วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ข้อแนะนำการหักค่าเสื่อมและอัตราที่ใช้ในการคำนวณ


ข้อแนะนำการหักค่าเสื่อมและอัตราที่ใช้ในการคำนวณ
อ้างอิงจาก: กรมสรรพากร และพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยหักค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527

ค่าเสื่อมราคาคืออะไร ?

ค่าเสื่อมราคา = "ค่าใช้จ่าย"ที่เกิดจากการคำนวณจากมูลค่าของสินทรัพย์ที่ซื้อมาใช้ในกิจการ และนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายประจำงวด

การนำค่าเสื่อมราคามาหักเป็นค่าใช้จ่ายในทางบัญชีภาษีอากร มีวิธีปฏิบัติไม่ตรงกับการหักค่าใช้จ่ายในทางบัญชีมาตรฐานทั่วไป จึงมักทำให้เกิดความผิดพลาดหรือความเข้าใจคลาดเคลื่อนในการคำนวณค่าใช้จ่าย เพื่อคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีเสมอ

ข้อแนะนำในการหักค่าเสื่อมราคา

ควรแยกประเภททรัพย์สินที่จะนำมาหักค่าเสื่อมราคาได้ และประเภทที่หักค่าเสื่อมราคาไม่ได้ ออกจากกัน เพื่อประโยชน์ในการนำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิ

ทรัพย์สินที่สามารถหักค่าเสื่อมราคาได้

ทรัพย์สินถาวรทั่วไปที่โดยสภาพของทรัพย์สินอาจเสื่อมราคาได้ ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะมีรูปร่างตัวตนหรือไม่
>>อาคาร อาคารถาวร อาคารชั่วคราว
>>ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สูญสิ้นไปได้
>>ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิการเช่า เช่น เงินกินเปล่า เงินช่วยค่าก่อสร้างค่าแห่งอาคาร หรือโรงเรือนที่ได้โอนเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินเมื่อสร้างเสร็จ ซึ่งตอบแทนสิทธิการเช่าอันมีระยะเวลา
>>ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิในกรรมวิธี สูตร กู๊ดวิลล์ เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร สิทธิประกอบกิจการตามใบอนุญาต ลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น
>>ทรัพย์สินอย่างอื่น เช่น รถยนต์ เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องตกแต่งสำนักงาน เป็นต้น

ทรัพย์สินที่ไม่สามารถหักค่าเสื่อมราคาได้

ทรัพย์สินถาวรทั่วไปที่โดยสภาพของทรัพย์ไม่อาจเสื่อมราคาได้ เช่น
>>ที่ดิน
>>เพชร พลอย อัญมณี แร่ธาตุ
>>ทรัพย์สินถาวร “ที่ยังไม่พร้อมจะใช้งาน” เช่น อาคารระหว่างก่อสร้าง เครื่องจักรระหว่างติดตั้ง

อัตราหักต่างกัน ควรแยกออกจากกัน

ควรแยกประเภททรัพย์สินที่สามารถหักค่าเสื่อมราคาได้ในอัตราที่แตกต่างกันออกจากกัน
>>อาคารและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆในอาคาร เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ เครื่องปรับอากาศ = กฏหมายกำหนดให้หักค่าเสื่อมราคาได้ร้อยละ 20 ของมูลค่าต้นทุน
>>ตัวอาคาร = หักค่าเสื่อมราคาในอัตราต่ำเพียงไม่เกินร้อยละ 5 ของมูลค่าต้นทุน

เลือกวิธีในการหักค่าเสื่อมราคา

เลือกใช้วิธีการทางบัญชี เพื่อการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา ให้ได้สอดคล้อง กับสภาพการใช้ทรัพย์สินและอำนวยประโยชน์แก่กิจการได้สูงสุด
บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล อาจเลือกใช้วิธีการทางบัญชีในการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน ตามวิธีใดก็ได้ แต่เมื่อเลือกใช้วิธีการและอัตราที่จะหักวิธีใดแล้ว ต้องใช้วิธีการและอัตรานั้นตลอดไป

ะเปลี่ยนแปลงได้ ก็ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร หรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมาย และ ในกรณีที่ได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงได้ ก็ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับอนุมัตินั้น
สำหรับทรัพย์สินประเภทและชนิดเดียวกันที่กิจการได้มาใหม่ จะเลือกวิธีการและอัตราให้แตกต่างไปจากที่เคยใช้อยู่เดิม ก็สามารถทำได้ โดยไม่ต้องยื่นคำขอต่ออธิบดีกรมสรรพากรแต่อย่างใด (แต่ควรเปิดเผยไว้ในงบการเงิน)

อัตราการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน

การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน คำนวณหักตามระยะเวลาที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี

ในกรณีที่รอบระยะเวลาใดไม่เต็ม 12 เดือน ให้เฉลี่ยตามส่วนสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ทั้งนี้ ไม่เกินอัตราร้อยละของมูลค่าต้นทุนตามประเภทของทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้


กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาโดยใช้วิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งมีอัตราการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาไม่เท่ากันในแต่ละปีระหว่างอายุการใช้ทรัพย์สิน บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามวิธีนั้นในบางปีเกินอัตราที่กำหนดข้างต้นก็ได้ แต่จำนวนปีอายุการใช้ของทรัพย์สินเพื่อการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาต้องไม่น้อยกว่า 100 หารด้วยจำนวนร้อยละที่กำหนดข้างต้น 
(ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.3/2527)

“การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินอย่างอื่นตามความในวรรคหนึ่ง (5) ซึ่งมิใช่รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนหรือรถยนต์นั่ง บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะใช้วิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งมีอัตราการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในปีแรกเป็นสองเท่าของอัตราที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง และสำหรับปีถัดไปให้หักตามอัตราสองเท่าดังกล่าวโดยคำนวณจากมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีก็ได้ แต่จำนวนปีอายุการใช้ของทรัพย์สินเพื่อการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาต้องไม่น้อยกว่า 100 หารด้วยจำนวนร้อยละที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง ทั้งนี้ ในรอบระยะเวลาบัญชีสุดท้ายของอายุการใช้ของทรัพย์สินดังกล่าว บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาโดยรวมจำนวนมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลืออยู่ทั้งหมดด้วยก็ได้” 
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่359) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับ 23 ตุลาคม 2542 เป็นต้นไป โดยมิให้ใช้บังคับสำหรับทรัพย์สินที่ได้มาก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ)

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับ พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยหักค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527
ได้ทาง http://www.rd.go.th/publish/2369.0.html

สถาบันคัสเม่ "หน้าต่างแห่งความรู้ ประตูสู่ความสำเร็จ"
www.kasmethai.com สถาบันฝึกอบรมแห่งแรกในจังหวัดระยอง
FB: facebook/kasmeco

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น