วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

เงินเฟ้อ VS ค่าครองชีพ: How inflation affects your cost of living

เงินเฟ้อกับค่าครองชีพ
By Michelle Ullman (Investopedia)
แปล & เรียบเรียงโดย สถาบันคัสเม่

คุณอาจคิดว่า ทำไมรายได้ที่คุณได้รับ หรือเงินที่คุณมีอยู่ มีมากมายเพียงใด มันก็ไม่เพียงพอกับราคาค่าสินค้าที่ “ดูเหมือน” เพิ่มขึ้น และ เพิ่มขึ้น ทุกๆปี













************ ถ้าเห็นว่าเป็นประโยชน์ ท่านสามารถ Share บทความจากเราได้ค่ะ ************


เงินเฟ้อกับค่าครองชีพ
By Michelle Ullman (Investopedia)
แปล เรียบเรียงโดย สถาบันคัสเม่

คุณอาจคิดว่า ทำไมรายได้ที่คุณได้รับ หรือเงินที่คุณมีอยู่ มีมากมายเพียงใด มันก็ไม่เพียงพอกับราคาค่าสินค้าที่ “ดูเหมือน” เพิ่มขึ้น และ เพิ่มขึ้น ทุกๆปี

คุณอาจคิดว่า ... ฉันคิดไปเอง ในความเป็นจริงนั้น เราอยากจะบอกคุณว่า “คุณคิดถูกแล้ว”

ในทุกๆปี ราคาสินค้าและบริการ จะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 3% ซึ่งราคาสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นนั้น ในทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า “เงินเฟ้อ” ในประเทศไทยเรามีอัตราค่าเฉลี่ยเงินเฟ้ออยู่ที่ 3% นั่นหมายถึงถ้าคุณยังคงมีรายได้ที่ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่มีการแสวงหารายได้เพิ่มเติม หรือไม่มีการวางแผนทางการเงิน การออม ที่สามารถสร้างผลตอบแทนให้กับคุณได้ อย่างน้อยปีละ 3%

นั่นก็หมายถึง ความสามารถในการจับจ่ายใช้สอย จากเงินที่มีอยู่ กำลังลดลงไปเรื่อยๆ

ความแตกต่างระหว่างเงินเฟ้อ กับค่าครองชีพ

แน่นอนว่าหลายท่านเคยได้ยินกับคำว่า “ค่าครองชีพ” และ “เงินเฟ้อ” ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันจนแทบแยกออกจากกันไม่ได้ เงินเฟ้อนั้น คือภาพใหญ่ของค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออำนาจการซื้อของผู้บริโภคโดยตรง

อัตราเงินเฟ้อ มักถูกวัดโดย ดัชนีราคาผู้บริโภค หรือ Consumer Price Index (CPI) เป็นการวัดค่าที่แสดงราคาสินค้าและบริการเป็นหมวดหมู่ในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ โดยมักจะแสดงผลให้เห็นถึงเปอร์เซนต์ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง

สำหรับค่าครองชีพ นั้นจะชี้ให้เห็นถึงภาพที่ลึกขึ้น ตัวเลขจากค่าเฉลี่ยของค่าครองชีพจะแสดงให้เห็นถึงค่าใช้จ่ายขั้นพื้นฐาน ซึ่งรวมถึงอาหาร ที่อยู่อาศัย การเดินทาง ภาษี และ ค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพ

ค่าครองชีพมักถูกใช้เพื่อเปรียบเทียบความเป็นอยู่ขั้นพื้นฐาน ระดับทางสังคมในแต่ละส่วนภูมิภาค ทั่วประเทศ หรือ ทั่วโลก ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีรายได้ 50,000 ดอลล่าร์ต่อปีและพำนักอาศัยอยู่ใน New York คุณสามารถใช้ชีวิตใน Chapel Hill, North Carolina เฉกเช่นเดียวกันกับที่คุณอยู่อาศัยใน New York ได้โดยมีรายได้เพียงครึ่งเดียวจากที่คุณได้รับใน New York

นั่นแสดงให้เห็นถึงค่าครองชีพที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ระหว่างสองเมืองในสหรัฐอเมริกา New York และ Chapel Hill

เช่นเดียวกันกับในประเทศไทย ค่าครองชีพระหว่างผู้ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานคร กับต่างจังหวัด ย่อมมีความแตกต่างกัน โดยผันแปรไปตามระดับรายได้ ค่าใช้จ่ายสำหรับการซื้อสินค้าและค่าบริการ และปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ราคาสินค้าและบริการที่เพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลกระทบกับใคร

ไม่ยากนักที่คนส่วนใหญ่จะรู้สึกได้ถึงการเพิ่มขึ้นของค่าครองชีพในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตามการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการนั้นจะส่งผลกระทบค่อนข้างมากกับผู้คนที่มีฐานะยากจนถึงคนระดับชนชั้นกลาง ค่าอาหาร ค่าน้ำมัน ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคที่เพิ่มสูงขึ้นส่งให้ผู้คนมีเงินออม เงินเก็บที่ลดลง และเมื่อไหร่ที่ค่าใช้จ่ายในแต่ละด้านเพิ่ม ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะลดการใช้จ่ายให้น้อยลง และพยายามที่จะหาซื้อสินค้าและบริการในราคาที่ย่อมเยาว์ เพื่อช่วยให้ตนเองสามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อได้

และมันจะยิ่งส่งผลกระทบหนักมากขึ้นต่อผู้บริโภคที่มีรายได้ หรือเงินออม ที่มีเกณฑ์ได้รับรายได้หรือมีอัตราผลตอบแทนดอกเบี้ยจากการออมของตนเท่าเดิมหรือลดลง สวนทางกับการเพิ่มขึ้นของค่าครองชีพหรืออัตราเงินเฟ้อ

เงินเฟ้อ ส่งผลต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ได้อย่างไร

เราสามารถคาดเดาได้ว่า เงินเฟ้อที่สูงขึ้น ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของราคา บ้าน คอนโด และอสังหาริมทรัพย์ชนิดต่างๆ และนำพาไปจุดที่ “ซับซ้อน” มากยิ่งขึ้น

ในสหรัฐอเมริกา การควบคุมอัตราเงินเฟ้อจึงเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Open Market Committee: FOMC) เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องของอัตราเงินกองทุนของรัฐบาลกลาง นั่นก็คืออัตราดอกเบี้ยที่จะเก็บจากสถาบันการเงินที่ได้เข้ามาหยิบยืมจากธนาคารกลาง

เมื่อไหร่ก็ตามที่ต้นทุนด้านสินเชื่ออสังหาฯเพิ่มขึ้น ผู้ซื้อจำนวนมากมักจะดึงตัวเองออกมาจากตลาดอสังหาฯ  ส่งผลให้ยอดขาย เช่น บ้าน และ คอนโด ลดลงอย่างรวดเร็ว และเมื่อไหร่ก็ตามที่อสังหาชนิดนั้นๆได้ถูกประกาศขายในตลาดเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ผู้ขายมักมีแนวโน้มที่จะบอกราคาขายให้กับทางด้านผู้ที่สนใจซื้อ ในราคาที่ลดลง

ด้วยเหตุนี้ จึงชี้ให้เห็นได้ว่าการ “ลด” อัตราดอกเบี้ยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ สามารถช่วยได้ในการตกต่ำของตลาดอสังหาฯ ให้ฟื้นคืนกลับมาได้ อันเนื่องมาจากการลดอัตราดอกเบี้ยส่งผลโดยตรงกับต้นทุนด้านสินเชื่อที่ลดลง ดึงให้ผู้ซื้อที่ดันตัวเองออกจากตลาดกลับเข้ามาได้ หรือสร้างลูกค้ารายใหม่ให้เพิ่มเติมมากยิ่งขึ้น

สรุป

เมื่อใดที่คุณพบว่าราคาค่าสินค้าหรือบริการที่เพิ่มขึ้นนั้น “สวนทาง” กับรายได้ เงินออม เงินลงทุน ที่คุณมีอยู่

เมื่อนั้นความยากลำบากในการจับจ่ายใช้สอยของคุณ มีแนวโน้มกำลังก่อตัวขึ้น ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการนั้น เกิดขึ้นทุกวัน ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่คุณควรเริ่มมองภาพการใช้ชีวิตของคุณในอนาคต เริ่มวางแผนทางการเงินของคุณในระยะยาว การไม่มีเงินออมนั้น ถือว่าคุณยังคงอยู่ในจุดที่ “อันตราย” สำหรับการใช้ชีวิตขั้นพื้นฐาน ในอนาคตของคุณ

พร้อมหรือยังที่จะเริ่มวางแผนทางการเงิน กับเราวันนี้ ?

สัมมนาพร้อม Work Shop ปฏิบัติการการวางแผนทางการเงิน การออม การลงทุน การทำความเข้าใจกับ Passive Income การเกษียณอย่างมีความสุข และสิ่งสำคัญนั้นคือการใช้ชีวิตและแนวคิด อันนำไปสู่ “อิสรภาพทางการเงิน”

เพิ่มความรู้และศักยภาพทางด้านการเงินของคุณ เตรียมพร้อมวางแผนการเงินเพื่อการใช้ชีวิตที่ดีขึ้น เปิดประตูสู่ความมั่งคั่งและอิสรภาพทางการเงินไปด้วยกัน ในวันที่ 5 พ.ย.2559 พบกับ คุณมิตรทอง ชูลิตะวงศ์ ผู้เขียน “ลุยธุรกิจ” “สอนหุ้นฯ” และประสบการณ์ด้านการเงินและการลงทุนอีกมากมาย

สำรองที่นั่งวันนี้ทาง


(038) 872-046

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น