คุณอยู่ในกลุ่มธุรกิจบริการ ที่ต้องจด VAT หรือเปล่า?
ในวันนี้ สถาบันคัสเม่ จะมาคลายข้อสงสัยและความกังวล ให้กับทุกท่านค่ะ
#1
ผู้ประกอบการ ต้องเข้าใจว่า
>> รายได้ที่จะนำมาคำนวณเพื่อเป็นเกณฑ์ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ >> ต้องไม่เป็นรายได้ที่มาจากกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ไม่ใช่กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 แห่งประมวลรัษฎากร เช่น การให้บริการวิจัย การให้บริการทางวิชาการ เป็นต้น)
#2
กรณีผู้ประกอบการเข้าข่ายทำธุรกิจที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องพิจารณาว่ารายรับ หรือรายได้ ที่จะนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องเป็นรายรับที่กิจการได้รับจริง (ไม่ใช่กำไรหลักหักค่าใช้จ่าย)
#3
หากกิจการใดมีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี (กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้นับเป็นแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี) ผู้ประกอบการของกิจการดังกล่าว ก็มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน "นับตั้งแต่วัน" ที่มูลค่าของฐานภาษีเกิน 1.8 ล้านบาท โดยการนับจำนวนมูลค่าของรายรับ ให้นับแต่ละปี หรือ แต่ละรอบระยะเวลาบัญชีเท่านั้น
กรณีที่เข้าเกณฑ์ที่จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
#แต่ในทางปฏิบัติไม่ได้ทำตาม ผู้ประกอบการต้องรับผิดอย่างไร
#เด้ง1 เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จากส่วนที่เกิน 1.8 ล้านบาท
#เด้ง2 เสียเบี้ยปรับ 2 เท่า ของเงินภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษีตลอดระยะเวลาที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือเป็นจำนวนเงิน 1,000 บาทต่อเดือนภาษีแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
#เด้ง3 เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ
เราก็ทราบกันแล้วว่า หากเกิดข้อผิดพลาดหรือเจตนาที่จะไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการมีสิทธิโดนรับผิดถึง 3 เด้งด้วยกัน รู้แบบนี้แล้วนักบัญชีประจำกิจการ หรือตัวเจ้าของเอง สำหรับกิจการที่ยังไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ต้องระมัดระวังกันด้วยนะคะ
KASME
สถาบันคัสเม่: The Institute of Effective Training for SMEs
========NEXT SEMINAR========
20 & 21 มิถุนายนนี้ กับ 2 หลักสูตรใหม่จากสถาบันคัสเม่ CPD อบรมครบ 2 วัน นับชั่วโมงครบปี!!
สำรองที่นั่งก่อนเต็มทาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น