SMEs กับ สิทธิประโยชน์ทางภาษี
ธุรกิจ SMEs (Small and Medium Enterprises) ถือเป็นหนึ่งในหัวใจหลักในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และต้องยอมรับถึงการเป็นภาคส่วนสำคัญที่ช่วยให้เกิดการกระจายรายได้ การจ้างงานสู่ภาคประชาชน ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นหนึ่งในที่มาของการสนับสนุนจากทางภาครัฐฯ สำหรับการดำเนินธุรกิจ SMEs กับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่กิจการจะได้รับโดยต่อเนื่อง
และในวันนี้ สถาบันคัสเม่ จะขอนำทุกท่านทำความเข้าใจกับลักษณะธุรกิจ SMEs กับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่จะได้รับจากการประกอบกิจการค่ะ
อ้างอิงจาก: มุมสรรพากร (ฉบับที่ 79)
***ลักษณะธุรกิจ SMEs***
พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2543 ลักษณะของธุรกิจ SMEs จะขึ้นอยู่กับกิจการ 4 ประเภทคือ1. กิจการผลิตสินค้า
วิสาหกิจขนาดย่อม มีจำนวนการจ้างงานไม่เกิน 50 คน จำนวนสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 50 ล้านบาท
วิสาหกิจขนาดกลาง มีจำนวนการจ้างงาน 51-200 คน จำนวนสินทรัพย์ถาวร 51-200 ล้านบาท
2. กิจการค้าส่ง
วิสาหกิจขนาดย่อม มีจำนวนการจ้างงานไม่เกิน 25 คน จำนวนสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 50 ล้านบาท
วิสาหกิจขนาดกลาง มีจำนวนการจ้างงาน 26-50 คน จำนวนสินทรัพย์ถาวร 51-100 ล้านบาท
3. กิจการค้าปลีก
วิสาหกิจขนาดย่อม มีจำนวนการจ้างงานไม่เกิน 15 คน จำนวนสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 30 ล้านบาท
วิสาหกิจขนาดกลาง มีจำนวนการจ้างงาน 16-30 คน จำนวนสินทรัพย์ถาวร 31-60 ล้านบาท
4. กิจการให้บริการ
วิสาหกิจขนาดย่อม มีจำนวนการจ้างงานไม่เกิน 50 คน จำนวนสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 50 ล้านบาท
วิสาหกิจขนาดกลาง มีจำนวนการจ้างงาน 51-200 คน จำนวนสินทรัพย์ถาวร 51-200 ล้านบาท
***สิทธิประโยชน์ทางภาษี สำหรับ SMEs***
1. บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการ ในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท>>> สิทธิประโยชน์ = ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิ 300,000 บาทแรก
หรือ บริษัทฯ ที่มีแรงงานไม่เกิน 200 คน จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี หัก ค่าสึกหรอ และ ค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง เป็นต้น
2. บริษัท หรือ ห้างหุ่นส่วนนิติบุคคล มีสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดิน ไม่เกิน 200 ล้านบาท และจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน
>>> สิทธิประโยชน์ = จ้างนักศึกษาทำบัญชี สามารถหักรายจ่ายได้ 2 เท่า ของที่จ่ายจริง สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มใน หรือ หลังวันที่ 1 มกราคม 2559 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2561
3. กิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ที่อยู่ในบังคับภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่มีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี หรือ ต่อรอบระยะเวลาบัญชี
>>> สิทธิประโยชน์ = ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
4. จ้างงานผู้สูงอายุ
>>> สิทธิประโยชน์ = หักรายจ่ายได้ 2 เท่า โดยต้องแจ้งการใช้สิทธิจ้างงานผู้สูงอายุ ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น