วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ EEC กับมาตรการปลอดอากร

เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor ซึ่งประกอบไปด้วย 3 จังหวัด นั่นคือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และ ระยอง ในตอนนี้ได้ถูกพัฒนาพื้นที่โดยโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคมนาคม ขนส่ง ทางน้ำ ทางบก และทางอากาศ หรือโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ จนไปถึงโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อช่วยยกระดับประเทศไทย ให้ก้าวเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจระดับโลกต่อไปในอนาคต (อ้างอิงจาก eeco.or.th)



ด้วยเหตุนี้ ภาครัฐฯ จึงได้ให้ความสำคัญ โดยมีการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 กับการพัฒนาเชิงพื้นที่ ที่ต่อยอดความสำเร็จมาจากแผนพัฒนาเขต Easter Seaboard และนำมาตรการพิธีการศุลกากร กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และพิธีการศุลกากรสำหรับเขตปลอดอากร ภายในเขต EEC เพื่อกิจการอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่ EEC ดังนี้

เขตปลอดอากร และเงื่อนไขสิทธิที่ได้รับ ตามกฏหมายว่าด้วยศุลกากร 

A
เขตปลอดอากร 

คือ พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(EEC) เพื่อกิจการอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

B
ผู้ประกอบการในเขตปลอดอากร 

เมื่อยื่นใบขนส่งสินค้าต่อพนักงานศุลกากร + พนง.ศุลกากรได้รับและออกเลขที่ใบขนส่งสินค้าแล้ว 
>> ไม่ต้องชำระค่าอากร ตามกฏหมาย ว่าด้วยศุลกากร และ กฏหมาย ว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร 
>> จนกว่าจะครบ 14 วัน นับแต่วันที่พนักงานศุลกากรออกเลขที่ใบขนสินค้าดังกล่าว

C
การขนส่งตามข้อ B กลับเข้าไปในเขตปลอดอากรภายใน 14 วัน

นับแต่วันที่ยื่นใบขนสินค้าต่อพนักงานศุลกากร 
>> และพนักงานศุลกากรได้รับ+ออกเลขที่ใบขนส่งสินค้าให้แล้ว 
>> ผู้ประกอบการอาจขอยกเลิกรายการดังกล่าว ในใบขนสินค้าขาเข้า 
>> และเมื่อพนักงานศุลกากรมีคำสั่งยกเลิก 
>> ให้ถือว่า "มิได้" มีการนำของรายการดังกล่าวออกจากเขตปลอดอากรภายในเขต EEC เพื่อกิจการอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 
>> และไม่มีภาระค่าอากร

The Institute of Effective Training for SMEs.

***TAX|ACC NEXT Seminar***
19-20 SEP 2019@STAR Convention Center Hotel Rayong
21-22 NOV 2019@VINCE Hotel, Bangkok (BTS ราชเทวี)
รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://www.kasmethai.com/coming-soon





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น