สาระน่ารู้กรณี การใช้สิทธิเบี้ยประกันสุขภาพ
ในปี 2561
เขียนโดย: อ.ดำริ ดวงนภา (23 สิงหาคม 2561)
ดาวน์โหลดบทความได้ที่นี่
ตั้งแต่ ปี 2561 เป็นต้นไป ผู้มีเงินได้ที่จะใช้สิทธิหักลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพ ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิต่อบริษัทประกันชีวิต หรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร ที่ได้เอาประกันไว้ ส่วนบริษัทประกันฯ ดังกล่าว ต้องส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรภายในวันที่ 7 มกราคม ของปีถัดไป
การประกันสุขภาพ หมายถึง
การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล อันเกิดจากการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บ
การชดเชยการทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะเนื่องจากเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ
การประกันอุบัติเหตุเฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ทุพพลภาพ
สูญเสียอวัยวะ การแตกหักของกระดูก
การประกันภัยโรคร้ายแรงรวมถึงการประกันภัยการดูแลระยะยาว
เบี้ยประกันสุขภาพ
ยกเว้น(ลดหย่อน)เงินได้ ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 15,000
บาท
แต่เมื่อรวมกับค่าลดหย่อนหรือยกเว้นเงินได้เกี่ยวกับการประกันชีวิต
และการฝากเงินกับธนาคารที่มีเงื่อนไขข้อตกลงแล้ว รวมกันจะต้องไม่เกิน 100,000
บาท
ประมวลรัษฎากร ที่เกี่ยวกับ ค่าลดหย่อนและการยกเว้นเงินได้ที่นำมาหักรวมกันได้ไม่เกิน
100,000 บาท ในกลุ่มนี้ ประกอบด้วยบทบัญญัติ
ดังต่อไปนี้
1.มาตรา 47(1)(ง) ค่าลดหย่อนประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ ที่กรมธรรม์ประกันชีวิตตั้งแต่ 10
ปี ขึ้นไป
เบี้ยประกันชีวิตหักได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
2.กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ2(61) กรณีตามข้อ1
ให้หักยกเว้นเบี้ยประกันชีวิตได้อีกไม่เกิน 90,000บาท
3.กฎกระทรวงฉบับที่ 126 ข้อ2(94) กรณีมีการฝากเงินกับธนาคารตั้งแต่ 10ปี ขึ้นไป ที่มีข้อตกลงการจ่ายคืนเนื่องจากการทรงชีพหรือมรณะของผู้ฝากเงิน
ผู้มีเงินได้ หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่เมื่อรวมกับค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตตาม1
และ 2แล้ว จะต้องไม่เกิน 100,000 บาท
4.กฎกระทรวงฉบับที่ 126 ข้อ2 (97)
ให้ยกเว้นเบี้ยประกันสุขภาพที่จ่ายให้กับบริษัทประกันภัยหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร
โดยยกเว้นได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 แต่เมื่อรวมกับค่าลดหย่อนและยกเว้นเบี้ย ประกันในกลุ่มการประกันชีวิต
กับกรณีการฝากเงินตามข้อ 1ถึง 3แล้ว
จำนวนค่าลดหย่อนหรือยกเว้นต้องไม่เกิน 100,000 บาท
สถาบันฝึกอบรมภาษีบัญชีการเงินและการลงทุน
ระยอง ชลบุรี กรุงเทพฯ
The Institute of Effective Training for SMEs
"หน้าต่างแห่งความรู้ ประตูสู่ความสำเร็จ"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น