Update ภาษีใหม่
ที่กรมสรรพากรจัดเก็บ by Kasme
ตามที่มีกฎหมายออกใหม่ ให้มีการจัดเก็บภาษีจากการรับมรดก และ จากการรับให้ โดยให้อยู่ในอำนาจของกรมสรรพากรเป็นผู้มีหน้าที่จัดเก็บนั้น หลายๆท่าน ที่ติดตามข่าว อาจยังสงสัยว่าสรุปแล้วเป็นภาษีอะไรกันแน่ เพราะที่ผ่านมา มีการพูดถึง ภาษีมรดก ภาษีโรงเรือน และที่ดิน หรือแม้กระทั่งภาษีการให้ แต่พอกฎหมายออกมา ชื่อกฎหมาย ดู เปลี่ยนไป เรื่องนี้ คัสเม่ ขอแสดงความกระจ่าง ให้กับเพื่อนสมาชิกและผู้สนใจ ดังนี้
ก่อนอื่นควรทราบว่าภาษีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ มี 3 ประเภท ซึ่งเป็นภาษีใหม่ 2 ประเภท และ
ภาษีเก่ามี 1 ประเภท
คือ
1. ภาษีการให้
(Gift Tax) = ภาษีใหม่ บังคับจัดเก็บโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
ฉบับที่ 40 พ.ศ. 2558
2. ภาษีการรับมรดก
( Inheritance Tax) = ภาษีใหม่ จัดเก็บโดยออกกฎหมายใหม่ มาเลย
เรียกว่า พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558
3. ภาษีกองมรดก
(Estate Tax ) = ภาษีเก่า จัดเก็บตามกฎหมายภาษีสรรพากร
ที่เรียกว่าประมวลรัษฎากร
หลักการจัดเก็บภาษีแต่ละตัว
คือ
ภาษีการให้ (Gift
Tax) จัดเก็บกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินโอนเงินได้
หรือ ทรัพย์สินให้กับบุคคลอื่นขณะที่ตนเองยังมีชีวิตอยู่ ข้อย้ำว่ายังมีชีวิตอยู่ เพราะถ้าเสียชีวิตแล้ว ไม่ถือว่าเป็นการให้
ฐานภาษีที่ต้องเสียภาษี (Tax Base) คือ
มูลค่าของเงินได้ส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท ตลอดปี ภาษีนั้น เน้นเฉพาะส่วนที่เกิน 20 ล้านเป็นต้นไป
ส่วนที่ไม่เกิน 20 ล้าน ยกเว้นภาษี และ ผู้มีเงินได้ หรือ ผู้เสียภาษี(ผู้รับจากการให้)
มีสิทธิเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของเงินได้ของส่วนที่เกิน
20ล้านบาทโดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณ กับเงิน ได้อย่างอื่นในปีภาษีนั้น หรือ จะนำไปรวมกับเงินได้อย่างอื่นเพื่อคำนวณภาษีตามปกติก็ได้ สรุปก็คือ กฎหมายให้สิทธิเลือกวิธีการยื่นแบบการคำนวณการเสียภาษี
กรณียกเว้น 20
ล้านบาท ทำได้เฉพาะผู้มีเงินได้หรือผู้รับ
ที่เป็น บุพการี คู่สมรส หรือผู้สืบสันดานเท่านั้น แต่กรณีผู้มีเงินได้ หรือผู้รับ ที่ได้รับการอุปการะหรือการให้โดยเสน่หาฯ
เป็นบุคคลที่มิใช่บุพการี
ผู้สืบสันดานหรือคู่สมรส การยกเว้นให้นี้ จะเหลือเพียง 10 ล้านบาท
ซึ่ง
ผู้มีเงินได้มีสิทธิเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของเงินได้ส่วนที่เกิน10 ล้านบาทโดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณ
กับเงินได้อย่างอื่นในปีภาษีนั้น เช่นเดียวกัน
ภาษีการรับมรดก (Inheritance
Tax) จัดเก็บจากมูลค่าของทรัพย์มรดกตามประเภทที่กฎหมายกำหนด
ไม่ว่าจะเป็นสังหาริมทรัพย์ หรือ
อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน โรงเรือน ,
หลักทรัพย์, เงินฝาก, ยานพาหนะ, และอื่นๆ (ตามที่กฎหมายจะประกาศออกมาทีหลัง) ภาษีนี้จัดเก็บจากผู้ที่ได้รับมรดก ในตอนที่เจ้าของทรัพย์สิน
(เจ้ามรดก) เสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งต่างกับภาษีการให้
ตรงที่เจ้าของทรัพย์สินยังมีชีวิตอยู่
ฐานภาษี (Tax Base) ที่ต้องเสีย คือ มูลค่ามรดก ที่ได้รับ ส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท อัตราภาษี ร้อยละ 10
ของมูลค่ามรดก แต่ถ้าผู้รับมรดกเป็นบุพการี ผู้สืบสันดาน อัตราภาษี
ร้อยละ 5
ภาษีกองมรดก (Estate
Tax) จัดเก็บจากเงินได้ของกองมรดก ในขณะที่มรดกยังไม่ได้แบ่ง
คือเจ้าของทรัพย์เสียชีวิตแล้ว มีกองมรดกเหลืออยู่ และในปีภาษี มีเงินได้เกิดจากกองมรดกนั้น ผู้จัดการมรดกที่ได้รับการแต่งตั้ง เป็นผู้มีหน้าที่ยื่นแบบเสียภาษี
วิธีการคำนวณภาษี
เช่นเดียวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ซึ่งสรรพากรจัดเก็บภาษีประเภทนี้มานานแล้ว
มาถึงตรงนี้
ชาวคัสเม่ คงเข้าใจกันพอสมควรแล้วสำหรับกรณีภาษี 3 ประเภทนี้ ใครมีทรัพย์สินมาก ๆ อาจถึงเวลาที่ต้องคิดกันแล้วล่ะว่า
จะบริหารจัดการทรัพย์สินของตนเองอย่างไร จะยกให้เลย หรือจะรอไว้แบ่งเป็นมรดก สำหรับภาษีใหม่ทั้ง
2 ประเภทนี้ จะใช้บังคับ ภายใน 180 วัน
นับแต่วันประกาศ เมื่อนับวันแล้ว ก็จะตกอยู่ที่เดือน กุมภาพันธ์ ปี 2559 ดังนั้น ขณะนี้ยังมีเวลาในการวางแผนภาษีล่วงหน้าก่อนถึงวันสำคัญ
เราจึงขอแนะนำให้ท่าน Tax Planning ซึ่งอาจช่วยลดความตื่นเต้นให้ท่านได้ ไม่มากก็น้อยสำหรับท่านที่เข้าข่ายกับกรณีนี้โดยตรง
"หน้าต่างแห่งความรู้ ประตูสู่ความสำเร็จ" |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น