วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ประมาณการรายได้ค่าใช้จ่ายอย่างไร (ภ.ง.ด.51) ให้ปลอดภัยจากเบี้ยปรับ ?

ประมาณการรายได้ค่าใช้จ่ายอย่างไร (ภ.ง.ด.51) ให้ปลอดภัยจากเบี้ยปรับ ?

สวัสดีชาวสถาบันคัสเม่ค่ะ ในวันนี้ ทางสถาบันจะขอนำเสนอบทความสำหรับวิธีการประมาณการรายได้ ค่าใช้จ่าย ในการยื่นภาษีกลางปี (ภ.ง.ด.51) เพื่อเป็นแนวทางวิธี ป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด หรือให้เกิดน้อยที่สุดจนทำให้เกิดเบี้ยปรับ ซึ่งกำหนดยื่นแบบนั้น คือภายในวันที่ 31 สิงหาคม นี้ค่ะ

การประมาณการกำไร ไม่ให้ขาดไป 25% จากกำไรที่แท้จริงในตอนสิ้นปี
1. กรณีที่ถ้าเราได้รับ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย มาหลายฉบับจากลูกค้าในช่วง 6 เดือนแรก สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เราควรประมาณการไว้ก่อนว่า รายได้ที่เกิดขึ้นมีแนวโน้มว่าจะมีมากในช่วง 6 เดือนหลังเช่นกัน
2. การประมาณการรายได้ให้สูง จะส่งผลให้กำไรสุทธิมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นตาม และกำไรที่เกิดจากรายได้ที่ประมาณเอาไว้สูง ส่งผลให้ช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องของการโชว์กำไรขาดไปจากความเป็นจริง 25% ซึ่งสามารถช่วยป้องกันในเรื่องของเบี้ยปรับเงินเพิ่มได้ในระดับหนึ่ง
3. และกำไรที่สูง จะส่งผลให้ภาษีที่ต้องชำระจากการคำนวณจากกำไรดังกล่าว มีแนวโน้มว่าจะเกินกว่าครึ่งหนึ่งจากภาษีที่ได้ชำระเอาไว้เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเป็นเทคนิคที่จะช่วยลดความเสี่ยงของค่าปรับกรณีที่เราโชว์กำไรน้อยไปจากความเป็นจริงในตอนสิ้นปี ได้เช่นกัน
*** ทั้งนี้ สำหรับ SMEs ทุนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้าน รายได้ไม่เกิน 30 ล้าน และจดแจ้งเข้าโครงการบัญชีชุดเดียว ได้รับยกเว้นภาษีในปี 2559 ค่ะ ***
4. ค่าใช้จ่าย ควรประมาณการตามหลักความเป็นจริง โดยคำนึงถึงประเภทธุรกิจร่วมด้วย
เช่น กรณีเป็นธุรกิจขายตรง ถึงแม้ว่าค่าใช้จ่ายจากการเดินทางที่เกิดขึ้นในช่วง 6 เดือนแรกจะมีไม่มากนัก แต่ไม่ได้หมายถึงว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวในช่วง 6 เดือนหลังจะน้อยเช่นกัน เนื่องจากโดยตามธรรมชาติของประเภทธุรกิจนี้แล้ว การเดินทางไปพบลูกค้า การเดินทางเพื่อขายสินค้า เป็นสิ่งที่จำเป็นกับธุรกิจประเภทนี้ การที่ค่าใช้จ่ายในการเดินทางเกิดขึ้นน้อยในช่วงครึ่งปีแรก เราสามารถมองได้ว่าในช่วงครึ่งปีหลังการเดินทางมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากโดยธรรมชาติแล้ว นักขายจำเป็นที่จะต้องสร้างยอดขายเพิ่มขึ้นจากการพบปะลูกค้าโดยเดินทางเพื่อสร้างยอดขายเพิ่มในช่วงครึ่งปีหลังนั่นเอง
5. ค่าใช้จ่าย ควรประมาณการตามหลักความเป็นจริง ยิ่งประมาณการใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้เกิดรายการปรับปรุงค่าใช้จ่ายในเวลาต่อมาน้อยมากขึ้นเท่านั้น
6. ควรเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลง รายได้ ค่าใช้จ่าย ของปีปัจจุบันกับปีที่แล้ว ว่ามีจำนวนลดเพิ่มมากน้อยเพียงใด มีความต่างกันมากเกินไปหรือไม่

นี่คือเทคนิคเล็กน้อย จากสถาบันคัสเม่ค่ะ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีรายละเอียดข้อกำหนดกฏเกณฑ์ทางภาษีอีกมากมาย


                       
                       

                                 

แล้วพบกับเรา ในวันที่ 4 สิงหาคมนี้ กับหลักสูตร "รู้ภาษี มีเงินคืน" เปิดประเด็น เทคนิควิธีการประมาณการแบบ ภ.ง.ด.51 อย่างถูกต้อง และแนวทางการวางแผนภาษีเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อกิจการ กับ อาจารย์ดำริ ดวงนภา Tax Auditor & ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี คร่ำหวอดในวงการมายาวนานกว่า 30 ปี
สำรองที่นั่งได้ทาง www.kasmethai.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น