาจารย์ อดิศักดิ์ สืบประดิษฐ์ (TAX|ACC Course: CPD อบรมครบ 2 หลักสูตร นับชั่วโมงครบปี! พร้อมรับใบประกาศนียบัตรสำหรับผู้เข้าอบรมทุกท่าน!) **PROMOTION สุดพิเศษสำหรับลูกค้า EARLY BIRD** สำรองที่นั่งและชำระเงินภายใน 31/10/62 จากราคาปกติ 3,000 บาท/ที่นั่ง/หลักสูตร ลดเหลือเพียง 1,800 บาทเท่านั้น!!! (หมายเหตุ: ราคานี้ยังไม่รวม VAT)





วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ภาษีวิสาหกิจชุมชน

ภาษีวิสาหกิจชุมชน

สถาบันคัสเม่ขอนำข้อมูลดีดีจากกรมสรรพากร มาแบ่งปันกับทุกท่านในเรื่องของ #ภาษีที่เกี่ยวข้อง กับวิสาหกิจชุมชนค่ะ

ทั้งนี้ในเบื้องต้น เราต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า "วิสาหกิจชุมชน" คืออะไร

วิสาหกิจชุมชน (Community Enterprise)
= กิจการของชุมชนที่มีการผลิตสินค้า การให้บริการ หรืออื่นๆ
= ดำเนินการโดยคณะบุคคล ที่มีความผูกพันและวิถีชีวิตร่วมกัน รวมตัวกันประกอบกิจการเพื่อสร้างรายได้และพึ่งพาตนเอง ของครอบครัว ชุมชน และระหว่างชุมชน

โดยรัฐฯ มีนโยบายด้านการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน จึงได้มีมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนส่งเสริม ดังนี้

>> ยกเว้นรายได้ให้กับวิสาหกิจชุมชน เฉพาะ ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล ที่มีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 1.8 ล้านบาท
>> ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
>> สำหรับรายได้ที่ได้รับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 - 31 ธันวาคม 2562

#วิสาหกิจชุมชนที่มีรายได้ในปี 2560 เป็นต้นไปเกิน 60,000 บาทต่อปี ต้องยื่นแบบฯ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จึงจะได้รับสิทธิ์ประโยชน์

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: เว็บไซต์กรมสรรพากร


The Institute of Effective Training for SMEs.