วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561

จ่ายเงินค่าฝึกอบรมไปต่างประเทศ ต้องเสียภาษีหรือไม่?

จ่ายเงินค่าฝึกอบรมไปต่างประเทศ ต้องเสียภาษีหรือไม่


ภาษีเงินได้
#ประเด็นที่ต้องพิจารณา
1. ผู้สอนหรือผู้ให้การฝึกอบรม เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายของต่างประเทศ และไม่มีสถานประกอบการในประเทศไทยนั้น ได้มีการถ่ายทอดความรู้ทางเทคโนโลยี สูตร หรือกรรมวิธีลับใดๆให้แก่ผู้รับการฝึกอบรมหรือไม่ 
2. และ บริษัทผู้สอนเป็นบริษัททีมีสัญชาติตามประเทศที่ได้ลงนามในอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทยหรือไม่

หากการให้บริการฝึกอบรมของบริษัทผู้สอนในต่างประเทศ เป็นเพียงการให้ความรู้แก่พนักงานของบริษัทในประเทศไทย "ให้มีความรู้เกี่ยวกับระบบการทำงานและการบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ โดยมิได้มีลักษณะของการถ่ายทอดวิทยาการ 
การถ่ายทอดความรู้ทางเทคโนโลยี สูตร หรือกรรมวิธีลับใดๆ ที่จะนำไปใช้ดำเนินการผลิตหรือเพิ่มผลผลิตแต่อย่างใด" >>> เงินที่จ่ายออกไป #ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร นายจ้าง (ผู้จ่าย) >>ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร<<

แต่ในทางกลับกัน หากเป็นกรณีที่มีการให้ความรู้ ถ่ายทอดวิทยาการ ความรู้ทางเทคโนโลยี สูตร หรือกรรมวิธีลับใดๆ เงินที่จ่ายออกไปให้แก่บริษัทในต่างประเทศ #ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร >>นายจ้าง(ผู้จ่าย) มีหน้าที่ต้องหักภาษีในอัตราร้อยละ 15 จากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายและนำส่งด้วยแบบ ภ.ง.ด.54 ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร<<

อย่างไรก็ตาม ผู้จ่ายต้องพิจารณาประกอบกับ "อนุสัญญาภาษีซ้อน" ที่ประเทศไทยได้ทำไว้กับประเทศ ซึ่งบริษัทในประเทศไทยได้จ่ายเงินค่าอบรมดังกล่าว เช่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในอัตราร้อยละ 5 ตามข้อ 12 แห่งความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันฯ ประกอบกับมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2505 เป็นต้น

ภาษีมูลค่าเพิ่ม
#ประเด็นที่ต้องพิจารณา
1.กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากการฝึกอบรมเข้าลักษณะเป็นบริการ ตามมาตรา 77/1 (10) แห่งประมวลรัษฎากร นายจ้างในประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินค่าฝึกอบรมให้แก่บริษัทผู้สอนในต่างประเทศ จะต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ด้วยแบบ ภ.พ.36 ตามมาตรา 83/6 (2) แห่งประมวลรัษฎากร #หากการฝึกอบรมดังกล่าวเป็นกรณีที่มีการให้ความรู้ การถ่ายทอดวิทยาการ ความรู้ทางเทคโนโลยี สูตร หรือกรรมวิธีลับใดๆ ที่จะนำไปใช้ดำเนินการผลิต หรือเพิ่มผลผลิต
2.แต่ในทางกลับกัน นายจ้างไม่มีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ด้วยแบบ ภ.พ.36 หากการฝึกอบรมดังกล่าวไม่ได้เข้าเงื่อนไขตามข้อ 1

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: นิตยสารมุมสรรพากร ฉบับที่ 78 เดือน พฤศจิกายน 2561

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น