วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ภาษีกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC ภาค 2




 เมื่อวิเคราะห์โครงสร้างภาษีไทยในปัจจุบัน จะพบปัญหาภาษีที่มีอยู่ รวมถึงปัญหา ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเมื่อเปิดเสรี AEC ประเด็นปัญหาภาษี ที่ควรต้องปรับปรุงอย่างเร่งด่วน เพื่อลดอุปสรรค และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันต่อการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กล่าวคือ

ปัญหาภาษีเงินได้บุคคลธรรมด

1. ภาษีเงินได้ของไทยไม่ใช่แหล่งรายได้หลัก มีสัดส่วนในการจัดเก็บภาษี ประมาณ 25 % และมีฐานภาษีที่แคบ จากข้อมูลสถิติของกรมสรรพากรในปี ภาษี 2553  พบว่าประชากรทั้งประเทศ 64 ล้านคน มีประชากรที่อยู่ในวัยแรงงานจำนวน 38 ล้านคน แต่ มีผู้ยื่นแบบภาษีเงินได้ 9 ล้านแบบ และมีเพียง 2.3 ล้านแบบ เท่านั้นที่มีภาษีชำระ ดังนั้น เมื่อ AEC เกิดขึ้นมีแนวโน้มที่ฐานภาษีจะแคบลง และอัตราภาษีที่จะลดลงเนื่องจากการแข่งขันทำให้จำนวนสัดส่วภาษีเงินได้จะลดลงไปอีก 

2. อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขั้นสูงสุดของไทยลดลงจาก 37% มาอยู่ที่ 35 % ยังอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับประเทศ ในกลุ่ม AEC (ดูตารางที่ 2 ) ดังนั้นเมื่อเปิดเสรีอาเซียน  จึงไม่จูงใจ ที่จะดึงดูดนักลงทุน หรือแรงงานมีฝีมือที่มีศักยภาพ เข้ามาอยู่ ทำงาน และเสียภาษีในประเทศไทยในทางกลับกัน จะมีแรงงานฝีมือที่มีรายได้สูงของไทยย้ายไปทำงานในประเทศอื่นที่ภาษีต่ำกว่า 

3.โครงสร้างการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  กฎหมายมีการให้หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน จำนวนมากที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่สอดคล้อง กับค่าครองชีพพื้นฐาน เช่น ผู้มีเงินได้จากเงินเดือน ค่าจ้าง ไม่ว่าจะมีเงินได้ในปีภาษีจำนวนมากน้อยเท่าใด กฎหมายยอมให้หักค่าใช้จ่ายเหมาได้ 40%  แต่ต้องไม่เกิน 60,000 บาท จึงเป็นการไม่ยุติธรรม และสอดคล้องกับภาวะทางเศรษฐกิจ ถึงแม้กฎหมายอาจจะมีการให้หักลดหย่อน หรือค่า ยกเว้นต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อชดเชย แต่ก็ยังถือว่าไม่เหมาะสม และมีผลทำให้บิดเบือนกลไกการทำงานของภาษีเงินได้ ซึ่งเป็นภาษีทางตรง ในการทำหน้าที่กระจายรายได้ที่เป็นธรรมด้วย  ส่วนค่าลดหย่อนก็มีจำนวนมาก และรายการเงินได้ที่ยกเว้น ก็มีจำนวนกว่า 100 รายการ  ทำให้ฐานภาษีแคบ และสึกกร่อน ซับซ้อน ทำให้ยุ่งยากมากในทางปฏิบัติในการเสียภาษีเงินได้ ถือว่าเป็นอุปสรรคอย่างมาก  เมื่อเปิด AEC

แนวทางแก้ไข ปรับปรุงการหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนให้เหมาะสม กับมาตรฐานการครองครองชีพ และให้มีความยืดหยุ่น สอดคล้องกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ให้ภาษีเงินได้ ที่เป็นภาษีทางตรงทำหน้าที่อย่างถูกต้อง ตามหลักภาษีที่ดี ยกเลิก ค่าลดหย่อนเฉพาะกิจต่าง ๆ ที่ไม่สอดคล้องกับหลักความสามารถและหลักผลประโยชน์ ในการเสียภาษี  ที่ทำให้เพิ่มความเหลื่อมล้ำ ในการกระจายรายได้ พิจารณายกเลิกรายการยกเว้นเงินได้  อาจคงมีไว้ได้เฉพาะเท่าที่จำเป็นเท่านั้น


-โปรดติดตามตอนต่อไป-

"หน้าต่างแห่งความรู้ ประตูสู่ความสำเร็จ"


All Rights Reserved KASME Co.,Ltd. 32/9 M.3 T.Nurnpra A.Muang Rayong 21000
บริษัท คัสเม่ จำกัด 32/9 ม.3 ต.เนินพระ อ.เมือง จ.ระยอง 21000
ขอสงวนสิทธิ์ห้ามทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข ก่อนได้รับอนุญาต 
 facebook: facebook.com/kasme.thai  We are HERE

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น