วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ธุรกิจร้านค้าปลีกกับแนวทางการคำนวณภาษี

ธุรกิจร้านค้าปลีกกับแนวทางการคำนวณภาษี


สัดส่วนจำนวนของ ร้านค้าปลีกในประเทศไทย นั้น ถ้าว่ากันตามความเป็นจริงแล้วก็ถือว่ามีจำนวนมาก จึงทำให้ร้านค้าปลีกเป็นธุรกิจรายย่อยที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจอย่างชัดเจน โดยลักษณะของร้านค้าปลีกโดยทั่วไปจะเป็นการขายสินค้าที่เข้าถึงผู้บริโภค ซึ่งเจ้าของร้านเป็นบุคคลธรรมดา มีการบริหารจัดการที่ไม่ยุ่งยาก  และสินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 

โดยรูปแบบธุรกิจของร้านค้าปลีกจะมีรูปแบบที่แตกต่างกัน อาทิเช่น ยี่ปั๊วะ ซาปั๊วะ โชห่วย ร้านของชำ หาบเร่ แผงลอย ร้านอาหาร เป็นต้น 

และจากการที่ภาครัฐเข้ามาให้ความสำคัญในการส่งเสริมร้านค้าปลีก จึงทำให้เกิดประโยชน์หลายด้านสำหรับร้านค้า ตัวอย่างเช่น

>> ขายของได้หลากหลาย สินค้ามีราคาถูก สินค้าไม่ค้างสต๊อก
>> ลูกค้าเยอะขึ้น ยอดขายเพิ่มขึ้น กำไรเยอะขึ้น
>> เจ้าของร้านเป็นผู้นำส่ง VAT ไม่ได้เป็นคนจ่ายภาษี
>> ได้รับสิทธิประโยชน์หักค่าธรรมเนียมจากบัตรเดบิตได้ 2 เท่า
>> ชำระเงินผ่าน EDC เพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระเงิน
>> เป็นร้านค้ายุคดิจิทัล Thailand 4.0 และมีสิทธิประโยชน์อีกมากมาย
#อ้างอิงจากกรมสรรพากร

แต่คำถามต่อมาก็คือ แล้วถ้าเราเป็นบุคคลธรรมดา มีรายได้จากการขายของชำ จะคำนวณภาษีได้อย่างไรบ้าง ?
สามารถคำนวณได้ 2 วิธีคือ
1. คำนวณภาษีแบบหักค่าใช้จ่ายเหมา 60%
2. คำนวณภาษีแบบหักค่าใช้จ่ายตามจริง


แล้วถ้าเป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลล่ะ จะคำนวณภาษีอย่างไร?
บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จะคำนวณภาษีจากกำไรสุทธิ โดยใช้อัตราภาษีเงินได้นิติบุคลตามที่สรรพากรได้กำหนดไว้ในการคำนวณ ดังนี้คือ


******* ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจากกรมสรรพากร WWW.RD.GO.TH *******

KASME

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น