วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2562

หลักฐานประกอบเพื่อการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี: การบริจาค กองทุน เบี้ยประกันชีวิต ดอกเบี้ยเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย

หลักฐานประกอบเพื่อการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี: 
การบริจาค กองทุน เบี้ยประกันชีวิต ดอกเบี้ยเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย

ในวันนี้ เรามาเตรียมความพร้อม! ก่อนใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี สำหรับสิทธิลดหย่อน #การบริจาค #กองทุน #เบี้ยประกันชีวิต และ #ดอกเบี้ยเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย  เหมาะสำหรับทุกท่านที่กำลังวางแผนใช้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวค่ะ


จะมีหลักฐานอะไรบ้างที่เราต้องจัดเตรียม ติดตามกันได้ที่นี่เลยค่ะ

**หลักฐานประกอบเพื่อการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี**
สำหรับการบริจาคให้แก่
👉ศาสนสถาน
👉สถานศึกษา
👉โรงพยาบาล
👉องค์กรสาธารณกุศลอื่นๆ
ผู้บริจาคสามารถเก็บหลักฐานในรูปของ #กระดาษ หรือเป็นการบริจาคผ่านระบบ #e-Donation เพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้อย่างใดอย่างหนึ่ง

สำหรับกรณีกองทุน LTF/RMF เบี้ยประกันชีวิต ดอกเบี้ยเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย
ผู้เสียภาษีสามารถใช้สิทธิลดหย่อนโดยเก็บหลักฐานในรูปของ #กระดาษ ได้ตามปกติ 
ยกเว้นการลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพ ผู้เอาประกันสุขภาพต้องยินยอมให้บริษัทประกันส่งข้อมูลค่าเบี้ยประกันสุขภาพให้กรมสรรพากร ในรูปของข้อมูล #อิเล็กทรอนิกส์ จึงจะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้

การบริจาคให้แก่สถานศึกษา
ผู้บริจาคที่เป็นบุคคลธรรมดา ที่ต้องการนำเงินมาหักลดหย่อนเป็นจำนวนสองเท่า #จะต้องบริจาคผ่านระบบ e-Donation เท่านั้น **เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2562** โดยจะต้องยื่นแบบแสดงรายการในปี 2563

อ้างอิง: กรมสรรพากร 
http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/news/news16_2562.pdf


วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2562

ทำความเข้าใจกับประเภทของกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

 กิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ



(ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.rd.go.th/publish/683.0.html)

หลายกิจการอาจมีข้อสงสัย เกิดความไม่แน่ใจกับคำว่า "ภาษีธุรกิจเฉพาะ" ว่ากิจการของเราต้องเสียภาษีดังกล่าวนี้หรือไม่ ในวันนี้ สถาบันคัสเม่จะขอนำเสนอความหมายและประเภทของกิจการ ที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะค่ะ

ทั้งนี้ ความหมายของภาษีธุรกิจเฉพาะ คือ ภาษีประเภทหนึ่งตามประมวลรัษฎากร โดยจัดเก็บจากกิจการที่กฏหมายกำหนดไว้เป็นพิเศษแยกต่างหากจากภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยกรมสรรพากรคือหน่วยงานรับผิดชอบในการจัดเก็บภาษีดังกล่าว
ประเภทของกิจการต่างๆที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะมีดังนี้

        1. การธนาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือกฎหมายเฉพาะ

        2. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ อาทิเช่น การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์

        3. การรับประกันชีวิต คือ การประกันชีวิต

        4. การรับจำนำ เช่น โรงรับจำนำ

        5. การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่น การให้กู้ยืมเงินค้ำประกัน แลกเปลี่ยนเงินตรา ออก ซื้อ หรือขายตั๋วเงิน หรือรับส่งเงินไปต่างประเทศด้วยวิธีต่าง ๆ

          ในกรณีที่มีปัญหาว่า กิจการใดเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์หรือไม อธิบดีกรมสรรพากรจะเสนอให้คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรพิจารณากำหนดขอบเขตและเงื่อนไขของการประกอบกิจการดังกล่าวนั้นก็ได้และเมื่อคณะกรรมการวินิจฉัย ภาษีอากรได้วินิจฉัยแล้ว ให้ประกาศคำวินิจฉัยนั้นในราชกิจจานุเบกษา

        6. การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 342) พ.ศ.2541

 📣*** เกร็ดความรู้ ***💡

            คำว่า "ธุรกิจแฟ็กเตอริง" หมายความว่า ธุรกิจที่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการตกลงจะ โอนทรัพย์สินที่จะได้รับจากการชำระหนี้เนื่องจากการขายสินค้าหรือการให้บริการระหว่างตนกับลูกหนี้ของตน ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริง โดยผู้ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงตกลงจะให้สินเชื่อซึ่งรวมถึงการให้กู้ยืมและการ ทดรองจ่ายแก่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการและรับที่จะดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด


วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2562

บริจาคให้กับสถานพยาบาลของราชการได้มากกว่าบุญ

บริจาคให้สถานพยาบาลของทางราชการหักลดหย่อนได้ 2 เท่า



(ขอบคุณข้อมูลจาก : www.rd.go.th)           

เพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่องทางการเงินและการคลังของสถานพยาบาล  รัฐบาลจึงออกมาตรการภาษีเพื่อจูงใจประชาชน ซึ่งรวมถึง บริษัท ห้าง ร้าน ต่างๆ เพื่อร่วมบริจาคให้แก่สถานพยาบาล โดยได้มีพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 663 พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2561 #ให้สามารถหักลดหย่อนภาษีสำหรับการบริจาคให้สถานพยาบาลของทางราชการ ได้ 2 เท่า มีผลย้อนหลังตั้งแต่เงินบริจาคที่เกิดขึ้นตั้งแต่ 1 มกราคม 2561

             
ทั้งนี้ การบริจาคให้สถานพยาบาลของทางราชการ นั้นหมายถึง "สถานพยาบาล" ซึ่งเป็นส่วนราชการตามประมวลว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และรวมถึง

             1)สถานพยาบาลของสถาบันการศึกษาของรัฐ

             2)สถานพยาบาลขององค์การมหาชลตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน

             3)สถานพยาบาลของรัฐวิสาหกิจที่เป็นองค์กรของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ

             4)สถานพยาบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

             5)สถานพยาบาลของหน่วยงานอื่นของรัฐ

             6)สถานพยาบาลของสภากาชาดไทย



1.สิทธิประโยชน์ทางภาษี สำหรับบุคคลธรรมดา 👦

             สามารถหักลดหย่อนภาษีสำหรับการบริจาคให้สถานพยาบาลของทางราชการ ได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่บริจาค แต่เมื่อรวมกับเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นสำหรับการจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาแล้วจะต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนนั้น

2.สิทธิประโยชน์ทางภาษี สำหรับนิติบุคคล 🏢

             สามารถหักลดหย่อนภาษีสำหรับการบริจาคให้สถานพยาบาลของทางราชการ ได้ 2 เท่าของค่าใช้จ่ายในการบริจาคทั้งเงินและทรัพย์สิน แต่เมื่อรวมกับเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นสำหรับการจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาและรายจ่ายที่เป็นค่าใช้จ่ายจัดสร้างหรือบำรุงรักษา สนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ สนามกีฬาที่ไม่เก็บค่าบริการ แล้วจะต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อสาธารณประโยชน์

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2562

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากับกรณีเบี้ยปรับ เงินเพิ่มและโทษทางอาญา

โทษของการไม่ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือชำระล่าช้า

(ขอบคุณข้อมูลจาก : www.rd.go.th)

โดยทั่วไปแล้วโทษของการไม่ชำระภาษีมักจะเป็นเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มแต่ก็อาจจะมีโทษทางอาญาที่นอกเหนือจากที่กล่าวมา ซึ่งขึ้นอยู่กับความผิดหรือเจตนาของผู้กระทำผิด โดยมีเกณฑ์การประเมินดังต่อไปนี้

1.ในกรณีที่ชำระเกินเวลาที่กำหนดนั้นจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็นหนึ่งเดือน) ของเงินภาษีที่ต้องชำระนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลากระทั่งถึงวันที่ชำระแล้วเสร็จ

2.ในส่วนของกรณีที่เจ้าพนักงานตรวจสอบออกหมายเรียกแต่ปรากฏว่ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้หรือยื่นไว้แต่ชำระขาดหรือต่ำไป  จะต้องเสียเงินเพิ่มพร้อมทั้งเสียเบี้ยปรับอีก 1 ถึง 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี ทั้งนี้เงินเบี้ยปรับอาจงดหรือลดลงได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด

3.กรณีที่ไม่ทำการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90, 91 หรือ 94 ภายในระยะเวลาที่กำหนด ต้องระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท

4.กรณีที่เจตนา แจ้งข้อความเท็จ หรือแสดงหลักฐานเท็จหรือฉ้อโกง เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร จะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และโทษปรับ 2,000 บาทถึง 200,000 บาท

5.กรณีที่เจตนาละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

THE INSTITUTE OF EFFECTIVE TRAINING FOR SMES


ลงทะเบียนวันนี้: CLICK

วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2562

ภาษีมูลค่าเพิ่มกับการขนส่งสินค้าทางทะเล

ภาษีมูลค่าเพิ่มกับการขนส่งสินค้าทางทะเลแบบชาร์เตอร์


(ขอบคุณข้อมูลจาก : www.rd.go.th)

ในยุคปัจจุบัน การขนส่งสินค้าทางทะเลถือเป็นกลยุทธ์สำคัญส่วนหนึ่งของระบบการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นวิธีการขนส่งที่เอื้ออำนวยต่อการขนสินค้าได้ทีละมากๆ จากรายงานของโครงการศึกษาแผนหลักการพาณิชยนาวี ของคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี กระทรวงคมนาคม รายงานฉบับสมบูรณ์สิงหาคม 2542 ระบุว่า ประเทศไทยพัฒนาประเทศ โดยอาศัยการค้าระหว่างประเทศมาโดยตลอด มีการนำเข้าและส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีมูลค่ามากกว่าร้อยละ 80 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) โดยการขนส่งสินค้าทั้งขาเข้าและขาออกของไทยนั้น จะเป็นการขนส่งทางทะเล เป็นส่วนใหญ่

ด้วยเหตุนี้ การขนส่งสินค้าทางทะเลจึงเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการแข่งขันทางการค้าในตลาดโลก และในการรับทราบในเรื่องของภาระทางด้านภาษีกับการขนส่งทางทะเล จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทั้งผู้ว่าจ้างและเจ้าของเรือ ควรทำความเข้าใจ เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง ดังนี้

1. การจ้างเป็นรายเที่ยว (Voyage Charter)

          หมายถึง การตกลงระหว่างผู้ว่าจ้างและเจ้าของเรือ โดยเจ้าของเรือยังมีอำนาจสั่งการและสิทธิครอบครองเรือ ค่าใช้จ่ายต่างๆเจ้าของเรือจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ มีเกณฑ์การเสียภาษีดังนี้ 

     1)  การขนส่งภายในประเทศ >> จะได้รับการยกเว้น

     2)  การขนส่งนำเข้ามาในประเทศหรือส่งออกไปนอกประเทศ >> จะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 7

     3)  การขนส่งระหว่างประเทศทั้งการนำเข้าหรือส่งออกที่กระทำการโดยนิติบุคคล >> ได้รับสิทธิให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 0

2. การเหมาแบบมีกำหนดระยะเวลา (Time Charter)

  คือ สัญญาระหว่างผู้ว่าจ้างและเจ้าของเรือโดยเจ้าของเรือมีอำนาจสั่งการและสิทธิครอบครองเรือเช่นเดิม ค่าใช้จ่ายส่วนของน้ำมันเชื้อเพลิงจะตกอยู่กับผู้ว่าจ้างเนื่องจากผู้ว่าจ้างมีสิทธิสั่งเรือไปที่ใดก็ได้โดยที่เจ้าของเรือไม่สามารถคิดค่าน้ำมันล่วงหน้าได้แต่ยังมีสิทธิถอนเรือจากการขนส่งได้และมีเกณฑ์เสียภาษีดังต่อไปนี้

     1)  การขนส่งภายในประเทศ >> จะได้รับการยกเว้น

     2)  การขนส่งนำเข้ามาในประเทศหรือส่งออกไปนอกประเทศ >> จะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 7

     3)  การขนส่งระหว่างประเทศทั้งการนำเข้าหรือส่งออกที่กระทำการโดยนิติบุคคล >> ได้รับสิทธิให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 0

3. การประกอบกิจการตามสัญญาเช่าเรือเปล่า (Bareboat Charter)👌

  หมายถึง การที่เจ้าของเรือส่งมอบเรือเปล่าให้แก่คู่สัญญาโดยการควบคุมดูแลค่าใช้จ่ายต่างๆรวมถึงนายเรือลูกเรือจะเป็นความรับผิดชอบของคู่สัญญาโดยกรณีดังกล่าวถือเป็นสัญญาที่เกี่ยวกับการให้บริการซึ่งทั้งในและนอกประเทศ  >> จะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 7



วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2562

รับเงินโบนัสมาต้องเสียภาษีหรือไม่?

เงินโบนัสจ่ายให้พนักงานต้องคำนวณภาษี!?

(ขอบคุณข้อมูลจาก : www.rd.go.th)

  พนักงานหรือลูกจ้างที่ได้รับเงินโบนัสนั้นจะต้องเสียภาษีอากรให้แก่กรมสรรพากรเช่นเดียวกับเงินเดือนที่ได้รับทุกๆเดือน ซึ่งบริษัทที่จ่ายเงินโบนัสมีสิทธินำเงินโบนัสที่จ่ายให้พนักงานหรือลูกจ้าง มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้เช่นกัน



1.ด้านพนักงาน / ลูกจ้าง

ต้องนำเงินโบนัสที่ตนได้รับมานั้นมาถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทเดียวกับเงินเดือนที่ได้รับซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยเงินโบนัสที่พนักงาน/ลูกจ้างได้รับในปีภาษีใดให้ถือเป็นเงินได้พึงประเมินในปีภาษีนั้นตามเกณฑ์เงินสด กล่าวคือหากได้รับเงินโบนั้นปลายปี 25X1 ให้นำไปคิดปีภาษี 25X1 แต่ถ้าหากได้รับเงินโบนัสต้นปี 25X2 ให้นำเงินที่ได้ไปคำนวณภาษีปี 25X2 สรุปคือเมื่อพนักงาน/ลูกจ้างได้รับเงินในปีใดให้นำไปคำนวณภาษีในปีนั้น

2.ด้านนายจ้าง

2.1การหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เมื่อทางบริษัทหรือนายจ้างได้จ่ายเงินโบนัสให้แก่พนักงานตามที่กำหนดไว้ตามมาตรา50(1) แห่งประมวลรัษฎากร และอื่นๆ โดยนายจ้างหรือบริษัทจะต้องนำเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายดังกล่าวให้กับกรมสรรพากรภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน

2.2ภาษีเงินได้นิติบุคคล หากบริษัทจ่ายเงินโบนัสให้แก่พนักงาน/ลูกจ้างตามข้อกำหนดหรือระเบียบที่บริษัทกำหนดไว้อย่างชัดเจน บริษัทมีสิทธินำเงินโบนัสส่วนนั้นมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้


***ข้อควรระวัง***

เงินโบนัสที่จ่ายให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างนั้น ต้องไม่กำหนดจากกำไรสุทธิหรือกำไรขั้นต้นที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นบริษัทจะไม่สามารถนำเงินดังกล่าวที่จ่ายให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างไปนั้น มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2562

ขั้นตอนการยกเลิกทะเบียนพาณิชย์

การยกเลิกทะเบียนพาณิชย์

(อ้างอิงจาก www.rd.go.th)

ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนจากบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคลซึ่งอาจจะมีบางรายที่เคยจดทะเบียนพาณิชย์ไว้แล้วและเมื่อจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วจะต้องทำการจดยกเลิกทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วัน
เอกสารและสถานที่จดยกเลิกทะเบียนพาณิชย์


1.เอกสารการขอยกเลิกทะเบียนพาณิชย์

1) แบบ ทพ. สามารถ Download แบบพิมพ์ไปใช้ในการจดทะเบียนได้ที่  www.dbd.go.th/ดาวน์แบบฟอร์ม/ทะเบียนพาณิชย์

2) สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ประกอบพาณิชยกิจ หรือทายาทที่ยื่นคำขอแทน (กรณีมอบอำนาจให้จดทะเบียน)

3) ใบทะเบียนพาณิชย์

4) สำเนาใบมรณบัตรของผู้ประกอบพาณิชยกิจ (กรณีถึงแก่กรรม) / สำเนาคำสั่งศาล (กรณีวิกลจริต,สาบสูญ)

5) สำเนาหลักฐานแสดงความเป็นทายาทของผู้ลงชื่อแทนผู้ประกอบพาณิชยกิจซึ่งถึงแก่กรรม / คำสั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดก

6) หนังสือมอบอำนาจถ้ามี

2.สถานที่จดยกเลิกทะเบียนพาณิชย์

1) ในเขตกรุงเทพมหานคร

  -สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร สำหรับผู้ประกอบพาณิชยกิจที่มี
สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร

  -ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตทุกแห่ง สำหรับผู้ประกอบพาณิชยกิจ ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ใน
ท้องที่ของเขตนั้น

2) ในภูมิภาค : เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยา สำหรับผู้ประกอบพาณิชยกิจที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่เททศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยาแล้วแต่กรณี

3) ค่าธรรมเนียมในการจดยกเลิกทะเบียนพาณิชย์ 20 บาท

งานสัมมนาประจำปีจากสถาบันคัสเม่ "รู้สิทธิสำคัญของผู้เสียภาษีตามประมวลรัษฎากร พร้อมอัพเดตกฏหมายใหม่ปี 2561-2562"

กลับมาอีกครั้ง👏👏👏กับงานสัมมนาฟรีประจำปี ในหัวข้อเรื่อง "รู้สิทธิสำคัญของผู้เสียภาษีตามประมวลรัษฎากร พร้อมอัพเดตกฏหมายใหม่ปี 2561-2562"👨‍💼

***ความรู้ที่สมาชิกและผู้เข้ารับการอบรม จะได้รับ***
❶ รับฟัง ทิศทางการจัดเก็บภาษีและเป้าหมายการเป็น Digital RD ของกรมสรรพากร บุคคลผู้เสียภาษี หรือ ผู้ประกอบการ ควรเตรียมรับมืออย่างไร
❷ รับทราบ สรุปกฎหมายภาษีที่สำคัญสำหรับ SMEs ในรอบปี 61 ถึงปี 62 ปัจจุบัน
❸ รับรู้ 10 สิทธิของผู้เสียภาษีอากรตามกฎหมายภาษีสรรพากร (Know your 10 rights as a taxpayer) ที่ท่านอาจไม่เคยรู้มาก่อนในแต่ละขั้นตอน เช่น
#ขั้นตอนการยื่นแบบและเสียภาษีเป็นปกติ
#ขั้นตอนถูกเชิญพบ ถูกตรวจปฏิบัติการ หรือถูกตรวจสอบ
#ขั้นตอนถูกแจ้งประเมินภาษีภายหลังการตรวจสอบ
++++++++++
#รู้สิทธิสำคัญของผู้เสียภาษีตามประมวลรัษฎากรพร้อม Update กฎหมายใหม่ปี 61-62
#วันและเวลา: พฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562 (13.00 - 16.30 น.) เริ่มลงทะเบียนตั้งแต่เวลา 12.30 น.
#วิทยากร: อ.ดำริ ดวงนภา, (Tax Auditor) ประสบการณ์ด้านการวางแผนภาษี & ที่ปรึกษา +30 ปี, อดีตเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรและนักวิชาการสรรพากร +14 ปี, เจ้าของผลงาน "การวางแผนและบริหาร VAT อย่างรู้ทัน: Secrets & Strategies" โดยอมรินทร์พับลิชชิ่งและสถาบัน MGA ปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาหอการค้า จังหวัดระยอง, ผู้บริหารในเครือบริษัท ดีสมาร์ท คอนซัลแทนท์ จำกัด และวิทยากรพิเศษให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐฯและภาคเอกชน
#สถานที่: โรงแรมโกลเด้นซิตี้ จ.ระยอง
#ราคา: 0 บาท/ที่นั่ง สำหรับสมาชิก และ 749.00 บาท สำหรับบุคคลทั่วไป (รวม VAT, เอกสาร & เบรคแล้ว)
+++++++++++
สำรองที่นั่งด่วนก่อนเต็มทาง🚩 https://goo.gl/forms/KGD5xegmhmSHiFBf2
***จำกัดจำนวนที่นั่งเพียง 50 ท่านเท่านั้น***
#สอบถามรายละเอียดและเช็คสิทธิการเป็นสมาชิก ได้ทาง โทร. (033)650-892, LINE:KASMETHAI

ยุทธศาสตร์การเก็บภาษี กับแนวบริหารแบบ "D2RIVE"

ยุทธศาสตร์การเก็บภาษี กับแนวบริหารแบบ "D2RIVE"

บางท่านอาจเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วสำหรับคำนี้ ซึ่ง "D2RIVE" นั้นจัดว่าเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ล่าสุดจากกรมฯ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการในการจัดเก็บภาษี #เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยจะเป็นการเชื่อมโยงฐานข้อมูลขนาดใหญ่ หรือที่เรียกว่า "Big Data" ของผู้เสียภาษี ผ่านระบบ digital และรวมถึงเป็นนโยบายที่มีไว้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้เสียภาษีกับการให้บริการที่รวดเร็ว

ถ้าสรุปอย่างง่ายนั้น D2RIVE คือนโยบายการบริหารจัดเก็บภาษี ที่ย่อมาจาก #Digital Transformation มุ่งเน้นการบริการของกรมสรรพากร โดยยึดผู้เสียภาษีเป็นศูนย์กลาง ลดภาระการใช้กระดาษ การจัดเก็บเอกสาร เช่น ระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับปีภาษี 2561 สามารถ Upload เอกสารที่จะใช้ประกอบการขอคืนภาษีได้ เพื่อลดภาระในการจัดเก็บเอกสารและนำส่งให้กรมสรรพากร #Data Analytics การนำข้อมูลทั้งภายในและภายนอกจากฐานข้อมูล Big Data มาวิเคราะห์เพื่อการออกแบบนโยบายภาษีให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย และแยกผู้เสียภาษีกลุ่มดีและไม่ดีออกจากกัน เช่น กลุ่มนิติบุคคลที่มีความเสี่ยงด้านใบกำกับภาษีปลอม #Revenue Collection เน้นกระบวนการการเก็บภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องและเป็นธรรม เช่น การตั้งทีมวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเก็บภาษี #Innovation การสร้างและนำนวัตกรรมใหม่ๆมาปรับใช้กับระบบภาษี เช่น การนำ Blockchain มาใช้กับระบบภาษีมูลค่าเพิ่มและการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับนักท่องเที่ยว #Values การพัฒนากรมสรรพากรเองให้เป็นองค์กรที่มีคุณธรรมและสร้างอัตลักษณ์ด้าน Honest, Accountability และ Service mind (ความซื่อสัตย์, ความรับผิดชอบ, หัวใจบริการ) #Efficiency เน้นยกระดับประสิทธิภาพคน และงาน ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน ปรับปรุงระบบงาน การนำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อลดระยะเวลาการทำงาน

แล้วยุทธศาสตร์ดังกล่าว💹 จะมีผลกับพวกเรา #กลุ่มผู้เสียภาษี อย่างไร ติดตามกันต่อได้ ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์นี้@โรงแรมโกลเด้นซิตี้ จ.ระยอง นะคะ 🤓 ****** #สัมมนาประจำปี 🚩จากสถาบันคัสเม่ #ฟรีค่าอบรม สำหรับสมาชิก และเพียง 749.00 บาท สำหรับบุคคลทั่วไป (ราคานี้รวมทุกอย่างแล้ว) 👉สำรองที่นั่งก่อนเต็ม (จำกัดจำนวนเพียง 50 ที่นั่งเท่านั้น) ทาง https://goo.gl/forms/KGD5xegmhmSHiFBf2 👉โทร. (033) 650-892 👉LINE: KASMETHAI

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2562

เช็คด่วน! ขั้นตอนการดาวน์โหลด XBRL เวอร์ชั่น 2.0 สำหรับการยื่นงบการเงินผ่านระบบ e-Filing

เช็คด่วน! ขั้นตอนการดาวน์โหลด XBRL เวอร์ชั่น 2.0 สำหรับการยื่นงบการเงินผ่านระบบ e-Filing

พร้อมแล้วคลิ๊ก >> ขั้นตอนการดาวน์โหลด XBRL เวอร์ชั่น 2.0 สำหรับการยื่น e-Filing กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ดาวน์โหลดคู่มือการติดตั้งและการใช้งาน XBRL Version 2.0 คลิ๊ก >> DOWNLOAD




วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2562

SMEs กับ สิทธิประโยชน์ทางภาษี

SMEs กับ สิทธิประโยชน์ทางภาษี

ธุรกิจ SMEs (Small and Medium Enterprises) ถือเป็นหนึ่งในหัวใจหลักในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และต้องยอมรับถึงการเป็นภาคส่วนสำคัญที่ช่วยให้เกิดการกระจายรายได้ การจ้างงานสู่ภาคประชาชน ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นหนึ่งในที่มาของการสนับสนุนจากทางภาครัฐฯ สำหรับการดำเนินธุรกิจ SMEs กับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่กิจการจะได้รับโดยต่อเนื่อง


และในวันนี้ สถาบันคัสเม่ จะขอนำทุกท่านทำความเข้าใจกับลักษณะธุรกิจ SMEs กับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่จะได้รับจากการประกอบกิจการค่ะ

อ้างอิงจาก: มุมสรรพากร (ฉบับที่ 79)

***ลักษณะธุรกิจ SMEs***
พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2543 ลักษณะของธุรกิจ SMEs จะขึ้นอยู่กับกิจการ 4 ประเภทคือ

1. กิจการผลิตสินค้า
วิสาหกิจขนาดย่อม มีจำนวนการจ้างงานไม่เกิน 50 คน จำนวนสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 50 ล้านบาท
วิสาหกิจขนาดกลาง มีจำนวนการจ้างงาน 51-200 คน จำนวนสินทรัพย์ถาวร 51-200 ล้านบาท

2. กิจการค้าส่ง
วิสาหกิจขนาดย่อม มีจำนวนการจ้างงานไม่เกิน 25 คน จำนวนสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 50 ล้านบาท
วิสาหกิจขนาดกลาง มีจำนวนการจ้างงาน 26-50 คน จำนวนสินทรัพย์ถาวร 51-100 ล้านบาท

3. กิจการค้าปลีก
วิสาหกิจขนาดย่อม มีจำนวนการจ้างงานไม่เกิน 15 คน จำนวนสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 30 ล้านบาท
วิสาหกิจขนาดกลาง มีจำนวนการจ้างงาน 16-30 คน จำนวนสินทรัพย์ถาวร 31-60 ล้านบาท

4. กิจการให้บริการ
วิสาหกิจขนาดย่อม มีจำนวนการจ้างงานไม่เกิน 50 คน จำนวนสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 50 ล้านบาท
วิสาหกิจขนาดกลาง มีจำนวนการจ้างงาน 51-200 คน จำนวนสินทรัพย์ถาวร 51-200 ล้านบาท

***สิทธิประโยชน์ทางภาษี สำหรับ SMEs***
1. บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการ ในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท
>>> สิทธิประโยชน์ = ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิ 300,000 บาทแรก 
หรือ บริษัทฯ ที่มีแรงงานไม่เกิน 200 คน จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี หัก ค่าสึกหรอ และ ค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง เป็นต้น

2. บริษัท หรือ ห้างหุ่นส่วนนิติบุคคล มีสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดิน ไม่เกิน 200 ล้านบาท และจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน
>>> สิทธิประโยชน์ = จ้างนักศึกษาทำบัญชี สามารถหักรายจ่ายได้ 2 เท่า ของที่จ่ายจริง สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มใน หรือ หลังวันที่ 1 มกราคม 2559 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2561

3. กิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ที่อยู่ในบังคับภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่มีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี หรือ ต่อรอบระยะเวลาบัญชี
>>> สิทธิประโยชน์ = ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

4. จ้างงานผู้สูงอายุ
>>> สิทธิประโยชน์ = หักรายจ่ายได้ 2 เท่า โดยต้องแจ้งการใช้สิทธิจ้างงานผู้สูงอายุ ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีด้วย